ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

กลยุทธ์การคืนสู่สุขภาวะของป้าหนู

Pa Noo's Recovery Strategy

โดยป้าหนู รัชนี แมนเมธี

ป้าหนูขอแบ่งกลยุทธ์เป็น 4 ช่วงเวลาดังนี้
  1. พ.ศ. 2545–2547 : ช่วงเปลี่ยนผ่าน
  2. พ.ศ. 2548–2558 : ช่วงปานสายใยแห่งรัก
  3. พ.ศ. 2559–2566 : ช่วงประจักษ์ตัวตน
  4. พ.ศ. 2567 - หมดลมหายใจ : ช่วงค้นพบตัวเอง

1. ช่วงเปลี่ยนผ่าน

พ.ศ. 2516 ป้าเริ่มสอนหนังสือ พอถึง พ.ศ. 2545 ป้าป่วยเป็นโรคซึมเศร้า กว่าจะได้เข้ารับการรักษา ปี พ.ศ. 2546 ปี 2546 ปลายๆหมอบอกป้าหายป่วย แต่ป้ายังรู้สึกชีวิตมืดมน 1 เม.ย. 2547 ป้าได้เกษียณก่อนกำหนด ( Early Retire ) เป็นวันแรก

2. ช่วงปานสายใยแห่งรัก

ป้าได้มีโอกาสเรียนรู้ และเป็นกรรมการสมาคมสายใยครอบครัว ซึ่งช่วงนี้เป็นช่วงที่ป้ามีความสุขมาก เพราะได้ฟื้นพลังชีวิต ป้าได้เห็นคุณค่าในตนเองมาก

3. ช่วงประจักษ์ตัวตน

ป้าได้นำประสบการณ์ช่วงที่ 2 และประสบการณ์ที่มีมาตั้งแต่เดิมมาใช้ประโยชน์ในการทำงานเพื่อส่วนรวมได้มากมายมหาศาล

4. ช่วงค้นพบตนเอง

ป้าตกผลึกชีวิตตนเองเรียบร้อย เพราะได้ประจักษ์ตัวตนของตัวเอง รู้ว่าตนมีจุดแข็ง - จุดอ่อน, มีโอกาส - ถูกคุกคาม อะไรอย่างไร เห็นคุณค่าและภูมิใจในตนเองว่าสามารถทำประโยชน์ให้มนุษยชาติได้อย่างไรมากที่สุดตามศักยภาพของป้า และทำอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดเท่าที่ป้าจะทำได้ และควรทำงานอะไรที่เหมาะสมที่สุด

ช่วงที่ 1 : เปลี่ยนผ่าน : พ.ศ. 2545–2547

ป้าผ่านมรสุมชีวิตและหลุดรอดออกมาได้ แต่ชีวิตก็ยังไม่พร้อม (Perfect) เท่าไร ป้าป่วยเป็นโรคซึมเศร้า พ.ศ. 2545 ปลายปี 2546 หมอบอกหาย (หลังเข้ารับการรักษาเพียง 3 เดือน) แต่ป้าต้องกินยาต้านเศร้าจนถึงทุกวันนี้

ตอนที่หมอบอกป้าหายป่วย ป้าไม่ตื่นเต้นเท่าไร เพราะรู้อยู่แก่ใจว่ารู้สึกว่าชีวิตยังมืดมนคือยังรู้สึกอาย กลัวคนจะรู้ว่าป่วยเป็นโรคซึมเศร้า (ซึ่งเป็นโรคจิตเวชชนิดหนึ่ง) ไม่กล้าบอกลูกว่าป่วยเพราะกลัวลูกจะอายคนอื่น หมอบอกให้กินยาต้านเศร้าต่อไปเพื่อไม่ให้ป่วยซ้ำ

การป่วยซ้ำเป็นอย่างไร และสำคัญอย่างไร

การฟื้นหายของผู้ป่วยซึมเศร้า คือกระบวนการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ, ค่านิยม, ความรู้สึก, เป้าหมาย, ทักษะ, พฤติกรรม, บทบาท ส่งผลให้สามารถปรับตัวอยู่ได้อย่างมีความสุข แม้จะยังมีอาการซึมเศร้าหลงเหลืออยู่

และรวมถึงการให้ความหมายในชีวิต, วางแผนเป้าหมายชีวิตใหม่, เกิดการเติบโตจากผลกระทบการเจ็บป่วยทางจิตเวชที่ได้รับ ส่งผลให้รู้สึกตนเองมีคุณค่า คืนความสำคัญในตนเอง เกิดการเติบโตในตนเอง จนสามารถ
  1. ช่วยเหลือตนเองได้
  2. ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างปกติสุข
  4. ยืดระยะเวลาการกลับเป็นซ้ำ

ถ้าไม่สามารถทำได้ 4 ประการนี้ แสดงว่าเริ่มป่วยซ้ำ

  • 50 % ของผู้ที่ฟื้นตัวจากภาวะซึมเศร้าครั้งแรก มักมีภาวะซึมเศร้าซ้ำอีก 1 ครั้งหรือมากกว่า
  • 80 % ของผู้ป่วยซ้ำครั้งที่ 2 มักเกิดอีกเป็นครั้งที่ 3

สาเหตุที่ผู้ป่วยซึมเศร้าป่วยซ้ำ

  1. ขาดยา หรือกินยาไม่สม่ำเสมอ
    สาเหตุที่ขาดยา เพราะคิดว่าหายแล้ว และเบื่อกินยา
    สาเหตุที่กินยาไม่สม่ำเสมอ เพราะขี้เกียจ และอาการข้างเคียง
  2. เผชิญสถานการณ์สูญเสีย เช่น ทรัพย์สิน, เกียรติยศชื่อเสียง
  3. เสพสุรา เพราะเพื่อนชักชวน ไม่สบายใจ
  4. ทะเลาะกับบุคคลในครอบครัว เบื่อหน่าย
  5. ดูแลรักษาตนเองหลังออกจากโรงพยาบาล แต่อาการไม่ดีขึ้น
  6. คนรอบข้างไม่เข้าใจการรักษาต่อเนื่อง
  7. ความเครียด
  8. แบกรับความรับผิดชอบ
  9. ชอบทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่
  10. คาดหวังตนเองมากเกินไป
  11. ไม่ร่วมกิจกรรมกับผู้อื่น
  12. ไตร่ตรองรวดเร็วเกิน
  13. ไม่ยอมรับว่าต้องใช้เวลาในการรักษา และการดูแลหลังหายป่วย
  14. ไม่ยอมรับความคิดแง่บวก

