ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ถ้าอยากหาย อย่าอยากหายเร็วๆ ให้คิดแบบนี้แทน

โรคเรานั้นรักษาไปก็หาย แต่ความที่มันทรมาน เราก็มักจะอยากหายเร็วๆ แต่มันไม่ใช่แค่หวัดที่จะหายได้ในไม่กี่วัน แม้อาการบางอย่างเช่นนอนไม่หลับอาจจะดีขึ้นเร็ว แต่อาการดีเพรสกว่าจะดีขึ้นก็เป็นเดือน ถ้าเราอยากหายเร็วๆมันจะทรมานสุดๆ

จนสุดท้ายบางคนจะยอมแพ้ไปก่อน ฆ่าตัวตาย หรือไม่ก็เลิกรักษา ทั้งที่อาการก็ดีขึ้นแล้ว และถ้ารักษาต่อไปก็จะหายแน่ๆ แต่การรอคอยนั้นทรมานเกินไป ก็เลยหยุดยาเอง แล้วก็ได้พบกับนรกที่แย่กว่าอาการตอนแรกเสียอีก แล้วก็วนกลับมาเริ่มต้นรักษาใหม่ แต่คราวนี้ยาตัวเดิมอาจไม่ได้ผลเหมือนเก่า

การรอคอยนั้นทรมานกว่าอาการของโรค

ถ้าเรารอคอยนับวันเมื่อไหร่จะหาย แต่ละนาทีจะยาวนานเหมือนเวลาเดินช้ามาก ความทรมานส่วนนี้จะมากกว่าอาการของโรคทีแรกเสียอีก เหมือนไม่ใช่แค่รอคอยเฉยๆ แต่มีไฟลนหัวใจเราไปด้วย โชคร้ายที่เราจะแยกไม่ออกว่า ความเจ็บปวดส่วนไหนคืออาการของโรค ส่วนไหนมาจากการรอคอย ต่อเมื่อเลิกรอคอยแล้วเราจึงจะเห็นกับตา เมื่อความทรมานหายไป

แต่มันยากสุดๆที่ใครจะเชื่อว่าการอยากหายนั้นเป็นโทษ

เพราะความอยากหายนั้นเป็นคอมมอนเซนส์มากๆ แล้วมันก็เวิร์กในกรณีทั่วไปด้วย “ต้องอยากได้อันนั้นสิ ถึงจะได้สิ่งนั้น” เช่นเด็กอยากเป็นวิศวกร ก็จะตั้งใจเรียนมากๆ หรือคนเป็นมะเร็งแล้วก็อยากหาย ก็เลยอดทนกับการรักษาที่เจ็บปวด

แต่การอยากหายมันได้ผลตรงข้ามสำหรับโรคจิตเวช

เพราะ “ความทรมาน” จากการรอคอย นั้นจะเข้าไปบวกเพิ่มกับ “ความเจ็บปวด” ของโรค สองแรงรวมกันเป็นก้อนใหม่ที่ทำให้เราอยากหายมากขึ้นอีก แล้วความอยากหายที่เพิ่มขึ้นนี้ก็ทำให้ทรมานมากขึ้น ซึ่งจะไปบวกเพิ่มให้ก้อนนั้นใหญ่ขึ้นอีก วนไปจนทำให้เราอยากหายตอนนี้เลย “ไม่ไหวแล้ว” วงจรอุบาทว์นี้ทำให้ความทุกข์ขยายใหญ่ขึ้นเร็วมาก

เหมือนเวลากลิ้งก้อนหินเล็กๆลงจากภูเขาหิมะ แล้วจะกลายเป็นสโนว์บอลลูกใหญ่ขึ้นเรื่อยๆจนเท่าบ้าน อาการของโรคก็เหมือนก้อนหินเล็กๆนั้น มันมีขนาดเท่าเดิมตลอดเส้นทาง ส่วนที่เพิ่มคือความอยากหายที่พอกพูนจนใหญ่กว่าก้อนหินนั้นมาก


