ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มีนาคม, 2018

วอนใช้คำให้ถูก โรคไบโพลาร์ไม่ใช่ที่เห็นในสื่อและละคร

วันนี้ 30 มีนาคม 2561 เป็น วันไบโพลาร์โลก  วันที่เราชวนให้โลกหันมาทำความรู้จักโรคไบโพลาร์¹ เพื่อกำจัดตราบาปในสังคม บ้านเรามีตราบาปโรคนี้ที่ไม่เหมือนที่อื่น เราใช้ชื่อไบโพลาร์เป็นคำด่านักการเมือง หรือคนที่เรากลียดชนิดไม่มีคำไหนสื่อระดับความเลวได้  เพราะหลักสูตรเราไม่ได้สอนเรื่องโรคจิตเวชกับเด็กๆ พอคนเห็นชื่อไบโพลาร์แปลว่าสองขั้ว ก็คิดเอาเองว่าคนป่วยจะเป็นคน ① สองบุคลิก วันนึงเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย ② สองหน้า โกหกพลิกไปมาหน้าตาเฉย ③ เอาแต่ใจ ขี้วีน คุมตัวเองไม่ได้ ④ เสพติดความรุนแรงแบบฆาตกรโรคจิต ซึ่งทั้งหมดอาจจะเป็นโรคจิตเวชก็ได้ แต่เป็นโรคอื่นที่ไม่ได้ใกล้เคียงกับไบโพลาร์สักนิด โรคไบโพลาร์ ในทางการแพทย์คือ ในทางการแพทย์ โรคไบโพลาร์   เป็น โรคทางสมอง ² ที่ทำให้มี บางเดือนเปลี่ยนไปแบบทุกวันหมดพลัง ท้อแท้ (เหมือนโรคซึมเศร้า) บางสัปดาห์/เดือนเปลี่ยนไปแบบทุกวันพลังล้นไฮเปอร์ มั่นใจเกินร้อย ช่วงที่เหลือ (เวลาประมาณ 50%³) ก็ปกติเหมือนตอนก่อนป่วย ความผิดปกติของสมองผู้ป่วยไบโพลาร์ ก็เหมือนคนเป็นไมเกรนไม่ได้ปวดหัวตลอดเวลา เขาจะปวดเฉพาะเวลาอาการกำเริบ สำหรับไบโพลาร์ช่วง 1 และ 2

อาการซึมเศร้าและโรคซึมเศร้าคืออะไร #สรุปในภาษาชาวบ้าน

อาการซึมเศร้าและโรคซึมเศร้าทางการแพทย์ไม่เหมือนกับที่คนส่วนใหญ่คิด ตราบาปจากสื่อทำให้คนปกติไม่เข้าใจคนป่วย และทำให้คนป่วยไม่เข้าใจตัวเอง บทความในโซเชียลถ้าไม่มั่วข้อมูลเน้นดราม่า ก็แปลศัพท์ทางการแพทย์ด้วยคำกว้างๆ จนทำให้ใครอ่านก็คิดว่าตัวเองเป็น บทความนี้ตรงข้าม สรุปข้อมูลเฉพาะที่สำคัญด้วยคำง่ายๆ ให้เห็นเกณฑ์ของหมอ เพราะคนป่วยต้องสามารถรู้ว่าตัวเองกำลังมีอาการอยู่หรือเปล่า จึงจะช่วยแพทย์รักษาเราได้ดีที่สุด อาการซึมเศร้า หรือ ดีเพรส , ภาวะซึมเศร้า, major depression, clinical depression, depressive episode คือ สมอง หลุดเข้าไปค้าง ในโหมด ไร้พลัง ชีวิตเกิน 2 สัปดาห์ ซึ่งถ้าสแกนสมองก็จะเห็น มันเป็นคนละอย่างกับ “ความเศร้า” ซึ่งคือความรู้สึกเสียใจอะไรสักอย่าง แต่ยังใช้ชีวิตได้ปกติ ความเศร้าเกิดกับคนทั่วไปทุกวัน แต่ดีเพรสจะไม่เกิดกับคนที่ไม่ได้มีโรคซึมเศร้า เราชอบใช้คำว่า “ดีเพรส” มากกว่า “อาการซึมเศร้า” เพราะจะได้ไม่สับสนกับความเศร้า เพราะดีเพรสคือ หมดพลัง ไม่จำเป็นต้องเศร้า อาจจะเบลอๆ ด้านชา ว่างเปล่า หรือขี้หงุดหงิดก็ได้ อาการหลัก พลังงานหมด , ทำอะไรไม่ไหวเลย, ไม่มี

ถาม: ยาจิตเวชเริ่มแล้วหยุดยาไม่ได้ งี้ก็คือติดยาหรือเปล่า?

เปล่า ยาโรคอื่นก็ หยุดยาเองไม่ได้ เหมือนกัน เช่นยาความดัน ยาแก้ปวดแรงๆ และสเตียรอยด์ เมื่อร่างกายปรับตัวกับมันแล้ว การหยุดยาพวกนี้ทันทีจะทำให้ร่างกายเสียสมดุลซึ่งจะทรมานมาก มันไม่ได้แปลว่า หยุดยาไม่ได้ มันแปลว่า “เราหยุดยาเองไม่ได้”  เมื่อเราหายแล้ว หมอจะหยุดยาโดยค่อยๆลดยาด้วยอัตราที่เหมาะสม ตอนนั้นเราก็จะไม่มีปัญหาเลย การติดยา เสพติดเป็นคนละเรื่องกัน นึกดูตอนใช้ยาเสพติดเราจะ ต้องมีความสุข ด้วย ที่คนเลิกไม่ได้เพราะติดความสุขอันนี้ ถามจริง ใครมีความสุขตอนกินยาจิตเวชเหรอ? ตอนนี้คงตอบได้แล้วใช่ไหมว่า เราจะต้องกลัวติดยาจิตเวชหรือเปล่า ทำไมต้องกินต่อเนื่องหลายเดือน หลายโรคก็ต้องกินยาต่อเนื่องเป็นเดือนปีใช่ไหม เช่นวัณโรค มาลาเรีย งูสวัด มะเร็งบางชนิด ฯลฯ รักษาหายได้แน่นอน แต่ต้องกินยาหลายเดือน/ปี ชื่อโรคที่ยกตัวอย่างดูร้ายแรงเกินไปไหม? เราต้องทำใจว่าโรคของเราก็ร้ายแรงแบบนั้น (โอกาสตายไม่น้อยกว่าโรคพวกนั้นนะ) ถ้าเราไม่มีวินัยหาหมอกินยาก็จะไม่หาย (หรือตาย) โรคเรารักษาหายได้ ก็ต่อเมื่อกินยาต่อเนื่องนานหลายเดือน มันเหมือนเราขาหัก ตอนแรกเราเดินไม่ได้เลย แล้วหมอก็ใส่เฝือกเพื่อให้ขานิ่