ถ้ามีการป่วยซ้ำ การรักษาจะยากมากกว่าเดิม

เช่นอาจใช้ยาต้านเศร้าเดิมไม่ได้ โอกาสหายยากกว่าในครั้งแรก โอกาสป่วยซ้ำในครั้งต่อไปจะเกิดง่าย และอาการหนักมากขึ้น

ป้าเลยยอมกินยาต้านเศร้าไว้ แม้จิตแพทย์จะบอกว่าป้าหายแล้ว แต่จิตแพทย์วิเคราะห์ว่าป้าเป็นโรคซึมเศร้าแบบรุนแรง (Major) โอกาสป่วยซ้ำจะสูง ถ้าเจอสิ่งเร้าเพียงเล็กน้อยก็อาจกระตุ้นทำให้ป่วยขึ้นใหม่ได้ ป้าไม่กล้าเสี่ยงที่จะป่วยอีก จึงกินยาต้านเศร้ามาถึงปัจจุบัน

วันที่ 1 เม.ย. 2547 เป็นวันแรกที่ป้าได้เกษียณ กิจกรรมของป้าหลังจากนั้น คือเป็นจิตอาสาสอนรำไทเก็กและรำไม้พลองที่สวนรมณีนาถ (ใกล้เสาชิงช้า) หลังสอนเราก็นั่งเสวนากันที่สนามหญ้ากลางสวน ป้าได้เจอกัลยาณมิตรมากมาย ลืมเรื่องป่วยไปบ้าง

ป้าหนู”จากผู้ป่วย“โรคซึมเศร้า”สู่ผู้เยียวยาโรคซึมเศร้า : Rama ...

ช่วงที่ 2 : ปานสายใยแห่งรัก : พ.ศ. 2548–2558

ป้าชอบฟังวิทยุ วันหนึ่งในปี 2548 มีรายการสุขภาพจิตซึ่งจัดโดยจิตแพทย์หญิงท่านหนึ่งของโรงพยาบาลศรีธัญญา ท่านประกาศว่าตอนนี้สมาคมสายใยครอบครัวเปิดรับสมัครผู้เข้าอบรม “หลักสูตรสายใยครอบครัว” ซึ่งมีเนื้อหาเรื่องการรับมือกับโรคจิตเวช (โรคซึมเศร้า เป็นโรคจิตเวชประเภทหนึ่ง)

ป้าเป็นรุ่นที่ 6 ในหลักสูตรป้าได้เรียนรู้มาก มีประโยชน์ต่อการหายป่วยโรคซึมเศร้าของป้ามาก - มากที่สุด เพราะ
  1. ป้ากระจ่างในแผนที่นำทาง (Road - Map) ของการดำเนินโรค ป้าได้รู้สาเหตุ อาการ การเยียวยา การป้องกัน การฟื้นคืนพลังชีวิต (Recovery) ทำให้ป้าคลายความมืดมนในการอยู่กับโรคซึมเศร้าได้มาก
  2. ป้าได้กัลยาณมิตรที่มีประสบการณ์ป่วยโรคจิตเวชมากมาย เปรียบเสมือนต่างเป็นเพื่อนร่วมทาง (Peer) ซึ่งกันและกัน ทำให้ป้าไม่โดดเดี่ยว
  3. ป้าเห็นคุณค่าในตนเอง (Self - Esteem) มาก เนื่องจากสมาคมทำดังนี้
    1. เชิญป้าเป็นวิทยากร (Facilitator) สอนหลักสูตรฯ ต่อไปจนถึงปี 2558
    2. เลือกตั้งป้าเป็นกรรมการสมาคมด้านพิทักษ์สิทธิผู้อยู่กับโรคจิตเวช
    3. แต่งตั้งป้าเป็นประธานโครงการสามประสาน (ผู้ป่วยจิตเวช ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวช นักวิชาชีพ) ไปให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโรคจิตเวช (Psychoeducator) แก่กลุ่มเป้าหมาย (นักเรียน, นักศึกษา, จิตอาสา, นักบวช, องค์กรหรือหน่วยงานที่เชิญมา ฯลฯ)
  4. ป้าได้เรียนรู้แนวคิดการฟื้นคืนพลังชีวิต (Recovery-Oriented Approach: ROA)

วัตถุประสงค์ของ ROA คือ

  1. ผู้ป่วยมีความสุข
  2. ผู้ป่วยมีที่ยืนในสังคม

หลักการของ ROA คือ

  1. ผู้ป่วยมีความหวัง
  2. ผู้ป่วยมีเป้าหมาย
  3. ผู้ป่วยมีกำลังใจ
  4. ผู้ป่วยมีความพร้อมจะเปลี่ยนแปลง
สรุป: ประมวลประสบการณ์ที่ป้าได้จากสมาคมสายใยครอบครัว คือป้ามีพลังและเข้มแข็งมั่นคงทางจิตใจมาก ป้ามีความสุขมากกว่าก่อนป่วยซึมเศร้าเสียอีก


ดังที่กล่าวไว้ว่าตอนที่ป้าเป็นกรรมการสมาคมสายใยครอบครัว ป้าดูแลรับผิดชอบเรื่องพิทักษ์สิทธิของผู้อยู่กับโรคจิตเวช ป้าได้รับเรื่องผู้ป่วยจิตเวชถูกละเมิดสิทธิหลายเรื่อง เรื่องที่ป้าติดใจมากคือผู้ป่วยจิตเวชที่กระทำความผิดทางอาญาเพราะอาการป่วยของเขา (เช่นหลงผิดว่าพ่อเป็นผู้ร้าย จึงยิงพ่อตาย) เมื่อเขาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ป้าคิดว่าอาจไม่มีใครเข้าใจการกระทำผิดและการป่วยของเขา

ความรู้สึกนึกคิดข้างต้นเป็นแรงบันดาลใจ ป้าอยากให้บุคลากรในกระบวนการยุติธรรมทั้งหมด (ตำรวจ, อัยการ, ศาล, ราชทัณฑ์) มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อผู้ป่วยจิตเวชกับการเป็นผู้ต้องหา, จำเลย, ผู้ต้องขัง ป้าเลยสมัครสอบเข้าเป็นผู้ให้คำปรึกษาด้านจิตสังคมในระบบศาล ภายใต้มาตรการเบี่ยงเบนคดีออกจากกระบวนการยุติธรรม (Diversion) ของศาลอาญาธนบุรี, ศาลอาญากรุงเทพใต้, ศาลอาญาตลิ่งชัน