ไม่ให้อยากหาย แล้วจะให้คิดยังไง

ขอแนะนำให้รู้จัก Stockdale Paradox หรือ คำแนะนำที่ดูเหมือนขัดแย้งกันของพลเรือเอก James Stockdale
1. คุณต้องคงความเชื่อมั่นว่าคุณจะชนะในที่สุด ไม่ว่าจะยากลำบากขนาดไหน
แต่ในขณะเดียวกัน
2. คุณต้องเผชิญหน้ากับข้อเท็จจริงที่โหดร้ายของความเป็นจริงในปัจจุบันของคุณ ไม่ว่ามันจะเป็นยังไง
James Stockdale (ผู้ล่วงลับ) เป็นนายทหารยศสูงสุดที่ถูกจับเป็นเชลยศึกในสงครามเวียดนาม ถูกขังเดี่ยวไม่เห็นหน้าพวกเดียวกันนาน 8 ปี ในห้องปิดปราศจากหน้าต่าง ติดหลอดไฟที่เปิดไว้ตลอด 24 ชั่วโมง และถูกพันธนาการด้วยโซ่ตรวนที่เท้าทุกคืน ตลอดช่วงเวลานั้นเค้าถูกทรมานนับครั้งไม่ถ้วน วันที่เค้ากลับบ้านเค้าแบบเดินไม่ได้ ขาหัก ไหล่ทั้งสองหลุดจากเบ้า หลังหัก ทำให้ไม่สามารถยืนตรงได้จนตลอดชีวิต

Stockdale Paradox — ฉันกำลังลำบากโคตรๆ แต่ฉันจะชนะในที่สุด

แน่นอนเค้ารอดมาได้ แต่แทนที่จะเป็น PTSD (โรคเครียดหลังเกิดเหตุสะเทือนขวัญ) เค้ากลับประสบความสำเร็จในช่วงต่อมามากขึ้นเรื่อยๆ จนสุดท้ายได้เข้าท้าชิงตำแหน่งรองประธานาธิบดีสหรัฐฯถึงสองหน

กรณีอย่าง Stockdale เป็นที่สนใจของจิตแพทย์ Dr. Dennis Charney ซึ่งขณะนั้นกำลังวิจัยหาวิธีใหม่ๆในการรักษาโรคซึมเศร้าและวิตกกังวล โจทย์คือ คนที่ผ่านเหตุการณ์ร้ายแรงสุดๆ ทำไมบางคนไม่รอด ทำไมบางคนกลับแข็งแรงขึ้น ถึงขนาดขอบคุณที่ได้ประสบเหตุการณ์ร้ายนั้น Charney รวบรวมข้อมูลจากกรณีคนที่โชคร้ายสุดๆเหล่านั้น แล้วสรุปว่า
เมื่อคุณประสบอุปสรรคหรือความเจ็บช้ำ ให้คุณมองดูปัญหาอย่างตรงไปตรงมา คุณอาจจะประเมินทำนองว่า “ฉันกำลังฉิบหายครั้งใหญ่” คุณจะประเมินสิ่งที่คุณเจออย่างเรียลลิสติก แต่ในทางกลับกัน ให้คุณมีทัศนคติและความมั่นใจว่า “แต่ฉันจะชนะในที่สุด ฉันกำลังลำบากโคตรๆ แต่ฉันจะชนะในที่สุด

คิดบวกแบบหลับหูหลับตาทำให้อกหักตาย

ในหนังสือ Good to Great นายพล Stockdale อธิบายให้ผู้เขียนฟังว่า คนที่คิดบวกที่สุดคือคนที่ไม่รอดกลับมา
พวกเค้าคือคนที่บอกว่า “เราจะได้กลับภายในวันคริสต์มาสนี้” แล้วคริสต์มาสก็ผ่านมา และผ่านไป แล้วพวกเค้าก็ว่า “เราจะได้กลับภายในวันอีสเตอร์นี้” แล้วอีสเตอร์ก็ผ่านมา และผ่านไป แล้วก็วันขอบคุณพระเจ้า แล้วก็วันคริสต์มาสอีกรอบ แล้วพวกเค้าก็ตายเพราะอกหัก

