ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เป็นโรคจิตเวชไม่ได้ทำให้รอดคดีอาญา

  • ข่าวดราม่าที่ผู้ก่อเหตุเผยว่าเป็นโรคจิตเวช คนมักจะมองว่า “หงายการ์ดป่วย” โกหกว่าป่วยเพื่อเอาตัวรอด เพราะเข้าใจผิดว่าใครทำให้ศาลเชื่อว่าป่วยจิตเวช แล้วศาลจะให้พ้นผิดไปเลย
  • เนื่องจากสังคมไทยยังเข้าใจผิดว่าผู้ป่วยจิตเวชคือคนบ้า และเชื่อว่ากฎหมายบอกว่าคนบ้าทำอะไรก็ไม่ผิด กรณีแบบนี้คนจึงพากันโกรธแค้นเพราะนึกว่าเขาจะไม่ต้องรับโทษจริงๆ
  • ความเชื่อคนบ้าทำอะไรไม่ผิด เกิดจากคนส่วนใหญ่เห็นข่าวแบบนี้เฉพาะตอนเกิดเหตุเป็นดราม่าว่าอ้างป่วยจิตเวชแล้วทำอะไรก็ไม่ผิด แต่ตอนศาลพิพากษาลงโทษข่าวจะเงียบ ทุกคดีความจำของสังคมจึงสรุปตามดราม่าว่าศาลยกโทษเสมอ ทั้งที่จริงๆแล้วศาลลงโทษทุกที
  • จริงๆกฎหมายอาญาไม่ได้ระบุให้เว้นโทษกับผู้ป่วยโรคใดโรคหนึ่ง  มาตรา 65 บอกว่าเฉพาะกรณีที่ขณะกระทำความผิด จำเลยไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ (ที่เรียกกันว่าวิกลจริต) จึงจะไม่ต้องรับโทษ ดังนั้นเมื่อผู้ก่อเหตุเผยว่าเป็นโรคจิตเวชใดๆก็ยังไม่มีผลอะไร นอกจากจะทำให้สังคมเกลียดเขามากขึ้นจากความเข้าใจผิดข้างต้น
  • การโกหกให้ศาลไทยเชื่อว่าวิกลจริตขณะก่อเหตุ แทบเป็นไปไม่ได้ เพราะนอกจากจะต้องหลอกจิตแพทย์แล้ว ศาลไทยก็ไม่ได้ฟังคำวินิจฉัยจิตแพทย์อย่างเดียวแบบศาลฝรั่ง แต่ให้น้ำหนักอย่างมากกับการวินิจฉัยโรคของพยานในที่เกิดเหตุ ทำให้แม้จิตแพทย์วินิจฉัยว่าวิกลจริตขณะก่อเหตุ ก็ยังติดคุกกันอยู่เสมอ
ในข่าวที่ผู้ป่วยจิตเวชก่อเหตุ บ่อยครั้งที่ข้อมูลโรคถูกเผยแพร่ออกไป บางทีจากเขาเปิดเผยเอง แต่บางครั้งเกิดจากตำรวจทำข้อมูลรั่วไปถึงสื่อ (ซึ่งผิด พรบ.สุขภาพจิต) จากนั้นสังคมก็จะโกรธแค้น มองว่าเป็นการ “หงายการ์ดป่วย” คือโกหกว่าป่วยเพื่อจะได้พ้นผิด เพราะความเข้าใจว่าใครบอกว่าป่วย “โรคจิตเวช” แล้วศาลจะให้พ้นผิดไปเลย

ทบทวน 3 คดีดังในอดีต

• 2560 เสก โลโซ ผู้ป่วยไบโพลาร์ คดีต่อสู้พนักงาน

ศาลชั้นต้นไม่เชื่อว่าวิกลจริตขณะก่อเหตุ ลงโทษตามกฎหมายจำคุก 5 วัน
การที่จำเลยอ้างว่าป่วยเป็นโรคไบโพลาร์ขณะกระทำผิดนั้น ศาลเห็นว่าจากพฤติการณ์การสื่อสารกับเจ้าหน้าที่พบว่า จำเลยรู้ผิดชอบดี จึงไม่อาจอ้างภาวะป่วยดังกล่าวได้

    • 2550 หมูแฮม ผู้ป่วยโรคไบโพลาร์และลมชัก คดีขับรถชนคนตาย

    ศาลฎีกาเชื่อว่าบกพร่องทางจิต แต่ขณะเกิดเหตุรู้ผิดชอบ ลงโทษจำคุก 2 ปี 1 เดือนโดยไม่รอลงอาญา
    จำเลยพยายามขับรถออกไปเมื่อมีผู้มาทุบกระจกรถ แสดงให้เห็นว่าขณะเกิดเหตุจำเลยก็น่าจะรู้ผิดชอบ