ช่วงที่ 3 : ประจักษ์ตัวตน : พ.ศ. 2559–2566

ป้านำความรู้และประสบการณ์ทั้งชีวิตมาใช้ในงานช่วงที่ 3 นี้ ดังนี้

ตามทฤษฎีความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ของ Maslow
  1. ความต้องการทางกายภาพ เช่น ปัจจัย 4
  2. ความต้องการด้านความมั่นคง เป็นความมั่นคงปลอดภัยในชีวิต
  3. ความต้องการด้านความรัก เป็นความต้องการทางสังคม เช่น เพื่อน, ครอบครัว
  4. ความต้องการด้านความเคารพตนเอง เป็นการยอมรับนับถือตนเอง เช่น การเห็นคุณค่าในตนเอง, ความมั่นใจ, ความสำเร็จ
  5. ความต้องการด้านการประจักษ์ตนเองและเผื่อแผ่สิ่งดีๆให้ผู้อื่น เป็นความเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง เป็นการเข้าถึงศักยภาพที่แท้จริงของตนเอง เช่น ความคิดสร้างสรรค์, ทักษะการแก้ไขปัญหา ฯลฯ
Maslow เชื่อว่ามนุษย์เมื่อได้รับการสนองในข้อแรกๆแล้ว ถึงจะต้องการข้อเถิบไป เช่นนี้เรื่อยๆไป ถ้ายังไม่ได้สิ่งสนองความต้องการที่ขั้นไหน คนนั้นก็จะติดอยู่ตรงขั้นนั้น ไม่ใส่ใจความต้องการขั้นเถิบไป


ป้ามั่นใจว่าประจักษ์ในความเป็นเรา ว่ามีจุดแข็ง - จุดอ่อน อะไร แล้วนำจุดแข็งของตนเองไปประยุกต์ทำประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์ เมื่อป้าผ่านช่วงที่ 2 (ปานสายใยแห่งรัก พ.ศ.2548–2558) ป้ารู้สึกอิ่มตัว ตกผลึก ไม่หวั่นไหว มั่นคง และเสถียร จึงนำเอาประสบการณ์ช่วงที่ 2 เป็นฐานไปสู่ช่วงที่ 3 ดังนี้

อารมณ์

ป้าพยายามฝึกให้เกิดอารมณ์ด้านบวก เพราะเป็นตัวนำให้เกิดผลลัพธ์ที่สำคัญต่อการมีชีวิตที่มีความสุข
  1. เชื่อมั่นและมั่นใจ: ในตนเองว่าป้ามีศักยภาพมากพอที่จะให้ความรู้เรื่องโรคซึมเศร้า เพราะเคยป่วยมาเองและสามารถให้คำปรึกษาด้านจิตสังคม เนื่องจากจบปริญญาโทสาขาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  2. ภูมิใจ: ในตนเอง จากจากประสบการณ์การทำงานจิตอาสาเรื่องรณรงค์ให้สังคมตระหนักในภัยของโรคซึมเศร้า สามารถรับมือกับโรค และจะต่อยอดไปอีก
  3. ปลอดภัย: ว่าป้าคงป่วยซ้ำโรคซึมเศร้ายากเพราะกินยาต้านเศร้าและมองโลกบวกเสมอ
  4. รัก: สรรพสิ่งและสรรพสัตว์ จึงไม่คิดเบียดเบียนอะไร/ใครทั้งสิ้น
  5. ชื่นชม: กับความสำเร็จ/ความพยายามของผู้อื่นเสมอ เพื่อสร้างเสริมให้เขามีกำลังใจและมีความหวัง
  6. ยอมรับและเคารพ: ความเป็นมนุษย์ของทุกคน ไม่ดูถูก/อคติ
  7. สดชื่น/อิ่มเอิบใจ/ปีติ/เพลิดเพลินใจ: ทุกครั้งที่มีโอกาสทำความดี
  8. ใกล้ชิด: กับเพื่อนมนุษย์ทุกคน เพราะมองว่าเขาเป็นกัลยาณมิตรเสมอ
  9. สงสาร/เห็นใจ/เข้าอกเข้าใจ: ผู้ประสบความทุกข์/อุปสรรค
  10. ดีใจ: ที่ตนเองมีศักยภาพจะช่วยเหลือผู้กำลังประสบความทุกข์
  11. ห่วงใย/ใส่ใจ/จดจ่อ: ผู้กำลังประสบความทุกข์ยาก
  12. อยากรู้อยากเห็น/กระตือรือร้น: เรียนรู้ข้อมูลทุกเรื่อง แล้วหาความสอดคล้องกับงานตนเอง
  13. ใจเย็น/อดทน/สงบ: กว่าเมื่อก่อนป่วยโรคซึมเศร้ามาก เพราะปล่อยวางได้ว่าไม่มีอะไรได้มาดังใจหวังเสมอ
  14. ปลาบปลื้ม/เบิกบานใจ: ที่ได้มีโอกาสทำให้คนที่ทุกข์ได้ผ่อนคลายลงบ้าง
  15. ไว้วางใจ: ได้รับมากจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง ขณะเดียวกันป้าก็ไว้วางใจผู้อื่นมาก เพราะเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของทุกคน
  16. ไม่เห็นแก่ตัว: ป้าจะคิดถึงผู้อื่นเท่าๆกับคิดถึงตนเองเสมอ
  17. มีความสุข: มากเมื่อสามารถทำให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ หรือเขามีความสุขได้ เพราะสอดคล้องกับเป้าหมายชีวิตของป้า (คือต้องการให้ทุกคนพ้นทุกข์)