พวกเราทำแบบนั้นกันหรือเปล่า? เค้าสอนให้คิดบวกก็เลยคิดว่าฉันกำลังจะหาย ทั้งที่เพิ่งเริ่มรักษาเดือนแรกๆ แม้บางคนที่หายเร็วอาจจะหายใน 6 เดือน แต่บางคนอาจจะปีครึ่ง หรือหลายปี (โดยเฉพาะคนที่เริ่มรักษาช้า หรือหยุดยาเองหลายรอบ) ถ้าเราคิดว่าเดี๋ยวก็จะหายแล้ว เราก็จะผิดหวังทุกวัน ใครจะทนผิดหวังทุกวันเป็นเดือนๆได้? สุดท้ายเราก็จะยอมแพ้ แล้วบางคนจะตายเพราะอกหักจริงๆ

นั่นคือสาเหตุที่หลายคนจะทรมานสุดๆตอนกินยา

ไม่ใช่เพราะมันกลืนยาก แต่เพราะทุกครั้งที่กินยา มันทำให้เราตระหนักว่าเรายังป่วยอยู่ เป็นโรคที่ตัวเองรังเกียจไม่อยากยอมรับ พยายามลืมๆไม่นึกถึงมัน หลับหูหลับตาเพราะไม่อยากยอมรับความลำบากโคตรๆนี้ ทั้งที่ไม่สามารถหนีไปไหนได้

เชื่อในแง่ดี คิดตามเป็นจริง

1. ฉันเชื่อว่าฉันต้องหายแน่ๆ อย่างไม่ต้องสงสัย

โรคจิตเวชก็รักษาได้เหมือนโรคอื่นๆ ตามสถิติสหรัฐฯ 80% ของคนที่เป็นโรคทางอารมณ์จะประสบความสำเร็จในการรักษา คนที่ไม่หาย 50% เกิดจากหยุดยาเอง

แต่ทำไมเรากลับรู้สึกว่าโรคนี้ไม่มีทางรักษาหาย?

เพราะเราเคยเห็นคนเป็นหวัดแล้วหาย ขาหักแล้วหาย แต่ไม่เคยเห็นคนเป็นโรคซึมเศร้าหรือไบโพลาร์แล้วหายเลยสักคน เพราะอะไร? เพราะโรคจิตเวชมีตราบาปจากสังคม เราจะไม่บอกว่าเราเป็น ดังนั้นจะไม่มีใครเคยเห็นใครป่วยแล้วหาย นอกจากหมอกับคนป่วย

2. ตอนนี้ฉันกำลังเผชิญปัญหาที่ยากมากๆ

มันเป็นงานใหญ่มาก ใหญ่กว่างานอื่นทั้งหมดในชีวิต โรคของเรานั้นยากลำบากไม่น้อยไปกว่าโรคมะเร็ง เราจะต้องทุ่มเทอย่างมากกับการรักษา ถึงจะได้อยู่ในกลุ่ม 80% ที่หาย เราจะร่วมมือกับหมออย่างเต็มที่ ยอมทำทุกอย่างที่หมอบอกว่าจะทำให้เราหาย กินยาครบทุกมื้อ นอนตรงเวลา เว้นสิ่งเสพติด และแม้อาการดีขึ้น เราจะไม่วินิจฉัยตัวเองให้หยุดยาเอง จนกว่าหมอจะเป็นคนวินิจฉัยว่าเราหาย