    • 2548 จิตรลดา ผู้ป่วยโรคจิตเภท คดีแทงเด็กนักเรียน 4 คน

    ศาลฎีกาไม่เชื่อว่าวิกลจริตขณะก่อเหตุ ลงโทษตามกฎหมายจำคุก 4 ปี พ้นโทษแล้วก็ให้ควบคุมตัวไว้รักษาจนกว่าจะอยู่ร่วมในสังคมได้
    จำเลยมีอาการป่วยเป็นจิตเภทเรื้อรังมาตั้งแต่อายุ 20 ปี ครั้งแรกเข้ารักษาโรงพยาบาลนิติจิตเวชปี 2536 แล้วหยุดรักษาไป จากนั้นเข้ารักษาที่โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยาในปี 2544 และหยุดรักษาไปอีกครั้ง โดยแพทย์ให้ความเห็นว่า จำเลยป่วยเป็นโรคจิตเภท ประเภทหวาดระแวง หูแว่ว ประสาทหลอน ต้องฉีดยาและกินยารักษาตัวไปตลอดชีวิต โดยจำเลยจะใช้ชีวิตได้ตามปกติได้ รู้รับผิดชอบการกระทำของตัวเองได้บ้าง โดยช่วงก่อนเกิดเหตุจำเลยไม่ได้กินยา และหนีออกจากบ้านพร้อมขโมยบัญชีเงินสดมาด้วย เห็นว่าแม้ทางการแพทย์จะลงความเห็นดังกล่าว แต่พฤติกรรมของจำเลยที่แทงนักเรียนลูกครึ่งไทยอินเดีย และลูกครึ่งไทยจีน มีการเฝ้าดูนักเรียนผู้เสียหายที่ 1 มาก่อน มีการดักรอ ซื้อมีดหลายเล่มไว้ก่อเหตุแทง ทั้งยังมีการเปลี่ยนเสื้อผ้า ทรงผมหลังก่อเหตุ ตลอดจนให้การกับพนักงานสอบสวนถึงเหตุการณ์ตั้งแต่ต้นจนถึงขั้นตอนที่แพทย์ทำการรักษา เป็นการลำดับเหตุการณ์อย่างปกติ ที่จำเลยอ้างว่าขณะเกิดเหตุมีปัญหาการป่วยทางจิต ไม่สามารถบังคับตัวเองได้ จึงเป็นเพียงข้อกล่าวอ้างลอยๆ ซึ่งไม่มีหลักฐานอื่นมาสนับสนุน

    ป่วยโรคจิตเวชไม่ได้แปลว่าเป็นคนบ้า

    สังคมไทยยังมีความเข้าใจผิดว่า ผู้ป่วยโรคจิตเวชต้องเป็นคนบ้า ไม่สามารถใช้ชีวิตปกติได้เลยสักนิด ไม่สามารถทำกิจกรรมต่างๆได้ ตาลอยพูดไม่รู้เรื่อง ทั้งที่จริงๆคนบ้าระดับนั้นคือผู้ป่วยโรคจิตเวชที่ชื่อว่าโรคจิตเภท (สกิตโซฟรีเนีย) ขั้นรุนแรงเท่านั้น ผู้ป่วยที่เหลืออีกสามล้านกว่าคนไม่ได้เป็นขนาดนั้น
    Image result for virginia woolf
    ตัวอย่างผู้ป่วยจิตเวชโรคไบโพลาร์ (ซึ่งเป็นคนละอย่างกับไบโพลาร์ในละครทีวีไทย)
    คนไทยจำนวนมากเข้าใจว่าโรคจิตเวชคือแบบเดียวนี้ เพราะในชีวิตไม่เคยเจอโรคจิตเวชชนิดอื่นเลย ทั้งที่มีคนป่วยอยู่รอบตัวทุกคน เนื่องจากคนป่วยมักจะไม่บอกใคร เพราะถ้าบอกก็จะถูกเกลียดกลัว เป็นปัญหาที่เรียกว่าตราบาป คล้ายกับคนที่เป็นโรคเอดส์ (หรือวัณโรค) ก็จะบอกใครไม่ได้เหมือนกัน

    จริงๆโรคจิตเวชยังมีแบบอื่นอีกมากมาย เช่นโรคซึมเศร้า, โรคไบโพลาร์, โรคแพนิค, โรคย้ำคิดย้ำทำ ฯลฯ ซึ่งผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตปกติร่วมกับคนทั่วไปได้ โดยที่อาจไม่มีใครดูออกด้วยซ้ำ เพราะไม่ใช่ว่าอาการจะต้องกำเริบตลอดเวลา ยิ่งรักษาแล้วก็อาจไม่มีอาการเลย แต่เมื่ออาการกำเริบเขาก็จะมีปัญหาในรูปแบบต่างๆกัน เช่นหมดแรง, ไฮเปอร์, แพนิค ฯลฯ  มีไม่กี่โรคเท่านั้นที่อาการกำเริบหนักๆแล้วจะเสียสติคุยไม่รู้เรื่อง

    กฎหมายไม่ได้เว้นโทษให้ผู้ป่วยโรคจิตเวช

    นอกจากเข้าใจผิดว่าผู้ป่วยจิตเวชคือคนบ้า แล้วคนยังเข้าใจผิดกันว่า กฎหมายให้คนบ้าทำอะไรก็ไม่ผิด ดังนั้นมาดูกฎหมายข้อนี้กัน

    กฎหมายอาญา มาตรา 65

    [1] ผู้ใดกระทำความผิด ในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบ หรือไม่สามารถบังคับตนเองได้เพราะมีจิตบกพร่อง โรคจิตหรือจิตฟั่นเฟือน ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษสำหรับความผิดนั้น

    แต่ถ้าผู้กระทำความผิดยังสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้าง หรือยังสามารถบังคับตนเองได้บ้าง ผู้นั้นต้องรับโทษสำหรับความผิดนั้น แต่ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้


    ❶ เป็นโรคอะไรมาไม่เกี่ยว กฎหมายดูเฉพาะขณะกระทำความผิด 

    จะเห็นว่ากฎหมายพิจารณาเฉพาะ “ความรู้ผิดชอบ” และ “ความสามารถบังคับตัวเอง” ใน “ขณะกระทำความผิด” เท่านั้น แปลว่าการมีโรคจิตเวชไม่ได้เป็นสาเหตุเพียงพอที่จะไม่ต้องรับโทษ อย่างที่คนส่วนใหญ่เข้าใจ

    แต่จำเลยต้องเกิดอาการของโรคอย่างรุนแรงในขณะนั้น จนนำไปสู่การกระทำความผิดโดย “ไม่เจตนา” จึงจะไม่ต้องรับโทษ เนื่องจากตามหลักกฎหมายอาญา คนทำต้องรู้ผิดชอบและสามารถบังคับตัวเองได้ จึงจะถือว่ามีเจตนาทำสิ่งนั้น ส่วนในวรรคสองบอกว่า ถ้าพอรู้ผิดชอบหรือพอบังคับตัวเองได้ ก็ถือว่ามีเจตนาจึงต้องรับโทษ แต่ศาลอาจจะลงโทษน้อยกว่าปกติ