ความคิด

  1. การเห็นคุณค่าในตนเอง (Self - Esteem): ว่าป้ามีความรู้ความสามารถที่จะเป็นผู้นำรณรงค์ให้สังคมตระหนัก “ภัยเงียบของโรคซึมเศร้าแต่รักษาหายได้ คนใกล้ชิดช่วยได้”
  2. คิดบวก, คิดเป็นเหตุเป็นผล, คิดเป็นระบบ, คิดเป็นกลาง (ปราศจากอคติ): ทำให้กิจกรรมรณรงค์ฯผิดพลาดน้อย
  3. วางแผนทุกงาน: ไม่ว่างานเล็กใหญ่ และจะวางแผนเพื่อบรรลุเป้าของป้า (ทำความดีเพื่อส่วนรวมให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้)
  4. พรหมวิหาร 4
    1. เมตตา: ปรารถนาให้ทุกคนมีความสุข ไม่ว่าจะเป็นใคร
    2. กรุณา: ช่วยเหลือให้ทุกคนพ้นทุกข์ ยินดีช่วยเสมอ
    3. มุทิตา: ยินดีเมื่อใครประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นความสำเร็จเล็ก/ใหญ่
    4. อุเบกขา: ปล่อยวาง เมื่อช่วยเหลือเต็มกำลังแล้ว แต่ช่วยเขาไม่ได้ ป้าก็ไม่ทุกข์ คิดว่าเราทำเต็มที่แล้ว

พฤติกรรม

ป้าสะสมประสบการณ์เรื่องการรับมือกับโรคซึมเศร้า และนำไปทำประโยชน์ต่อส่วนรวมด้วยพฤติกรรม
  1. ภายใน: ที่สงบ , เสถียร , สุขุม
  2. ภายนอก: ที่มีลีลาประกอบเทคนิค/ทักษะ

วิธีดำเนินการ

ทุกชิ้นงาน ป้าจะทำดังนี้
  1. อย่างมีระบบ
  2. รับฟังความคิดเห็นของทีมงาน
  3. ไม่เลือกปฏิบัติ
  4. ถือความเท่าเทียม
  5. เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
  6. คล่องแคล่วในการหาข้อบกพร่อง
  7. แก้ไขปัญหาอย่างรวดเร็วและยั่งยืน

เป้าหมาย

คือทำให้ผู้อื่นมีความสุขมากที่สุด เพื่อป้าจะได้ไปภพหน้าอย่าง “สว่าง”

วิชาการ

ป้าใฝ่รู้ทุกเรื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เป็นประโยชน์กับงานของป้า ป้าจึงมีความรู้ความเข้าใจประเด็นต่างๆ ซึ่งได้มาจากการค้นคว้าเองและกัลยาณมิตรส่งมาให้ ทำให้งานของป้ารอบคอบยิ่งขึ้น

ความก้าวหน้า

ป้ามองภาพงานชัดเจนแน่วแน่ ทีมงานก็มีความเข้าใจเช่นเดียวกัน และจับมือกันเดินหน้าไปอย่างสอดคล้อง

สังคม

ป้ากล้าและมั่นใจในการออกสู่สังคม คบหาสมาคมคนมากขึ้น แม้เดิมจะไม่ได้รู้จักเขาเลย แต่ป้าก็อยากทำความรู้จัก เพราะมั่นใจในความบริสุทธิ์ใจของตนเอง ความปรารถนาดีต่อเพื่อนมนุษย์ทุกคน และเพราะป้าต้องการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ทุกคนในสังคมประจักษ์ตนเอง (Self - Actualization)

เศรษฐกิจ

กิจกรรมของป้าที่ต้องใช้งบประมาณ แต่ป้าไม่ลำบากใจ เพราะไม่ได้รบกวนเงินบำนาญของป้า เนื่องจากกิจกรรมที่ทำบางเรื่องป้าได้ค่าตอบแทน/ค่าเดินทางบ้าง ป้าก็นำเงินส่วนนี้มาใช้ทำกิจกรรมได้และเผอิญป้าเป็นคนประหยัด (ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง) อยู่แล้ว จึงบริหารจัดการจนลงตัวได้

ความเจ็บป่วย

ป้าป่วยเป็นโรคซึมเศร้าปี 2545 ถึงปัจจุบันป้าไม่เคยป่วยซ้ำและจิตไม่ตก (เบื่อ/เศร้า) เพราะกินยาต้านเศร้าตลอดมาและเสริมด้วยความรู้สึกเป็น “ผู้ให้” คิดบวกเสมอ จึงทำให้ป้าสุขตลอดเวลา

อนาคต

ป้าวางแผนงานชัดเจน ป้าจึงมองเห็นชัดว่าจะก้าวไปที่ไหน, เมื่อไร, ทำอะไร, เพื่อวัตถุประสงค์อะไร, ปฏิบัติอย่างไร และป้ามั่นใจในในการก้าวแต่ละก้าวเสมอโดยใช้หลัก PDCA (วางแผน, ปฏิบัติ, ตรวจสอบ, ปฏิบัติต่อ)

ความสุข

ป้าเป็นคนประเภท “สุขนิยม” อะไรที่สร้างความทุกข์/ไม่สบายใจ ป้าจะมองบวกเสมอ เปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส จึงไม่อนุญาตให้วิกฤติใดมาทำร้ายจิตใจของป้าได้เลย แล้วปล่อยวาง ซึ่งบัดนี้ป้าปล่อยวางได้เร็วขึ้นและมากขึ้น

แม้บางครั้งป้าก็ยังมีหงุดหงิด ไม่พอใจ โกรธ ถ้าเกิดรู้สึกลบดังนี้ป้าจะรีบตามความรู้สึกเหล่านี้ (เช่น ถามว่า “ฉันกำลังรู้สึกอย่างไร” แล้วตอบ “ฉันกำลังรู้สึกหงุดหงิด” เป็นต้น) จะทำให้ความรู้สึกลบลดลงไปเองตามธรรมชาติ แล้วเราจะสามารถใช้เหตุผล การตัดสินใจจะดีขึ้น

คนทั่วไปมีภาพของคนที่มีความสุขว่าเป็นคนลักษณะดังนี้
  1. มีอารมณ์ดี
  2. มีชีวิตที่ดี
  3. มีอิสระ และเป็นตัวของตัวเองที่จะทำในสิ่งอยากทำหรือชอบด้วยตัวเอง
  4. ได้รับการยอมรับทั้งเรื่องเรียน/งาน/งานอดิเรก
  5. มีความพึงพอใจในชีวิต
  6. ดำเนินชีวิตลงตัว
  7. มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับผู้อื่นได้ดี
  8. มีกิจกรรมที่พอใจ
  9. คิดถึงการฆ่าตัวตายน้อย
  10. มองโลกในแง่ดี
  11. มีความหวัง
  12. มีเป้าหมายชีวิต
  13. มีกำลังใจ
  14. มีความพร้อมจะเปลี่ยนแปลง
  15. มีความหมายในชีวิต
  16. มีสติตื่นไหลในกิจกรรม
  17. มีเมตตา
ป้าประเมินว่าตนเองมีภาพของคนที่มีความสุขครบทุกข้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อสุดท้าย

