ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ท็อป 5 ความเข้าใจผิด โรคซึมเศร้าไม่ใช่อย่างที่คิด

โรคซึมเศร้าเป็นคนละอย่างกับอารมณ์เศร้า แต่ชื่อโรคภาษาไทยชวนให้เข้าใจว่า มันก็แค่ความรู้สึกซึมๆเศร้าๆอย่างที่ทุกคนรู้จัก แถมคำอธิบายเกลื่อนเน็ตก็กว้างซะจน ทุกคนอ่านก็คิดว่าตนเคยเป็นโรคนี้ และสามารถวินิจฉัยว่าคนอื่นว่าเป็นหรือไม่ โดยไม่ต้องเสียเวลาเรียน 10 ปีอย่างจิตแพทย์



แต่โรคซึมเศร้าก็เหมือนหลายโรคที่มีความซับซ้อนจนต้องมีแพทย์เฉพาะทาง มันมีรายละเอียดมากและไม่เหมือนกับที่คนเข้าใจเลย แต่เนื่องจากคนส่วนใหญ่ไม่มีความรู้เรื่องนี้เลย เราจึงรู้สึกว่าเรารู้จักมันดีอยู่แล้วด้วยคอมมอนเซนส์ล้วนๆ ต่อไปนี้คือความเข้าใจที่ผิดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในบ้านเรา

1

ความเชื่อ: โรคซึมเศร้าไม่มีจริง โรคจิตเวชจะต้องเสียสติเป็นคนบ้า
ความจริง: องค์การอนามัยโลกบอกว่า 300 ล้านคนเป็นโรคซึมเศร้า (MDD)

นั่นมากกว่า 4% ของประชากรโลก ส่วนในไทย ปี 2551 กรมสุขภาพจิตประมาณว่ามีคนไทย 1.5 ล้านคนเป็นโรคซึมเศร้า นั่นคือราว 3% ของประชากรไทย

ถ้าไม่เชื่อว่าโรคซึมเศร้ามีจริง ก็เท่ากับปฏิเสธคนป่วย 300 ล้านคนทั่วโลก และคนไทย 1.5 ล้านคน ว่าพวกเค้าไม่ได้ป่วยเป็นอะไร รวมทั้งปฏิเสธรัฐบาล องค์การอนามัยโลก รวมทั้งหมอและนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกที่เห็นตรงกันว่าโรคซึมเศร้าเป็นโรคชนิดนึง ไม่ใช่แค่คนอ่อนแอหรือขี้เกียจ


ทำไมคนคิดว่าโรคซึมเศร้าไม่มีจริง

เพราะมันไม่ได้สอนในโรงเรียน คนส่วนใหญ่จะเชื่อสิ่งที่เรียนในโรงเรียน แม้บางครั้งมีความรู้ใหม่จากการค้นพบของนักวิทยาศาสตร์ ก็เปลี่ยนความเชื่อที่โปรแกรมมาตอนเด็กๆได้ยาก และเนื่องจากหลักสูตรเก่าไม่ได้สอนเรื่องโรคจิตเวชเลย ประกอบกับเป็นโรคที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า (ต้องเอ็กซเรย์สมองจึงจะเห็น) คนจึงไม่เชื่อว่ามันมีจริง

โชคดีที่หลักสูตรใหม่เพิ่งเพิ่มเรื่องนี้เข้าไปในชั้น ม.2 แปลว่าอีกสัก 20 ปี ปัญหานี้คงจะเริ่มดีขึ้น ส่วนผู้ใหญ่ที่โตมากับหลักสูตรเก่า คงต้องเปิดใจและเรียนรู้กันด้วยตัวเอง

2

ความเชื่อ: ที่เรียกโรคซึมเศร้าก็คือความเศร้า
ความจริง: ความเศร้าเป็นอารมณ์ โรคซึมเศร้าเป็นโรคจิตเวช

โชคร้ายชื่อภาษาไทยโรคซึมเศร้า” (major depressive disorder – MDD) ทำให้เราตีความเอาเองว่ามันก็คือ ความเศร้า (sadness) ไม่งั้นเค้าคงไม่ตั้งชื่อว่าโรคซึมเศร้าใช่ไหม พอเราตีความแบบนี้ เราก็เลยงงเองว่าความเศร้ามันจะเป็นโรคได้ไง ในเมื่อทุกคนก็จะต้องเคยเศร้า ซึ่งก็เป็นความเข้าใจที่ถูกต้องแล้ว เพราะ