    อย่างไรก็ตามแม้กรณีวิกลจริตจริงๆผู้ต้องหาจะไม่ถูกลงโทษติดคุก แต่ศาลก็จะใช้มาตรา 48 บังคับคุมตัวในโรงพยาบาลจิตเวชอยู่ดี ไม่ได้ปล่อยออกมาเป็นอันตรายต่อสังคมอย่างที่กังวลกัน แบบนี้ทำให้เขาจะได้เจอหมอรักษากินยาต่อเนื่องด้วย แต่ถ้าจับเขาขังคุกแล้วพอยาหมดก็จะไม่ได้กินยา ทำให้อาการหนักขึ้นไปอีก นั่นคืออีกเหตุผลที่กรณีจำเลยวิกลจริตจริงๆไม่ควรติดคุก เพราะเขาควรถูกคุมตัวในโรงพยาบาลจิตเวชมากกว่า

    ❷ คำว่า “โรคจิต” ในมาตรานี้เป็นคนละอย่างกับ “โรคจิตเวช”

    คำว่า “โรคจิต” ในกฎหมาย [2][3] และในทางการแพทย์หมายถึงอาการไซโคซิส [4] คืออาการหลงผิดไปจากความเป็นจริง ที่เรียกในภาษาไทยว่าอาการ “วิกลจริต” ซึ่งเกิดขึ้น ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง จากสาเหตุหลายอย่าง เช่น โรคจิตเวชบางโรค, สโตรก, อัลไซเมอร์, พาร์กินสัน, การบาดเจ็บของสมอง, เนื้องอกในสมอง, ซิฟิลิส ฯลฯ ในที่นี้เราจะสนใจเฉพาะกรณีที่เกิดจากโรคจิตเวชเท่านั้น

    ก็เหมือนกับอาการไอ สามารถเกิดจากหลายโรค เช่นหวัด, ไข้หวัดใหญ่, วัณโรค ฯลฯ และการเป็นโรคเหล่านั้นก็ไม่ได้ทำให้ไอตลอดเวลา เช่นเดียวกัน อาการโรคจิต (วิกลจริต) ก็เกิดได้จากหลายโรค และการเป็นโรคเหล่านั้นก็ไม่ได้จำเป็นว่าจะทำให้วิกลจริตตลอดเวลา

    จะเห็นว่าเกณฑ์ของกฎหมายไม่ได้ระบุให้เว้นโทษให้ผู้ป่วยโรคไหน แต่เว้นโทษให้ใครก็ตามที่กระทำความผิดขณะกำลังวิกลจริตมากจนไม่รู้ผิดชอบหรือบังคับตัวเองไม่ได้เลย ไม่ว่าจะเกิดจากเหตุอะไร

    เช่นถ้าศาลเชื่อว่า “สมชายเป็นโรคไบโพลาร์” แค่นี้ยังไม่มีผลอะไร แต่ถ้าศาลวินิจฉัยว่า “ขณะนั้นสมชายกำลังมีอาการโรคจิต จนไม่สามารถรู้ผิดชอบ” อย่างนี้ถึงจะมีผล ดังนั้นเมื่อเห็นในข่าวว่าใครอ้างเป็นโรคจิตเวชอะไร ก็ไม่ต้องห่วงว่าเขาอ้างแล้วจะพ้นผิดไปเลย [5][6] ถ้าพิสูจน์ไม่ได้ว่ามีอาการโรคจิตขณะก่อเหตุก็ไม่รอดอยู่ดี และแม้มีอาการโรคจิตขณะก่อเหตุจริงๆ ศาลไทยก็ไม่เชื่อง่ายๆอยู่ดี

    การอ้างวิกลจริตยากมากในศาลไทย

    เพราะศาลไทยก็ไม่เหมือนศาลฝรั่งที่เห็นในข่าวหรือในหนัง แม้จิตแพทย์ลงความเห็นว่าขณะกระทำผิด จำเลยมีอาการกำเริบถึงขั้นวิกลจริต แต่หากศาลถามพยานในที่เกิดเหตุมองว่าจำเลยมีสติดี สามารถพูดคุยกับคนได้ ศาลก็จะวินิจฉัยว่าจำเลยมีความรู้ผิดชอบอยู่ [2]

    เพราะตามความเชื่อทางสังคมไทย ขณะวิกลจริตคนนั้นจะต้องทำอะไรเป็นเรื่องเป็นราวไม่ได้ ต้องพูดคุยกับคนอื่นไม่รู้เรื่อง เป็นคนบ้าเนื้อตัวมอมแมมอย่างนั้นตลอดเวลา แต่ในทางการแพทย์ อาการโรคจิตเป็นแค่บางช่วงได้ (เหมือนไอ) และมันไม่ได้มีแค่ thought disorder ที่ทำให้พูดไม่รู้เรื่อง แต่ยังมีอย่างอื่นเช่นประสาทหลอน (hallucination) และหลงผิด (delusion) ด้วย
    Image result for hear voice in head delusion

    เช่นผู้ป่วยอาจกำลังมีอาการโรคจิตกำเริบจนประสาทหลอน ได้ยินเสียงสวรรค์สั่งให้ด่าหรือทำร้ายคนตรงหน้า (แบบจิตรลดา) หรือหลงผิดว่าโลกเต็มไปด้วยคนชั่วร้ายที่คอยตามทำร้ายตน จึงชอบแล้วที่จะด่าหรือทำร้ายคนนั้น อย่างนี้จิตแพทย์จะวินิจฉัยว่าเขากำลังวิกลจริต ไม่รู้ผิดชอบควบคุมตัวเองไม่ได้ แต่คนทั่วไปจะมองว่าไม่ได้วิกลจริต เพราะดูมีสติรู้ตัวดี คุยรู้เรื่องและสามารถก่อเหตุได้ แม้ว่าด้วยเหตุผลที่พิลึกขนาดไหนก็ตาม