สรุป

ตามสถิติคือพวกเราส่วนใหญ่รักษาไปก็หาย เว้นแต่ไม่ร่วมมือกับหมอ เมื่อเราศรัทธาในตัวเองว่าจะหายแน่ๆ ศรัทธาในการรักษาทางการแพทย์ ศรัทธาในหมอของเราและยาที่หมอเลือก แล้วหลังจากนั้นเราจะยอมรับความยากลำบากที่มากับโรคของเราได้ เราจะเลิกโฟกัสที่ “ผล” แต่ไปโฟกัสที่ “งาน” ที่เราต้องทุ่มเททำเพื่อให้ตัวเองหาย การหาหมอก็จะไม่น่าเบื่อ การกินยาจะกลายเป็นการเติมพลัง เราจะไม่นับวันรอเมื่อไหร่จะหาย

“จะหายเมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น” เราคิด “แต่ฉันจะทำเต็มที่ทุกอย่างเพื่อไปถึงจุดนั้น”





โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รู้สึกแย่ดิ่งสุดๆ ทำไงถึงจะหาย

ถามกันบ่อยที่สุดคือกำลังดิ่งจะทำยังไงดี ปัญหาคืออธิบายตอนนั้นก็ไม่มีสติพอจะเข้าใจอยู่ดี ดังนั้นทุกคนควรเรียนรู้เทคนิคนี้ไว้ล่วงหน้า มันมาจากจิตบำบัดแบบ ACT ( defusion ) ซึ่งมีงานวิจัยจำนวนมากว่าได้ผล แล้วนำมาประยุกต์กับ วิธีเจริญสติแบบเคลื่อนไหว ซึ่งเหมาะกับสถานการณ์ช่วงวิกฤติ วิธีทำก็ง่ายมาก จะยากตรงมันตรงข้ามกับคอมมอนเซนส์ เพราะเราเข้าใจธรรมชาติของใจเราผิดมาตลอด แต่ลองทำดูแล้วก็จะเข้าใจเอง เพราะทุกคนที่จัดการมันได้ ต่างก็ค้นพบเทคนิคนี้ได้เองจากการลองผิดลองถูก ความรู้สึกแย่เกิดจาก “ ความคิด”  เสมอ ความรู้สึกแย่ (เช่นโกรธ เสียใจ น้อยใจ กังวล​) เกิดจาก ความคิด ของเรา เสมอ ไม่เคยเกิดจากอย่างอื่น เช่น เขา พูดไม่ดีกับเราเมื่อเย็นวาน ปรากฏตอนนี้เราก็ยังรู้สึกแย่อยู่ ทั้งที่ไม่ได้ยินคำพูดนั้นแล้ว แต่เราเองเป็นคนเล่นซ้ำคำพูดที่เราเกลียดนั้นในหัวเรามาตลอด เขา เป็นต้นเหตุของความคิดนี้ใช่ แต่ ตอนนี้ ที่กำลังรู้สึกแย่ เกิดจาก ความคิดนี้ ของเรา เอง ที่ผ่านมาตอนนั้นเรามักจะโฟกัสความผิดที่ เขา  ซึ่งยิ่งทำให้ความคิดเราวนเวียนหนักขึ้นเรื่อยๆ ความคิดยิ่งมาก ความรู้สึกเราก็ยิ่งแย่ ดิ่งลงไปเร