ช่วงที่ 4 : ค้นพบตนเอง : พ.ศ. 2567 - หมดลมหายใจ

ถึงช่วงนี้คาดว่าชีวิตของป้าตกผลึกเรียบร้อย เพราะประจักษ์ในตัวตน รู้ว่าตัวเองมีจุดแข็ง-จุดอ่อน, โอกาส - ถูกคุกคาม อะไรอย่างไร ป้าเห็นคุณค่าและภูมิใจในตัวเองว่าสามารถทำประโยชน์ให้มนุษย์ชาติได้อย่างไรให้ได้ใช้ศักยภาพของป้าได้เต็มที่ และมีประสิทธิภาพมากที่สุดเท่าที่ป้าจะทำได้

ระยะเวลาของช่วงนี้สิ้นสุดเมื่อ “หมดลมหายใจ” บ่งบอกแล้วว่าคงเป็นตอนสุดท้าย และเป็นช่วงที่ป้าได้ค้นพบตนเองก่อนจากลา คล้ายเป็นช็อต (shot) สุดท้ายของการเดินทางไปหาหมุดหมายสุดท้ายของชีวิตป้า
 
ผลงานของป้าในช่วงที่แล้ว (ช่วงที่ 3) คือ
  1. ผู้ให้คำปรึกษาด้านจิตสังคมในระบบศาลอาญาธนบุรี, ศาลอาญากรุงเทพใต้, ศาลอาญาตลิ่งชัน
  2. จัด Event กับเครือข่ายความสุขจากโรคซึมเศร้า
  3. Hot Line คลายทุกข์
พอถึง พ.ศ. 2566 (อีก 3 ปี ข้างหน้า) ป้าจะครบวาระการเป็นผู้ให้คำปรึกษาด้านจิตสังคมที่ศาลอาญาตลิ่งชัน ตอนนั้นป้าอายุ 73 ปี ป้าสมควรจะหยุดงานการให้คำปรึกษาทั้ง 3 ศาล เช่นเดียวกับการจัด Event ซึ่งต้องใช้พลังงานมากหลายด้าน ป้าก็สมควรจะหยุดเช่นกัน

ฉะนั้นช่วงที่ 4 นี้ งานที่เหมาะกับป้ามากที่สุดคือ Hot Line ซึ่งป้าไม่ต้องแต่งตัวและเดินทางไปสถานที่ทำงาน/จัดงาน ป้าแค่รับโทรศัพท์ของผู้รับคำปรึกษา (counselee) อยู่ที่บ้าน ใช้ความรู้ ประสบการณ์ และทักษะ/เทคนิคการให้คำปรึกษา ให้เขารับมือกับโรคอย่างมีความสุข/มีที่ยืนในสังคม ป้าก็ยังคงได้ทำความดีตามที่ต้องการ และมีความสุขทุกวินาที ถ้าเกิดอ่อนแรงถึงขนาดนอนติดเตียงก็ยังสามารถรับโทรศัพท์ Hot Line จากผู้ต้องการความช่วยเหลือได้ และขอตั้งปณิธานว่าจะทำ Hot Line จนลมหายใจสุดท้าย

การเป็นผู้ให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ช่วงท้ายชีวิต ป้าคิดว่าคงมีคุณภาพสูงสุด เพราะเป็นผู้ให้คำปรึกษาแก่กล้าวิชามากที่สุดในชีวิต คำพูดในการให้คำปรึกษา จะต้องกลั่นกรองออกมาอย่างเหมาะสมที่สุดกับแต่ละผู้รับคำปรึกษา

กรมสุขภาพจิต auf Twitter: "หลายคนไม่รู้ตัวเองว่าป่วย ถ้ามีความรู้ ...


การให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์

วัตถุประสงค์ของการให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ 3 แบบ

  1. ป้องกันปัญหา (Prevention)
  2. แก้ไขปัญหา (Remedial)
  3. ส่งเสริมการพัฒนาตนเอง (Growth Engendering)

ความหมายของการให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ (Counseling by Telephone)

เป็นกระบวนการที่ให้บริการปรึกษาแก่ผู้รับคำปรึกษา มีการติดต่อ 2 ทาง โดยไม่มีการเผชิญหน้า และใช้เสียงเป็นสื่อในการที่จะช่วยผู้รับคำปรึกษาได้สิ่งต่อไปนี้
  1. พูดคุยถึงปัญหา/ข้อข้องใจ
  2. ระบายความรู้สึก อารมณ์ เรื่องราวต่างๆ ออกมาเป็นคำพูดหรือเสียงที่แสดงความรู้สึก

โดยมีวัตถุประสงค์: ช่วยผู้รับคำปรึกษา ดังนี้

  1. ช่วยลดความกดดันทางอารมณ์
  2. ช่วยทำให้มองเห็น และเลือกตัดสินใจ เลือกทางเลือกในการจัดการกับปัญหา ได้อย่างสมเหตุสมผล
  3. ยอมรับและเข้าใจตนเอง เข้าใจปัญหาและความต้องการของตนเอง
  4. สามารถแก้ไขปัญหาได้ในที่สุด

ความทุกข์ในการขอปรึกษา 3 ระดับ

  1. ความทุกข์ในระดับของความคิด หมายความว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องระดับความคิด, การตัดสินใจมากกว่าความรู้สึก เขาไม่สามารถตัดสินใจเรื่องต่างๆ เช่น กินยาแล้วมีอาการข้างเคียง จะทำอย่างไรดี
  2. ความทุกข์ในระดับของความรู้สึก หมายความว่าปัญหาระดับความรู้สึก มากกว่าความคิด ผู้รับคำปรึกษามีความกดดันทางอารมณ์ลักษณะต่างๆ เช่น เศร้าตลอดเวลา
  3. ความทุกข์ในระดับของพฤติกรรม หมายความว่าปัญหาเป็นเรื่องของพฤติกรรม หรือการกระทำที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข ผู้ให้คำปรึกษาจะเน้นการแก้ไขพฤติกรรมโดยตรง เช่น หยุดร้องไห้ไม่ได้

คุณสมบัติของผู้ให้คำปรึกษา

  1. มีทักษะการสื่อสาร
  2. มีทัศนคติที่ดีต่อผู้รับคำปรึกษา
  3. มีการประยุกต์ใช้เทคนิคการให้คำปรึกษาใช้กับแต่ละเรื่อง