    ใครสนใจคำพิพากษาของศาล

    คนเกือบทั้งประเทศจะได้เห็นข่าวแบบนี้ เพราะสังคมไทยให้ความสนใจมากเวลาคนป่วยจิตเวชด่าหรือทำร้ายใคร เนื่องจากมักจะมีความประหลาดสุดขั้วแบบ "ทำไปได้ไง" แม้จะเริ่มจากคลิปเดียว แต่มันจะไวรัลจนเป็นข่าวระดับประเทศเสมอ พอได้ยินว่าผู้ต้องหาเป็นผู้ป่วยจิตเวชแล้ว คนทั่วไปก็จะยิ่งโกรธกันหนักมาก เพราะเข้าใจผิดว่าเขาจะสบายไม่ต้องรับโทษ กลายเป็นกระแสใหญ่โตคอขาดบาดตายในเวลานั้น เพราะปกติคนก็รู้สึกกันว่าสังคมไม่ค่อยมีความเป็นธรรมอยู่แล้ว

    แต่คนส่วนใหญ่จะไม่ได้ติดตามคดีไปจนถึงคำพิพากษาของศาล จะได้ติดตามข่าวแค่ช่วงแรกๆที่ไวรัล หลังจากนั้นอีกหลายเดือนหรือหลายปี เมื่อมีคำพิพากษาลงโทษออกมาจะเหลือคนสนใจน้อยนิด ข่าวนี้จะไม่ไวรัล ไม่มีคนแชร์ หรือยิ่งไปกว่านั้น บางกรณีก็ไม่มีสื่อไหนติดตามข่าวต่อไปอีกเลย ทุกคดีคนจึงสรุปไปตามที่คาดเอาเองตอนแรก แล้วก็บันทึกความทรงจำไปแบบนั้น กลายเป็นข้อสรุปของสังคมไทยว่า ทุกคดีอ้างโรคจิตเวชแล้วจะพ้นผิดเสมอ

    แต่จริงๆถ้าเช็คดูคดีที่คำพิพากษามีข่าวออกมา เกือบทุกคดีศาลจะวินิจฉัยว่าไม่ถึงขนาดวิกลจริต แล้วลงโทษไปตามกฎหมาย น้อยมากที่ศาลจะมองว่าจำเลยวิกลจริตจริงๆ ซึ่งมักจะเป็นกรณีที่เป็นคนบ้าตัวมอมแมมพูดไม่รู้เรื่องตลอดเวลา คือต้องเข้าเกณฑ์วิกลจริตตามความเชื่อของสังคมไทยด้วย

    ผู้ป่วยจิตเวชไม่ได้ก่อเหตุบ่อย แต่ทุกครั้งจะเป็นข่าวเสมอ



    ปัญหาจากผู้ป่วยจิตเวชนานๆจะเกิดขึ้นที แต่คนจะจำได้แทบทุกกรณี เพราะแต่ละวัน อุบัติเหตุหรืออาชญากรรมมันเยอะจนไม่เป็นข่าวอยู่แล้ว สื่อจะเลือกมาเฉพาะกรณีที่แปลกประหลาด ยิ่งถ้าผู้ก่อเหตุเป็นผู้ป่วยจิตเวชจะการันตีได้ว่าคนจะชอบอ่าน (โกรธ) แน่นอน มันเลยเป็นข่าวเสมอ ทำให้ดูเหมือนเกิดบ่อยมาก แต่จริงๆตรงข้าม

    ปรากฏการณ์จิตวิทยานี้เรียกว่า availability bias เมื่อเราประเมินโอกาสของอะไรบางอย่างเกินความเป็นจริง เพราะเหตุการณ์ทำนองนั้นเพิ่งเกิดขึ้นหรือทำให้เรารู้สึกอย่างรุนแรง เช่นเวลาขึ้นเครื่องบินเรากลัวมากกว่าขึ้นรถ ทั้งที่โอกาสตายบนรถสูงกว่าเป็นพันเท่า

    แต่ทุกครั้งที่เครื่องบินตกเราได้เห็นในข่าวเสมอ และมันก็น่ากลัวที่สุด แต่อุบัติเหตุรถเกิดบ่อยจนเป็นเรื่องธรรมดา เฉพาะเมืองไทยก็ทำให้คนตาย 50-60 คนต่อวัน นั่นทำให้สื่อต้องเลือกเฉพาะกรณีที่น่าสนใจจริงๆเท่านั้น พอรับรู้ข่าวผิดสัดส่วนอย่างนี้ตลอดเวลา สมองเราเลยประเมินว่าเครื่องบินอันตรายกว่ารถ กลายเป็นความรู้สึกลึกๆทั้งที่เรารู้ว่ามันไม่จริง

    เช่นเดียวกัน คดีหมูแฮมชนคนตายเป็นดราม่าใหญ่โต ทำให้ทุกคนกลัวว่าตัวเองจะถูกคนป่วยจิตเวชขับรถชนมาจนถึงทุกวันนี้ ทั้งที่โอกาสมันน้อยมาก ลองดูสถิติอุบัติเหตุจราจร ตัวเลขปี 2558 มีจำนวน 67,997 ครั้ง (จากคนเมา 1,364 ครั้ง) แต่ลองนึกดูปีๆนึง มีอุบัติเหตุเกิดจากคนป่วยจิตเวชขับรถกี่ครั้ง? ลองไล่ดูข่าวตั้งแต่ปี 2550 คดีหมูแฮมจนถึงปี 2562 กรณีหนุ่มแว่น นับได้กี่กรณี? ตลอด 12 ปีนี้ใครนับได้เกิน 10 หรือเปล่า

    ทุกคนมีโอกาสถูกคนไม่ป่วยขับชนมากกว่ามาก โดยเฉพาะคนที่ชอบขับเร็ว คึกคะนอง หรือเมาเหล้า เช่นเดียวกัน ทุกคนมีโอกาสถูกด่าหรือทำร้ายโดยคนไม่ป่วยมากกว่ามาก โดยเฉพาะคนนิสัยเห็นแก่ตัว ขี้โมโห หรือพวกอาชญากร แต่เมื่อไหร่ที่คนป่วยจิตเวชก่อเหตุ คนจะมีโอกาสได้เห็นในข่าวมากกว่ามาก เพราะทุกสื่อและโซเชียลรู้ว่ามันจะทำให้คนอ่านโมโหและไลค์แชร์กันอย่างหนัก