ลิเธียม ยาดีที่ต้องใช้ให้เป็น

สำหรับคนที่เป็นไบโพลาร์ก็จะได้ทาน ยาคุมอารมณ์ (mood stabilizer) เพื่อจะได้ไม่ต้องมีช่วงแมเนีย และลิเธียมก็คือยาคุมอารมณ์ที่นิยมมากที่สุดตัวหนึ่ง เพราะได้ผลดี, ผ่านมาวิจัยมานานมาก, ราคาถูก และมีส่วนช่วยป้องกันช่วงดีเพรส แต่ลิเธียมเป็นยาที่ใช้ยากนิดนึง เพราะหมอจะต้องค่อยๆปรับยาขึ้นจนกว่าเราจะมียาในเลือดระดับที่พอดี ถ้าน้อยไปมันก็จะไม่ทำงาน ถ้ามากไปก็จะเกิดอาการลิเธียมเป็นพิษ หลายคนที่หมอสั่งลิเธียมให้ พอได้ยินเรื่องลิเธียมเป็นพิษเลยวิตกกังวลหนัก จนความวิตกกังวลนี้กลายเป็นผลข้างเคียงซ้ำซ้อนเข้าไปอีก ดังนั้นคนที่ทานยาตัวนี้จึงต้องเรียนรู้เพิ่มเติมสักนิดนึงเกี่ยวกับมัน บทความข้างล่างนี้มาจากคอลัมน์พบหมอรามา อ่านง่ายและครบถ้วนดี แต่ก่อนอื่นผมจะเกริ่นถึงประเด็นที่ทำให้กังวลกันก่อน ผลเสียจากลิเธียมจะมีอยู่ 2 ลักษณะ ถ้าแยกจากกันได้แล้วจะใช้มันได้อย่างสบายใจ ผลข้างเคียง ​ คือผลเสียในโดสปกติ  อาการลิเธียมเป็นพิษ  คืออาการป่วยเพราะมีลิเธียมในเลือดสูงเกินไป อาจจะเพราะได้ยามากเกินไป (เช่นโอเวอร์โดส) หรือเพราะสภาพร่างกายผิดปกติไปมากทำให้ขาดน้ำหรือเกลือแร่ บางคนเข้าใจว่าตัวเองแพ้ลิเธียม

ท็อป 5 ความเข้าใจผิด โรคซึมเศร้าไม่ใช่อย่างที่คิด

โรคซึมเศร้าเป็นคนละอย่างกับอารมณ์เศร้า แต่ชื่อโรคภาษาไทยชวนให้เข้าใจว่า มันก็แค่ความรู้สึกซึมๆเศร้าๆอย่างที่ทุกคนรู้จัก แถมคำอธิบายเกลื่อนเน็ตก็กว้างซะจน ทุกคนอ่านก็คิดว่าตนเคยเป็นโรคนี้ และสามารถวินิจฉัยว่าคนอื่นว่าเป็นหรือไม่ โดยไม่ต้องเสียเวลาเรียน 10 ปีอย่างจิตแพทย์ แต่โรคซึมเศร้าก็เหมือนหลายโรคที่มีความซับซ้อนจนต้องมีแพทย์เฉพาะทาง มันมีรายละเอียดมากและไม่เหมือนกับที่คนเข้าใจเลย แต่เนื่องจากคนส่วนใหญ่ไม่มีความรู้เรื่องนี้เลย เราจึงรู้สึกว่าเรารู้จักมันดีอยู่แล้วด้วยคอมมอนเซนส์ล้วนๆ ต่อไปนี้คือความเข้าใจที่ผิดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในบ้านเรา (1)  โรคซึมเศร้าไม่มีจริง (2)  ที่เรียกโรคซึมเศร้าก็คือความเศร้า (3)  ฉันก็เคยเป็น แต่ฉันไม่ยอมแพ้ (4)  มันอยู่ที่ใจแค่นั้น สู้ๆ ลุกขึ้นมาก็หายแล้ว (5)  หมอกุเรื่องขึ้นมาเพื่อให้บริษัทยารวย 1 ความเชื่อ: โรคซึมเศร้าไม่มีจริง  โรคจิตเวชจะต้องเสียสติเป็นคนบ้า ความจริง:  องค์การอนามัยโลกบอก ว่า 300 ล้านคนเป็นโรคซึมเศร้า (MDD) นั่นมากกว่า 4% ของประชากรโลก  ส่วนในไทย ปี 2551 กรมสุขภาพจิตประมาณว่ามี คนไทย 1.5 ล้านคน เป็นโรคซึมเศ