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รู้สึกแย่ดิ่งสุดๆ ทำไงถึงจะหาย

ถามกันบ่อยที่สุดคือกำลังดิ่งจะทำยังไงดี ปัญหาคืออธิบายตอนนั้นก็ไม่มีสติพอจะเข้าใจอยู่ดี ดังนั้นทุกคนควรเรียนรู้เทคนิคนี้ไว้ล่วงหน้า มันมาจากจิตบำบัดแบบ ACT ( defusion ) ซึ่งมีงานวิจัยจำนวนมากว่าได้ผล แล้วนำมาประยุกต์กับ วิธีเจริญสติแบบเคลื่อนไหว ซึ่งเหมาะกับสถานการณ์ช่วงวิกฤติ วิธีทำก็ง่ายมาก จะยากตรงมันตรงข้ามกับคอมมอนเซนส์ เพราะเราเข้าใจธรรมชาติของใจเราผิดมาตลอด แต่ลองทำดูแล้วก็จะเข้าใจเอง เพราะทุกคนที่จัดการมันได้ ต่างก็ค้นพบเทคนิคนี้ได้เองจากการลองผิดลองถูก ความรู้สึกแย่เกิดจาก “ ความคิด”  เสมอ ความรู้สึกแย่ (เช่นโกรธ เสียใจ น้อยใจ กังวล​) เกิดจาก ความคิด ของเรา เสมอ ไม่เคยเกิดจากอย่างอื่น เช่น เขา พูดไม่ดีกับเราเมื่อเย็นวาน ปรากฏตอนนี้เราก็ยังรู้สึกแย่อยู่ ทั้งที่ไม่ได้ยินคำพูดนั้นแล้ว แต่เราเองเป็นคนเล่นซ้ำคำพูดที่เราเกลียดนั้นในหัวเรามาตลอด เขา เป็นต้นเหตุของความคิดนี้ใช่ แต่ ตอนนี้ ที่กำลังรู้สึกแย่ เกิดจาก ความคิดนี้ ของเรา เอง ที่ผ่านมาตอนนั้นเรามักจะโฟกัสความผิดที่ เขา  ซึ่งยิ่งทำให้ความคิดเราวนเวียนหนักขึ้นเรื่อยๆ ความคิดยิ่งมาก ความรู้สึกเราก็ยิ่งแย่ ดิ่งลงไปเร

ลิเธียม ยาดีที่ต้องใช้ให้เป็น

สำหรับคนที่เป็นไบโพลาร์ก็จะได้ทาน ยาคุมอารมณ์ (mood stabilizer) เพื่อจะได้ไม่ต้องมีช่วงแมเนีย และลิเธียมก็คือยาคุมอารมณ์ที่นิยมมากที่สุดตัวหนึ่ง เพราะได้ผลดี, ผ่านมาวิจัยมานานมาก, ราคาถูก และมีส่วนช่วยป้องกันช่วงดีเพรส แต่ลิเธียมเป็นยาที่ใช้ยากนิดนึง เพราะหมอจะต้องค่อยๆปรับยาขึ้นจนกว่าเราจะมียาในเลือดระดับที่พอดี ถ้าน้อยไปมันก็จะไม่ทำงาน ถ้ามากไปก็จะเกิดอาการลิเธียมเป็นพิษ หลายคนที่หมอสั่งลิเธียมให้ พอได้ยินเรื่องลิเธียมเป็นพิษเลยวิตกกังวลหนัก จนความวิตกกังวลนี้กลายเป็นผลข้างเคียงซ้ำซ้อนเข้าไปอีก ดังนั้นคนที่ทานยาตัวนี้จึงต้องเรียนรู้เพิ่มเติมสักนิดนึงเกี่ยวกับมัน บทความข้างล่างนี้มาจากคอลัมน์พบหมอรามา อ่านง่ายและครบถ้วนดี แต่ก่อนอื่นผมจะเกริ่นถึงประเด็นที่ทำให้กังวลกันก่อน ผลเสียจากลิเธียมจะมีอยู่ 2 ลักษณะ ถ้าแยกจากกันได้แล้วจะใช้มันได้อย่างสบายใจ ผลข้างเคียง ​ คือผลเสียในโดสปกติ  อาการลิเธียมเป็นพิษ  คืออาการป่วยเพราะมีลิเธียมในเลือดสูงเกินไป อาจจะเพราะได้ยามากเกินไป (เช่นโอเวอร์โดส) หรือเพราะสภาพร่างกายผิดปกติไปมากทำให้ขาดน้ำหรือเกลือแร่ บางคนเข้าใจว่าตัวเองแพ้ลิเธียม

ท็อป 5 ความเข้าใจผิด โรคซึมเศร้าไม่ใช่อย่างที่คิด

โรคซึมเศร้าเป็นคนละอย่างกับอารมณ์เศร้า แต่ชื่อโรคภาษาไทยชวนให้เข้าใจว่า มันก็แค่ความรู้สึกซึมๆเศร้าๆอย่างที่ทุกคนรู้จัก แถมคำอธิบายเกลื่อนเน็ตก็กว้างซะจน ทุกคนอ่านก็คิดว่าตนเคยเป็นโรคนี้ และสามารถวินิจฉัยว่าคนอื่นว่าเป็นหรือไม่ โดยไม่ต้องเสียเวลาเรียน 10 ปีอย่างจิตแพทย์ แต่โรคซึมเศร้าก็เหมือนหลายโรคที่มีความซับซ้อนจนต้องมีแพทย์เฉพาะทาง มันมีรายละเอียดมากและไม่เหมือนกับที่คนเข้าใจเลย แต่เนื่องจากคนส่วนใหญ่ไม่มีความรู้เรื่องนี้เลย เราจึงรู้สึกว่าเรารู้จักมันดีอยู่แล้วด้วยคอมมอนเซนส์ล้วนๆ ต่อไปนี้คือความเข้าใจที่ผิดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในบ้านเรา (1)  โรคซึมเศร้าไม่มีจริง (2)  ที่เรียกโรคซึมเศร้าก็คือความเศร้า (3)  ฉันก็เคยเป็น แต่ฉันไม่ยอมแพ้ (4)  มันอยู่ที่ใจแค่นั้น สู้ๆ ลุกขึ้นมาก็หายแล้ว (5)  หมอกุเรื่องขึ้นมาเพื่อให้บริษัทยารวย 1 ความเชื่อ: โรคซึมเศร้าไม่มีจริง  โรคจิตเวชจะต้องเสียสติเป็นคนบ้า ความจริง:  องค์การอนามัยโลกบอก ว่า 300 ล้านคนเป็นโรคซึมเศร้า (MDD) นั่นมากกว่า 4% ของประชากรโลก  ส่วนในไทย ปี 2551 กรมสุขภาพจิตประมาณว่ามี คนไทย 1.5 ล้านคน เป็นโรคซึมเศ