    กำจัดตราบาป เลิกเกลียดกลัวผู้ป่วยจิตเวช

    โรคจิตเวชส่วนใหญ่รักษาได้ แต่ปัญหาคือคนไทยส่วนใหญ่ป่วยแล้วจะไม่หาหมอ เพราะเมื่อใดที่เริ่มรักษาก็จะกลายเป็นคนป่วยจิตเวช แล้วก็จะกลายเป็นคนที่สังคมรังเกียจและหวาดกลัว คนป่วยส่วนใหญ่จึงยอมทรมานต่อไป หรือแม้แต่ยอมฆ่าตัวตาย ดีกว่าจะโดนสังคมรังเกียจ นี่คือที่มาของตราบาปโรคจิตเวช

    เมื่อสังคมไทยเลิกมองว่าผู้ป่วยจิตเวชเป็นคนบ้าอันตราย หรือโกหกเพื่อเอาตัวรอด เมื่อนั้นคนป่วยก็จะกล้ายอมรับตัวเองและยอมหาหมอมากขึ้น ซึ่งนั่นจะเป็นประโยชน์มากที่สุดต่อทุกคนสังคม

    Image result for mental health end the stigma

    อ้างอิง

    1. ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499
    2. “คำศัพท์ที่สำคัญในกฎหมายอาญาของไทยที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางจิตในกฎหมายอาญาของไทย ได้แก่ “วิกลจริต”หมายถึง การมีความสามารถในทางกฎหมายที่บกพร่องไม่สมบูรณ์ เนื่องจากความผิดปกติทางจิต “โรคจิต” หมายถึง อาการของโรคจิตในทางจิตเวชศาสตร์ “จิตบกพร่อง” หมายถึง ความผิดปกติทางจิตที่เกิดจากความผิดปกติทางสมองและระบบประสาท และ “จิตฟั่นเฟือน” หมายถึงความ ผิดปกติทางจิตอื่นๆนอกเหนือจากสองประเภทข้างต้น นิยามของความผิดปกติทางจิตในทางกฎหมายอาญา หมายถึง ความสามารถในการรู้ผิดชอบหรือความสามารถในการบังคับตนเองที่บกพร่องไม่สมบูรณ์เนื่องจากมี ความผิดปกติทางจิต การตีความว่าเป็นความผิดปกติทางจิตหรือไม่ในทางกฎหมายอาญา ใช้ความเชื่อทางสังคม พยานหลักฐาน ประกอบกับหลักเหตุผลในทางกฎหมาย การวิจัยนี้มีข้อเสนอว่าในกฎหมายอาญาควรใช้คำที่มี ความหมายถึงความผิดปกติทางจิตเพียงแบบเดียว ควรใช้นิยามของความผิดปกติทางจิตตามพระราชบัญญัติ สุขภาพจิต พ.ศ. 2551 แต่ไม่ควรรวมไปถึงความผิดปกติทางจิตที่เกิดจากสารเสพติด” — ความผิดปกติทางจิตในกฎหมายอาญา
    3. นิติจิตเวช
    4. โรคจิตคืออะไร
    5. “หากพนักงานอัยการพิจารณาว่าบุคคลดังกล่าวอยู่ในข่ายไม่ต้องรับโทษ ก็อาจมีคำสั่งไม่ฟ้อง ดังเช่น กรณีที่จังหวัดราชบุรี กรณีแม่และป้าป่วยเป็นโรคจิตคิดว่าจนเองเป็นองค์อัมรินทร์และพระอาทิตย์ แม่ได้สั่งให้ป้าฆ่าบุตรสาวของตน และจากรายงานของการตรวจวินิจฉัยทางนิติเวช แพทย์ยืนยันว่าผู้ต้องหาทั้งสองคนป่วยเป็นโรคจิตกระทำผิด เนื่องจากอาการทางจิตมาภาวะหลงผิดไม่รู้ผิดชอบขณะกระทำความผิด พนักงานอัยการจึงมีคำสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาทั้งสองตามมาตรา 65 ซึ่งเป็นการสั่งไม่ฟ้องที่ชอบด้วยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายแล้ว และต่อมาแพทย์ได้ทำการรับบำบัดรักษาผู้ป่วยทั้งสองจนหายกลับไปใช้ชีวิตร่วมกับสังคมได้ตามปกติ หรือกรณีที่ฟ้องต่อศาล หากปรากฏจากหลักเกณฑ์ทางแพทย์ว่าบุคคลทั้งสองเข้าข่ายมาตรา 65 ศาลก็อาจพิพากษาว่ามีความผิดแต่ไม่รับโทษ หรือพิพากษาให้รับโทษน้อยเพียงใดก็ได้”การปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับผู้กระทำความผิดจิตไม่ปกติ
    6. คนบ้าทำผิด กม.รอดคุกทุกกรณี จริงหรือ?