เจอปัญหาที่แก้ไม่ได้ทำไงดี

เหมือนชีวิตกำลังเล่นปิงปองกับเรา ตีลูกยากง่ายใส่เราตลอดเวลา เรื่องกวนใจ ปัญหา ความสูญเสีย. บางคนเจอปัญหาแล้วจมอยู่ตรงนั้น ประทัวง “ลูกยากไม่เล่น”. บางคนยากง่ายรับหมดเต็มที่ เจอลูกยากอาจล้มเข่าถลอกแต่รีบลุกเล่นต่อ. ทำได้ไงอะ? ชัยจะต้องพรีเซ็นต์หัวข้อแรกตอนเช้าในงานสัมมนาของผู้บริหารหลายองค์กร. เช้านี้รถติดสาหัส. เขาร้อนใจจึงโทรไปบอกผู้จัดว่ากำลังจะถึง ให้เตรียมที่จอดรถไว้ให้เพราะปกติจะเต็ม. เกือบเฉี่ยวชนหลายหน แต่รถเขาก็ถึงสถานที่ตรงเวลาพอดี. เขาพารถไปโซน VIP ช่องที่มีเลขทะเบียนรถเขา แต่ยามไม่ให้จอด. เหลือเชื่อตัวเลขผิดไปหลักนึง. ยามให้วนขึ้นไปจอดในอาคาร บอกดาดฟ้ามีที่ แต่เขาไม่มีเวลาแล้ว. มันไม่ถูก เขาเถียง ช่องนี้เตรียมไว้ให้เขา ไม่ยุติธรรมเลย. รถข้างหลังต่อแถวยาวขึ้นๆ. เขายิ่งเถียงเสียงดังขึ้นๆ เลขผิดนิดเดียว เขาจอดโซนนี้ประจำ เจ้านายคุณรอเขาอยู่ ฯลฯ แต่ยามไม่ฟัง. ชีวิตเรามีปัญหาตลอด ในชีวิตเราจะพบกับปัญหาที่แก้ไม่ได้ และความเปลี่ยนแปลงที่ไม่ต้องการ อยู่ตลอดเวลา. แต่เราพยายามมองไม่เห็นมัน. ถ้าเรื่องเล็กเราก็แค่สะสมความเครียด. เช่นเวลาหาของไม่เจอ, เพื่อนทำไม่ถูกใจ, โดนดูถูก ฯลฯ. ถ้

จะกินยา หรือไม่กินดี?

โชคดีมากที่ปัจจุบันโรคซึมเศร้าและไบโพลาร์สามารถรักษาได้ด้วยยา คนไข้ที่มีวินัยหาหมอกินยา 6 เดือนถึงปีกว่าส่วนใหญ่ก็จะหายและได้หยุดยา สาเหตุใหญ่ที่ทำให้บางคนไม่หายคือ “ไม่อยากกินยา” จะกินไม่กินดี? เมื่อไม่อยากกินยา แต่หมอสั่งให้กิน เราจะเกิดอาการลังเล “จะกินไม่กินดี?” แล้วลงเอยที่ “กินๆหยุดๆ” ซึ่งแย่กว่าไม่กินเสียอีก สภาวะนี้ทำให้เครียดหนักมาก กินก็รู้สึกแย่ ไม่กินก็อาการแย่ สับสนตำหนิตัวเองวนไปวนมา จะทำยังไงดี?