เจอปัญหาที่แก้ไม่ได้ทำไงดี

เหมือนชีวิตกำลังเล่นปิงปองกับเรา ตีลูกยากง่ายใส่เราตลอดเวลา เรื่องกวนใจ ปัญหา ความสูญเสีย. บางคนเจอปัญหาแล้วจมอยู่ตรงนั้น ประทัวง “ลูกยากไม่เล่น”. บางคนยากง่ายรับหมดเต็มที่ เจอลูกยากอาจล้มเข่าถลอกแต่รีบลุกเล่นต่อ. ทำได้ไงอะ? ชัยจะต้องพรีเซ็นต์หัวข้อแรกตอนเช้าในงานสัมมนาของผู้บริหารหลายองค์กร. เช้านี้รถติดสาหัส. เขาร้อนใจจึงโทรไปบอกผู้จัดว่ากำลังจะถึง ให้เตรียมที่จอดรถไว้ให้เพราะปกติจะเต็ม. เกือบเฉี่ยวชนหลายหน แต่รถเขาก็ถึงสถานที่ตรงเวลาพอดี. เขาพารถไปโซน VIP ช่องที่มีเลขทะเบียนรถเขา แต่ยามไม่ให้จอด. เหลือเชื่อตัวเลขผิดไปหลักนึง. ยามให้วนขึ้นไปจอดในอาคาร บอกดาดฟ้ามีที่ แต่เขาไม่มีเวลาแล้ว. มันไม่ถูก เขาเถียง ช่องนี้เตรียมไว้ให้เขา ไม่ยุติธรรมเลย. รถข้างหลังต่อแถวยาวขึ้นๆ. เขายิ่งเถียงเสียงดังขึ้นๆ เลขผิดนิดเดียว เขาจอดโซนนี้ประจำ เจ้านายคุณรอเขาอยู่ ฯลฯ แต่ยามไม่ฟัง. ชีวิตเรามีปัญหาตลอด ในชีวิตเราจะพบกับปัญหาที่แก้ไม่ได้ และความเปลี่ยนแปลงที่ไม่ต้องการ อยู่ตลอดเวลา. แต่เราพยายามมองไม่เห็นมัน. ถ้าเรื่องเล็กเราก็แค่สะสมความเครียด. เช่นเวลาหาของไม่เจอ, เพื่อนทำไม่ถูกใจ, โดนดูถูก ฯลฯ. ถ้

จะกินยา หรือไม่กินดี?

โชคดีมากที่ปัจจุบันโรคซึมเศร้าและไบโพลาร์สามารถรักษาได้ด้วยยา คนไข้ที่มีวินัยหาหมอกินยา 6 เดือนถึงปีกว่าส่วนใหญ่ก็จะหายและได้หยุดยา สาเหตุใหญ่ที่ทำให้บางคนไม่หายคือ “ไม่อยากกินยา” จะกินไม่กินดี? เมื่อไม่อยากกินยา แต่หมอสั่งให้กิน เราจะเกิดอาการลังเล “จะกินไม่กินดี?” แล้วลงเอยที่ “กินๆหยุดๆ” ซึ่งแย่กว่าไม่กินเสียอีก สภาวะนี้ทำให้เครียดหนักมาก กินก็รู้สึกแย่ ไม่กินก็อาการแย่ สับสนตำหนิตัวเองวนไปวนมา จะทำยังไงดี?

เป็นโรคจิตเวชไม่ได้ทำให้รอดคดีอาญา

ข่าวดราม่าที่ผู้ก่อเหตุเผยว่าเป็นโรคจิตเวช คนมักจะมองว่า “หงายการ์ดป่วย” โกหกว่าป่วยเพื่อเอาตัวรอด เพราะเข้าใจผิดว่าใครทำให้ศาลเชื่อว่าป่วยจิตเวช แล้วศาลจะให้พ้นผิดไปเลย เนื่องจากสังคมไทยยังเข้าใจผิดว่าผู้ป่วยจิตเวชคือคนบ้า และเชื่อว่ากฎหมายบอกว่าคนบ้าทำอะไรก็ไม่ผิด กรณีแบบนี้คนจึงพากันโกรธแค้นเพราะนึกว่าเขาจะไม่ต้องรับโทษจริงๆ ความเชื่อคนบ้าทำอะไรไม่ผิด เกิดจากคนส่วนใหญ่เห็นข่าวแบบนี้เฉพาะตอนเกิดเหตุเป็นดราม่าว่าอ้างป่วยจิตเวชแล้วทำอะไรก็ไม่ผิด แต่ตอนศาลพิพากษาลงโทษข่าวจะเงียบ ทุกคดีความจำของสังคมจึงสรุปตามดราม่าว่าศาลยกโทษเสมอ ทั้งที่จริงๆแล้วศาลลงโทษทุกที จริงๆกฎหมายอาญาไม่ได้ระบุให้เว้นโทษกับผู้ป่วยโรคใดโรคหนึ่ง  มาตรา 65 บอกว่าเฉพาะกรณีที่ขณะกระทำความผิด จำเลยไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ (ที่เรียกกันว่าวิกลจริต) จึงจะไม่ต้องรับโทษ ดังนั้นเมื่อผู้ก่อเหตุเผยว่าเป็นโรคจิตเวชใดๆก็ยังไม่มีผลอะไร นอกจากจะทำให้สังคมเกลียดเขามากขึ้นจากความเข้าใจผิดข้างต้น การโกหกให้ศาลไทยเชื่อว่าวิกลจริตขณะก่อเหตุ แทบเป็นไปไม่ได้ เพราะนอกจากจะต้องหลอกจิตแพทย์แล้ว ศาลไทยก็ไม่ได้ฟั