    คำอธิบายกฎหมายและตัวอย่างคดี

    โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

    รู้สึกแย่ดิ่งสุดๆ ทำไงถึงจะหาย

    ถามกันบ่อยที่สุดคือกำลังดิ่งจะทำยังไงดี ปัญหาคืออธิบายตอนนั้นก็ไม่มีสติพอจะเข้าใจอยู่ดี ดังนั้นทุกคนควรเรียนรู้เทคนิคนี้ไว้ล่วงหน้า มันมาจากจิตบำบัดแบบ ACT ( defusion ) ซึ่งมีงานวิจัยจำนวนมากว่าได้ผล แล้วนำมาประยุกต์กับ วิธีเจริญสติแบบเคลื่อนไหว ซึ่งเหมาะกับสถานการณ์ช่วงวิกฤติ วิธีทำก็ง่ายมาก จะยากตรงมันตรงข้ามกับคอมมอนเซนส์ เพราะเราเข้าใจธรรมชาติของใจเราผิดมาตลอด แต่ลองทำดูแล้วก็จะเข้าใจเอง เพราะทุกคนที่จัดการมันได้ ต่างก็ค้นพบเทคนิคนี้ได้เองจากการลองผิดลองถูก ความรู้สึกแย่เกิดจาก “ ความคิด”  เสมอ ความรู้สึกแย่ (เช่นโกรธ เสียใจ น้อยใจ กังวล​) เกิดจาก ความคิด ของเรา เสมอ ไม่เคยเกิดจากอย่างอื่น เช่น เขา พูดไม่ดีกับเราเมื่อเย็นวาน ปรากฏตอนนี้เราก็ยังรู้สึกแย่อยู่ ทั้งที่ไม่ได้ยินคำพูดนั้นแล้ว แต่เราเองเป็นคนเล่นซ้ำคำพูดที่เราเกลียดนั้นในหัวเรามาตลอด เขา เป็นต้นเหตุของความคิดนี้ใช่ แต่ ตอนนี้ ที่กำลังรู้สึกแย่ เกิดจาก ความคิดนี้ ของเรา เอง ที่ผ่านมาตอนนั้นเรามักจะโฟกัสความผิดที่ เขา  ซึ่งยิ่งทำให้ความคิดเราวนเวียนหนักขึ้นเรื่อยๆ ความคิดยิ่งมาก ความรู้สึกเราก็ยิ่งแย่ ดิ่งลงไปเร

    ลิเธียม ยาดีที่ต้องใช้ให้เป็น

    สำหรับคนที่เป็นไบโพลาร์ก็จะได้ทาน ยาคุมอารมณ์ (mood stabilizer) เพื่อจะได้ไม่ต้องมีช่วงแมเนีย และลิเธียมก็คือยาคุมอารมณ์ที่นิยมมากที่สุดตัวหนึ่ง เพราะได้ผลดี, ผ่านมาวิจัยมานานมาก, ราคาถูก และมีส่วนช่วยป้องกันช่วงดีเพรส แต่ลิเธียมเป็นยาที่ใช้ยากนิดนึง เพราะหมอจะต้องค่อยๆปรับยาขึ้นจนกว่าเราจะมียาในเลือดระดับที่พอดี ถ้าน้อยไปมันก็จะไม่ทำงาน ถ้ามากไปก็จะเกิดอาการลิเธียมเป็นพิษ หลายคนที่หมอสั่งลิเธียมให้ พอได้ยินเรื่องลิเธียมเป็นพิษเลยวิตกกังวลหนัก จนความวิตกกังวลนี้กลายเป็นผลข้างเคียงซ้ำซ้อนเข้าไปอีก ดังนั้นคนที่ทานยาตัวนี้จึงต้องเรียนรู้เพิ่มเติมสักนิดนึงเกี่ยวกับมัน บทความข้างล่างนี้มาจากคอลัมน์พบหมอรามา อ่านง่ายและครบถ้วนดี แต่ก่อนอื่นผมจะเกริ่นถึงประเด็นที่ทำให้กังวลกันก่อน ผลเสียจากลิเธียมจะมีอยู่ 2 ลักษณะ ถ้าแยกจากกันได้แล้วจะใช้มันได้อย่างสบายใจ ผลข้างเคียง ​ คือผลเสียในโดสปกติ  อาการลิเธียมเป็นพิษ  คืออาการป่วยเพราะมีลิเธียมในเลือดสูงเกินไป อาจจะเพราะได้ยามากเกินไป (เช่นโอเวอร์โดส) หรือเพราะสภาพร่างกายผิดปกติไปมากทำให้ขาดน้ำหรือเกลือแร่ บางคนเข้าใจว่าตัวเองแพ้ลิเธียม

    ท็อป 5 ความเข้าใจผิด โรคซึมเศร้าไม่ใช่อย่างที่คิด

    โรคซึมเศร้าเป็นคนละอย่างกับอารมณ์เศร้า แต่ชื่อโรคภาษาไทยชวนให้เข้าใจว่า มันก็แค่ความรู้สึกซึมๆเศร้าๆอย่างที่ทุกคนรู้จัก แถมคำอธิบายเกลื่อนเน็ตก็กว้างซะจน ทุกคนอ่านก็คิดว่าตนเคยเป็นโรคนี้ และสามารถวินิจฉัยว่าคนอื่นว่าเป็นหรือไม่ โดยไม่ต้องเสียเวลาเรียน 10 ปีอย่างจิตแพทย์ แต่โรคซึมเศร้าก็เหมือนหลายโรคที่มีความซับซ้อนจนต้องมีแพทย์เฉพาะทาง มันมีรายละเอียดมากและไม่เหมือนกับที่คนเข้าใจเลย แต่เนื่องจากคนส่วนใหญ่ไม่มีความรู้เรื่องนี้เลย เราจึงรู้สึกว่าเรารู้จักมันดีอยู่แล้วด้วยคอมมอนเซนส์ล้วนๆ ต่อไปนี้คือความเข้าใจที่ผิดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในบ้านเรา (1)  โรคซึมเศร้าไม่มีจริง (2)  ที่เรียกโรคซึมเศร้าก็คือความเศร้า (3)  ฉันก็เคยเป็น แต่ฉันไม่ยอมแพ้ (4)  มันอยู่ที่ใจแค่นั้น สู้ๆ ลุกขึ้นมาก็หายแล้ว (5)  หมอกุเรื่องขึ้นมาเพื่อให้บริษัทยารวย 1 ความเชื่อ: โรคซึมเศร้าไม่มีจริง  โรคจิตเวชจะต้องเสียสติเป็นคนบ้า ความจริง:  องค์การอนามัยโลกบอก ว่า 300 ล้านคนเป็นโรคซึมเศร้า (MDD) นั่นมากกว่า 4% ของประชากรโลก  ส่วนในไทย ปี 2551 กรมสุขภาพจิตประมาณว่ามี คนไทย 1.5 ล้านคน เป็นโรคซึมเศ