เป็นโรคจิตเวชไม่ได้ทำให้รอดคดีอาญา

ข่าวดราม่าที่ผู้ก่อเหตุเผยว่าเป็นโรคจิตเวช คนมักจะมองว่า “หงายการ์ดป่วย” โกหกว่าป่วยเพื่อเอาตัวรอด เพราะเข้าใจผิดว่าใครทำให้ศาลเชื่อว่าป่วยจิตเวช แล้วศาลจะให้พ้นผิดไปเลย เนื่องจากสังคมไทยยังเข้าใจผิดว่าผู้ป่วยจิตเวชคือคนบ้า และเชื่อว่ากฎหมายบอกว่าคนบ้าทำอะไรก็ไม่ผิด กรณีแบบนี้คนจึงพากันโกรธแค้นเพราะนึกว่าเขาจะไม่ต้องรับโทษจริงๆ ความเชื่อคนบ้าทำอะไรไม่ผิด เกิดจากคนส่วนใหญ่เห็นข่าวแบบนี้เฉพาะตอนเกิดเหตุเป็นดราม่าว่าอ้างป่วยจิตเวชแล้วทำอะไรก็ไม่ผิด แต่ตอนศาลพิพากษาลงโทษข่าวจะเงียบ ทุกคดีความจำของสังคมจึงสรุปตามดราม่าว่าศาลยกโทษเสมอ ทั้งที่จริงๆแล้วศาลลงโทษทุกที จริงๆกฎหมายอาญาไม่ได้ระบุให้เว้นโทษกับผู้ป่วยโรคใดโรคหนึ่ง  มาตรา 65 บอกว่าเฉพาะกรณีที่ขณะกระทำความผิด จำเลยไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ (ที่เรียกกันว่าวิกลจริต) จึงจะไม่ต้องรับโทษ ดังนั้นเมื่อผู้ก่อเหตุเผยว่าเป็นโรคจิตเวชใดๆก็ยังไม่มีผลอะไร นอกจากจะทำให้สังคมเกลียดเขามากขึ้นจากความเข้าใจผิดข้างต้น การโกหกให้ศาลไทยเชื่อว่าวิกลจริตขณะก่อเหตุ แทบเป็นไปไม่ได้ เพราะนอกจากจะต้องหลอกจิตแพทย์แล้ว ศาลไทยก็ไม่ได้ฟั

ฉันกำลังดีเพรสหรือเปล่า หรือฉันกำลังแมเนีย

เวลาพบหมอ มันสำคัญมากที่เราจะต้องสามารถสื่อสารว่า ช่วงที่ผ่านมาเราอาการเป็นไง สัปดาห์ไหนปกติ สัปดาห์ไหนดีเพรสบ้าง และ (สำหรับไบโพลาร์) สัปดาห์ไหนแมเนียหรือเปล่า. เมื่อเข้าใจโรคเพียงคร่าวๆ คนมักจะคิดว่าดีเพรสคือเศร้านานๆ แมเนียคือรู้สึกดีหรือก้าวร้าวนานๆ ซึ่งถูกเพียงส่วนเดียว. เมื่อเข้าใจนิยามของอาการเหล่านี้ไม่ตรงกับหมอ เวลาเราเล่า หมอก็จะเข้าใจอาการไม่ตรงกันเรา. ผลคือหมอก็จะปรับยาผิด เพราะเข้าใจอาการผิด เช่นเราดีเพรสอย่างเดียวมานานแล้ว แต่วีนแฟนบ่อยเพราะปัญหาชีวิตคู่. เราเล่าอาการทีไรหมอก็คิดว่าแมเนีย เลยให้แต่ยาคุมอารมณ์. ความเข้าใจผิดแบบนี้ทำให้การรักษาไม่คืบหน้า เพราะยาไม่ช่วยให้อาการหายหมดสักที จนบางคนท้อกับการรักษา. เพื่อไม่ให้เกิดปัญหานี้ เราต้องเข้าใจอาการของโรคตรงกับนิยามที่หมอใช้. เมื่อสื่อสารกับหมอได้อย่างมีประสิทธิภาพ การรักษาก็จะก้าวหน้า เราก็จะมีอาการน้อยลง และสามารถใช้ชีวิตปกติได้มากขึ้นเรื่อยๆ.