ฉันกำลังดีเพรสหรือเปล่า หรือฉันกำลังแมเนีย

เวลาพบหมอ มันสำคัญมากที่เราจะต้องสามารถสื่อสารว่า ช่วงที่ผ่านมาเราอาการเป็นไง สัปดาห์ไหนปกติ สัปดาห์ไหนดีเพรสบ้าง และ (สำหรับไบโพลาร์) สัปดาห์ไหนแมเนียหรือเปล่า. เมื่อเข้าใจโรคเพียงคร่าวๆ คนมักจะคิดว่าดีเพรสคือเศร้านานๆ แมเนียคือรู้สึกดีหรือก้าวร้าวนานๆ ซึ่งถูกเพียงส่วนเดียว. เมื่อเข้าใจนิยามของอาการเหล่านี้ไม่ตรงกับหมอ เวลาเราเล่า หมอก็จะเข้าใจอาการไม่ตรงกันเรา. ผลคือหมอก็จะปรับยาผิด เพราะเข้าใจอาการผิด เช่นเราดีเพรสอย่างเดียวมานานแล้ว แต่วีนแฟนบ่อยเพราะปัญหาชีวิตคู่. เราเล่าอาการทีไรหมอก็คิดว่าแมเนีย เลยให้แต่ยาคุมอารมณ์. ความเข้าใจผิดแบบนี้ทำให้การรักษาไม่คืบหน้า เพราะยาไม่ช่วยให้อาการหายหมดสักที จนบางคนท้อกับการรักษา. เพื่อไม่ให้เกิดปัญหานี้ เราต้องเข้าใจอาการของโรคตรงกับนิยามที่หมอใช้. เมื่อสื่อสารกับหมอได้อย่างมีประสิทธิภาพ การรักษาก็จะก้าวหน้า เราก็จะมีอาการน้อยลง และสามารถใช้ชีวิตปกติได้มากขึ้นเรื่อยๆ.

วอนใช้คำให้ถูก โรคไบโพลาร์ไม่ใช่ที่เห็นในสื่อและละคร

วันนี้ 30 มีนาคม 2561 เป็น วันไบโพลาร์โลก  วันที่เราชวนให้โลกหันมาทำความรู้จักโรคไบโพลาร์¹ เพื่อกำจัดตราบาปในสังคม บ้านเรามีตราบาปโรคนี้ที่ไม่เหมือนที่อื่น เราใช้ชื่อไบโพลาร์เป็นคำด่านักการเมือง หรือคนที่เรากลียดชนิดไม่มีคำไหนสื่อระดับความเลวได้  เพราะหลักสูตรเราไม่ได้สอนเรื่องโรคจิตเวชกับเด็กๆ พอคนเห็นชื่อไบโพลาร์แปลว่าสองขั้ว ก็คิดเอาเองว่าคนป่วยจะเป็นคน ① สองบุคลิก วันนึงเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย ② สองหน้า โกหกพลิกไปมาหน้าตาเฉย ③ เอาแต่ใจ ขี้วีน คุมตัวเองไม่ได้ ④ เสพติดความรุนแรงแบบฆาตกรโรคจิต ซึ่งทั้งหมดอาจจะเป็นโรคจิตเวชก็ได้ แต่เป็นโรคอื่นที่ไม่ได้ใกล้เคียงกับไบโพลาร์สักนิด โรคไบโพลาร์ ในทางการแพทย์คือ ในทางการแพทย์ โรคไบโพลาร์   เป็น โรคทางสมอง ² ที่ทำให้มี บางเดือนเปลี่ยนไปแบบทุกวันหมดพลัง ท้อแท้ (เหมือนโรคซึมเศร้า) บางสัปดาห์/เดือนเปลี่ยนไปแบบทุกวันพลังล้นไฮเปอร์ มั่นใจเกินร้อย ช่วงที่เหลือ (เวลาประมาณ 50%³) ก็ปกติเหมือนตอนก่อนป่วย ความผิดปกติของสมองผู้ป่วยไบโพลาร์ ก็เหมือนคนเป็นไมเกรนไม่ได้ปวดหัวตลอดเวลา เขาจะปวดเฉพาะเวลาอาการกำเริบ สำหรับไบโพลาร์ช่วง 1 และ 2

ถ้าอยากหาย อย่าอยากหายเร็วๆ ให้คิดแบบนี้แทน

โรคเรานั้นรักษาไปก็หาย แต่ความที่มันทรมาน เราก็มักจะอยากหายเร็วๆ แต่มันไม่ใช่แค่หวัดที่จะหายได้ในไม่กี่วัน แม้อาการบางอย่างเช่นนอนไม่หลับอาจจะดีขึ้นเร็ว แต่อาการดีเพรสกว่าจะดีขึ้นก็เป็นเดือน ถ้าเราอยากหายเร็วๆมันจะทรมานสุดๆ จนสุดท้ายบางคนจะยอมแพ้ไปก่อน ฆ่าตัวตาย หรือไม่ก็เลิกรักษา ทั้งที่อาการก็ดีขึ้นแล้ว และถ้ารักษาต่อไปก็จะหายแน่ๆ แต่การรอคอยนั้นทรมานเกินไป ก็เลยหยุดยาเอง แล้วก็ได้พบกับนรกที่แย่กว่าอาการตอนแรกเสียอีก แล้วก็วนกลับมาเริ่มต้นรักษาใหม่ แต่คราวนี้ยาตัวเดิมอาจไม่ได้ผลเหมือนเก่า การรอคอยนั้นทรมานกว่าอาการของโรค ถ้าเรารอคอยนับวันเมื่อไหร่จะหาย แต่ละนาทีจะยาวนานเหมือนเวลาเดินช้ามาก ความทรมานส่วนนี้จะมากกว่าอาการของโรคทีแรกเสียอีก เหมือนไม่ใช่แค่รอคอยเฉยๆ แต่มีไฟลนหัวใจเราไปด้วย โชคร้ายที่เราจะแยกไม่ออกว่า ความเจ็บปวดส่วนไหนคืออาการของโรค ส่วนไหนมาจากการรอคอย ต่อเมื่อเลิกรอคอยแล้วเราจึงจะเห็นกับตา เมื่อความทรมานหายไป แต่มันยากสุดๆที่ใครจะเชื่อว่าการอยากหายนั้นเป็นโทษ เพราะความอยากหายนั้นเป็นคอมมอนเซนส์มากๆ แล้วมันก็เวิร์กในกรณีทั่วไปด้วย “ต้องอยากได้อันนั้นสิ ถึงจ