    เจอปัญหาที่แก้ไม่ได้ทำไงดี

    เหมือนชีวิตกำลังเล่นปิงปองกับเรา ตีลูกยากง่ายใส่เราตลอดเวลา เรื่องกวนใจ ปัญหา ความสูญเสีย. บางคนเจอปัญหาแล้วจมอยู่ตรงนั้น ประทัวง “ลูกยากไม่เล่น”. บางคนยากง่ายรับหมดเต็มที่ เจอลูกยากอาจล้มเข่าถลอกแต่รีบลุกเล่นต่อ. ทำได้ไงอะ? ชัยจะต้องพรีเซ็นต์หัวข้อแรกตอนเช้าในงานสัมมนาของผู้บริหารหลายองค์กร. เช้านี้รถติดสาหัส. เขาร้อนใจจึงโทรไปบอกผู้จัดว่ากำลังจะถึง ให้เตรียมที่จอดรถไว้ให้เพราะปกติจะเต็ม. เกือบเฉี่ยวชนหลายหน แต่รถเขาก็ถึงสถานที่ตรงเวลาพอดี. เขาพารถไปโซน VIP ช่องที่มีเลขทะเบียนรถเขา แต่ยามไม่ให้จอด. เหลือเชื่อตัวเลขผิดไปหลักนึง. ยามให้วนขึ้นไปจอดในอาคาร บอกดาดฟ้ามีที่ แต่เขาไม่มีเวลาแล้ว. มันไม่ถูก เขาเถียง ช่องนี้เตรียมไว้ให้เขา ไม่ยุติธรรมเลย. รถข้างหลังต่อแถวยาวขึ้นๆ. เขายิ่งเถียงเสียงดังขึ้นๆ เลขผิดนิดเดียว เขาจอดโซนนี้ประจำ เจ้านายคุณรอเขาอยู่ ฯลฯ แต่ยามไม่ฟัง. ชีวิตเรามีปัญหาตลอด ในชีวิตเราจะพบกับปัญหาที่แก้ไม่ได้ และความเปลี่ยนแปลงที่ไม่ต้องการ อยู่ตลอดเวลา. แต่เราพยายามมองไม่เห็นมัน. ถ้าเรื่องเล็กเราก็แค่สะสมความเครียด. เช่นเวลาหาของไม่เจอ, เพื่อนทำไม่ถูกใจ, โดนดูถูก ฯลฯ. ถ้

    จะกินยา หรือไม่กินดี?

    โชคดีมากที่ปัจจุบันโรคซึมเศร้าและไบโพลาร์สามารถรักษาได้ด้วยยา คนไข้ที่มีวินัยหาหมอกินยา 6 เดือนถึงปีกว่าส่วนใหญ่ก็จะหายและได้หยุดยา สาเหตุใหญ่ที่ทำให้บางคนไม่หายคือ “ไม่อยากกินยา” จะกินไม่กินดี? เมื่อไม่อยากกินยา แต่หมอสั่งให้กิน เราจะเกิดอาการลังเล “จะกินไม่กินดี?” แล้วลงเอยที่ “กินๆหยุดๆ” ซึ่งแย่กว่าไม่กินเสียอีก สภาวะนี้ทำให้เครียดหนักมาก กินก็รู้สึกแย่ ไม่กินก็อาการแย่ สับสนตำหนิตัวเองวนไปวนมา จะทำยังไงดี?

    ฉันกำลังดีเพรสหรือเปล่า หรือฉันกำลังแมเนีย

    เวลาพบหมอ มันสำคัญมากที่เราจะต้องสามารถสื่อสารว่า ช่วงที่ผ่านมาเราอาการเป็นไง สัปดาห์ไหนปกติ สัปดาห์ไหนดีเพรสบ้าง และ (สำหรับไบโพลาร์) สัปดาห์ไหนแมเนียหรือเปล่า. เมื่อเข้าใจโรคเพียงคร่าวๆ คนมักจะคิดว่าดีเพรสคือเศร้านานๆ แมเนียคือรู้สึกดีหรือก้าวร้าวนานๆ ซึ่งถูกเพียงส่วนเดียว. เมื่อเข้าใจนิยามของอาการเหล่านี้ไม่ตรงกับหมอ เวลาเราเล่า หมอก็จะเข้าใจอาการไม่ตรงกันเรา. ผลคือหมอก็จะปรับยาผิด เพราะเข้าใจอาการผิด เช่นเราดีเพรสอย่างเดียวมานานแล้ว แต่วีนแฟนบ่อยเพราะปัญหาชีวิตคู่. เราเล่าอาการทีไรหมอก็คิดว่าแมเนีย เลยให้แต่ยาคุมอารมณ์. ความเข้าใจผิดแบบนี้ทำให้การรักษาไม่คืบหน้า เพราะยาไม่ช่วยให้อาการหายหมดสักที จนบางคนท้อกับการรักษา. เพื่อไม่ให้เกิดปัญหานี้ เราต้องเข้าใจอาการของโรคตรงกับนิยามที่หมอใช้. เมื่อสื่อสารกับหมอได้อย่างมีประสิทธิภาพ การรักษาก็จะก้าวหน้า เราก็จะมีอาการน้อยลง และสามารถใช้ชีวิตปกติได้มากขึ้นเรื่อยๆ.