วอนใช้คำให้ถูก โรคไบโพลาร์ไม่ใช่ที่เห็นในสื่อและละคร

วันนี้ 30 มีนาคม 2561 เป็น วันไบโพลาร์โลก  วันที่เราชวนให้โลกหันมาทำความรู้จักโรคไบโพลาร์¹ เพื่อกำจัดตราบาปในสังคม บ้านเรามีตราบาปโรคนี้ที่ไม่เหมือนที่อื่น เราใช้ชื่อไบโพลาร์เป็นคำด่านักการเมือง หรือคนที่เรากลียดชนิดไม่มีคำไหนสื่อระดับความเลวได้  เพราะหลักสูตรเราไม่ได้สอนเรื่องโรคจิตเวชกับเด็กๆ พอคนเห็นชื่อไบโพลาร์แปลว่าสองขั้ว ก็คิดเอาเองว่าคนป่วยจะเป็นคน ① สองบุคลิก วันนึงเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย ② สองหน้า โกหกพลิกไปมาหน้าตาเฉย ③ เอาแต่ใจ ขี้วีน คุมตัวเองไม่ได้ ④ เสพติดความรุนแรงแบบฆาตกรโรคจิต ซึ่งทั้งหมดอาจจะเป็นโรคจิตเวชก็ได้ แต่เป็นโรคอื่นที่ไม่ได้ใกล้เคียงกับไบโพลาร์สักนิด โรคไบโพลาร์ ในทางการแพทย์คือ ในทางการแพทย์ โรคไบโพลาร์   เป็น โรคทางสมอง ² ที่ทำให้มี บางเดือนเปลี่ยนไปแบบทุกวันหมดพลัง ท้อแท้ (เหมือนโรคซึมเศร้า) บางสัปดาห์/เดือนเปลี่ยนไปแบบทุกวันพลังล้นไฮเปอร์ มั่นใจเกินร้อย ช่วงที่เหลือ (เวลาประมาณ 50%³) ก็ปกติเหมือนตอนก่อนป่วย ความผิดปกติของสมองผู้ป่วยไบโพลาร์ ก็เหมือนคนเป็นไมเกรนไม่ได้ปวดหัวตลอดเวลา เขาจะปวดเฉพาะเวลาอาการกำเริบ สำหรับไบโพลาร์ช่วง 1 และ 2

กลยุทธ์การคืนสู่สุขภาวะของป้าหนู

Pa Noo's Recovery Strategy โดยป้าหนู รัชนี แมนเมธี ป้าหนูขอแบ่งกลยุทธ์เป็น 4 ช่วงเวลาดังนี้ พ.ศ. 2545–2547 : ช่วงเปลี่ยนผ่าน พ.ศ. 2548–2558 : ช่วงปานสายใยแห่งรัก พ.ศ. 2559–2566 : ช่วงประจักษ์ตัวตน พ.ศ. 2567 - หมดลมหายใจ : ช่วงค้นพบตัวเอง 1. ช่วงเปลี่ยนผ่าน พ.ศ. 2516 ป้าเริ่มสอนหนังสือ พอถึง พ.ศ. 2545 ป้าป่วยเป็นโรคซึมเศร้า กว่าจะได้เข้ารับการรักษา ปี พ.ศ. 2546 ปี 2546 ปลายๆหมอบอกป้าหายป่วย แต่ป้ายังรู้สึกชีวิตมืดมน 1 เม.ย. 2547 ป้าได้เกษียณก่อนกำหนด ( Early Retire ) เป็นวันแรก 2. ช่วงปานสายใยแห่งรัก ป้าได้มีโอกาสเรียนรู้ และเป็นกรรมการสมาคมสายใยครอบครัว ซึ่งช่วงนี้เป็นช่วงที่ป้ามีความสุขมาก เพราะได้ฟื้นพลังชีวิต ป้าได้เห็นคุณค่าในตนเองมาก 3. ช่วงประจักษ์ตัวตน ป้าได้นำประสบการณ์ช่วงที่ 2 และประสบการณ์ที่มีมาตั้งแต่เดิมมาใช้ประโยชน์ในการทำงานเพื่อส่วนรวมได้มากมายมหาศาล 4. ช่วงค้นพบตนเอง ป้าตกผลึกชีวิตตนเองเรียบร้อย เพราะได้ประจักษ์ตัวตนของตัวเอง รู้ว่าตนมีจุดแข็ง - จุดอ่อน, มีโอกาส - ถูกคุกคาม อะไรอย่างไร เห็นคุณค่าและภูมิใจในตนเองว่าสามารถทำประโยชน์ให้มนุษยชาติได้อย่างไรมากที่สุดตาม