    วอนใช้คำให้ถูก โรคไบโพลาร์ไม่ใช่ที่เห็นในสื่อและละคร

    วันนี้ 30 มีนาคม 2561 เป็น วันไบโพลาร์โลก  วันที่เราชวนให้โลกหันมาทำความรู้จักโรคไบโพลาร์¹ เพื่อกำจัดตราบาปในสังคม บ้านเรามีตราบาปโรคนี้ที่ไม่เหมือนที่อื่น เราใช้ชื่อไบโพลาร์เป็นคำด่านักการเมือง หรือคนที่เรากลียดชนิดไม่มีคำไหนสื่อระดับความเลวได้  เพราะหลักสูตรเราไม่ได้สอนเรื่องโรคจิตเวชกับเด็กๆ พอคนเห็นชื่อไบโพลาร์แปลว่าสองขั้ว ก็คิดเอาเองว่าคนป่วยจะเป็นคน ① สองบุคลิก วันนึงเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย ② สองหน้า โกหกพลิกไปมาหน้าตาเฉย ③ เอาแต่ใจ ขี้วีน คุมตัวเองไม่ได้ ④ เสพติดความรุนแรงแบบฆาตกรโรคจิต ซึ่งทั้งหมดอาจจะเป็นโรคจิตเวชก็ได้ แต่เป็นโรคอื่นที่ไม่ได้ใกล้เคียงกับไบโพลาร์สักนิด โรคไบโพลาร์ ในทางการแพทย์คือ ในทางการแพทย์ โรคไบโพลาร์   เป็น โรคทางสมอง ² ที่ทำให้มี บางเดือนเปลี่ยนไปแบบทุกวันหมดพลัง ท้อแท้ (เหมือนโรคซึมเศร้า) บางสัปดาห์/เดือนเปลี่ยนไปแบบทุกวันพลังล้นไฮเปอร์ มั่นใจเกินร้อย ช่วงที่เหลือ (เวลาประมาณ 50%³) ก็ปกติเหมือนตอนก่อนป่วย ความผิดปกติของสมองผู้ป่วยไบโพลาร์ ก็เหมือนคนเป็นไมเกรนไม่ได้ปวดหัวตลอดเวลา เขาจะปวดเฉพาะเวลาอาการกำเริบ สำหรับไบโพลาร์ช่วง 1 และ 2

    ถ้าอยากหาย อย่าอยากหายเร็วๆ ให้คิดแบบนี้แทน

    โรคเรานั้นรักษาไปก็หาย แต่ความที่มันทรมาน เราก็มักจะอยากหายเร็วๆ แต่มันไม่ใช่แค่หวัดที่จะหายได้ในไม่กี่วัน แม้อาการบางอย่างเช่นนอนไม่หลับอาจจะดีขึ้นเร็ว แต่อาการดีเพรสกว่าจะดีขึ้นก็เป็นเดือน ถ้าเราอยากหายเร็วๆมันจะทรมานสุดๆ จนสุดท้ายบางคนจะยอมแพ้ไปก่อน ฆ่าตัวตาย หรือไม่ก็เลิกรักษา ทั้งที่อาการก็ดีขึ้นแล้ว และถ้ารักษาต่อไปก็จะหายแน่ๆ แต่การรอคอยนั้นทรมานเกินไป ก็เลยหยุดยาเอง แล้วก็ได้พบกับนรกที่แย่กว่าอาการตอนแรกเสียอีก แล้วก็วนกลับมาเริ่มต้นรักษาใหม่ แต่คราวนี้ยาตัวเดิมอาจไม่ได้ผลเหมือนเก่า การรอคอยนั้นทรมานกว่าอาการของโรค ถ้าเรารอคอยนับวันเมื่อไหร่จะหาย แต่ละนาทีจะยาวนานเหมือนเวลาเดินช้ามาก ความทรมานส่วนนี้จะมากกว่าอาการของโรคทีแรกเสียอีก เหมือนไม่ใช่แค่รอคอยเฉยๆ แต่มีไฟลนหัวใจเราไปด้วย โชคร้ายที่เราจะแยกไม่ออกว่า ความเจ็บปวดส่วนไหนคืออาการของโรค ส่วนไหนมาจากการรอคอย ต่อเมื่อเลิกรอคอยแล้วเราจึงจะเห็นกับตา เมื่อความทรมานหายไป แต่มันยากสุดๆที่ใครจะเชื่อว่าการอยากหายนั้นเป็นโทษ เพราะความอยากหายนั้นเป็นคอมมอนเซนส์มากๆ แล้วมันก็เวิร์กในกรณีทั่วไปด้วย “ต้องอยากได้อันนั้นสิ ถึงจ

    กลยุทธ์การคืนสู่สุขภาวะของป้าหนู

    Pa Noo's Recovery Strategy โดยป้าหนู รัชนี แมนเมธี ป้าหนูขอแบ่งกลยุทธ์เป็น 4 ช่วงเวลาดังนี้ พ.ศ. 2545–2547 : ช่วงเปลี่ยนผ่าน พ.ศ. 2548–2558 : ช่วงปานสายใยแห่งรัก พ.ศ. 2559–2566 : ช่วงประจักษ์ตัวตน พ.ศ. 2567 - หมดลมหายใจ : ช่วงค้นพบตัวเอง 1. ช่วงเปลี่ยนผ่าน พ.ศ. 2516 ป้าเริ่มสอนหนังสือ พอถึง พ.ศ. 2545 ป้าป่วยเป็นโรคซึมเศร้า กว่าจะได้เข้ารับการรักษา ปี พ.ศ. 2546 ปี 2546 ปลายๆหมอบอกป้าหายป่วย แต่ป้ายังรู้สึกชีวิตมืดมน 1 เม.ย. 2547 ป้าได้เกษียณก่อนกำหนด ( Early Retire ) เป็นวันแรก 2. ช่วงปานสายใยแห่งรัก ป้าได้มีโอกาสเรียนรู้ และเป็นกรรมการสมาคมสายใยครอบครัว ซึ่งช่วงนี้เป็นช่วงที่ป้ามีความสุขมาก เพราะได้ฟื้นพลังชีวิต ป้าได้เห็นคุณค่าในตนเองมาก 3. ช่วงประจักษ์ตัวตน ป้าได้นำประสบการณ์ช่วงที่ 2 และประสบการณ์ที่มีมาตั้งแต่เดิมมาใช้ประโยชน์ในการทำงานเพื่อส่วนรวมได้มากมายมหาศาล 4. ช่วงค้นพบตนเอง ป้าตกผลึกชีวิตตนเองเรียบร้อย เพราะได้ประจักษ์ตัวตนของตัวเอง รู้ว่าตนมีจุดแข็ง - จุดอ่อน, มีโอกาส - ถูกคุกคาม อะไรอย่างไร เห็นคุณค่าและภูมิใจในตนเองว่าสามารถทำประโยชน์ให้มนุษยชาติได้อย่างไรมากที่สุดตาม