ความเศร้าไม่ใช่โรค

คราวนี้พอผู้ป่วยที่เราเข้าใจว่าแค่เศร้า ดันไม่ยอมหายสักที เราก็ยิ่งงงเป็นไก่ตาแตก เพราะปกติความเศร้าจะหายได้เองเสมอ แต่ทำไมเค้าไม่หาย เป็นเดือนแล้วก็ยังลุกไม่ไหว จะเป็นไปได้ยังไง! ใครๆเศร้าก็หายกันทั้งนั้น ซึ่งก็เป็นความเข้าใจที่ถูกต้องอีกแหละ เพราะ

ความเศร้าจะหายไปเองเสมอ

เป็นไปไม่ได้ที่ใครจะเศร้า (ไม่ได้ป่วย) ต่อเนื่องทุกวันนานหลายสัปดาห์/เดือนไม่ยอมหาย แต่ทำไมเค้าไม่หาย? คำตอบง่ายนิดเดียว

แสดงว่าเค้าไม่ได้แค่เศร้าไง

เค้าเป็นโรคลึกลับที่เราบางคนไม่เชื่อว่ามีอยู่ในโลก โรคชื่อ MDD ที่ทำให้เค้าไร้พลังชีวิตทุกวัน นานหลายสัปดาห์/เดือน ยิ่งไปกว่านั้น มันยังตรงข้ามกับที่คนเข้าใจ

เค้าไม่จำเป็นต้องเศร้าด้วยซ้ำไป

ช่วงที่เค้ามีอาการ (จะเรียกว่าอาการดีเพรส “clinical depression” แทนที่จะเรียกว่าอาการซึมเศร้า จะได้ไม่งง) เค้าจะหมดแรง ไม่อยากได้ ไม่อยากทำอะไรเลย บางคนไม่มีความรู้สึกอะไรเลย มึนชา ว่างเปล่า บางคนเฉยเมย บางคนหงุดหงิด บางคนท้อแท้เหมือนไม่มีอนาคต บางคนอาจจะเศร้า แต่ก็ไม่ได้เศร้าตลอดเวลา

ยิ่งตอนเจอเรา เค้ามักจะฝืนยิ้ม

เจอเรา เค้ามักจะฝีนตัวเองเพื่อคุยกับเรา ทั้งที่อยากอยู่คนเดียวใจจะขาด แต่ต้องฝืนเพื่อซ่อนไม่ให้เรารู้ว่าเค้าผิดปกติ เพราะถ้าใครรู้ว่าเค้าป่วย เค้าจะถูกมองว่า (1) คิดไปเอง หรือไม่ก็ (2) บ้า ซึ่งแย่ทั้งขึ้นทั้งล่อง แต่

ยิ่งฝืนทำตัวปกติ พอบอกว่าป่วย คนยิ่งไม่เชื่อ

เพราะคนเชื่อกันว่า ผู้ป่วยจิตเวชจะต้องไม่รู้ว่าตัวเองป่วย คนที่บอกว่าตัวเองป่วยแสดงว่าไม่ได้ป่วย ซึ่งจะเป็นจริงเฉพาะผู้ป่วยโรคจิตเภท (สกิตโซฟรีเนีย) ระดับรุนแรงเท่านั้น ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะรู้ตัวว่าตัวเองไม่ปกติ อยากหาย แต่ใจอาจไม่ค่อยอยากยอมรับว่าตัวเองป่วย เพราะโรคนี้มีตราบาปรุนแรงมาก จนหมอวินิจฉัยแล้วก็ไม่ค่อยอยากบอกใครนอกจากจะจำเป็น

อีกความเชื่อคือ โรคซึมเศร้าก็ต้องเศร้าตลอดเวลา ซึ่งตีความมาจากชื่อโรคซึมเศร้าอีกนั่นแหละ เราจึงน่าจะหันมาใช้ชื่อ MDD (เอ็มดีดี) แทน ทำนองเดียวกับชื่อโรคเอสแอลอี เพราะคนจะได้ไม่ตีความจากชื่อโรค แล้วคิดเอาเองอย่างมั่นใจว่ามันคืออะไร ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะฝืนคุยยิ้มหัวเราะก็ได้ แต่เค้าไม่สนุกเลย และพยายามเลี่ยงโอกาสแบบนั้นสุดชีวิต เราจึงชวนเค้าทำกิจกรรมอะไรยากมาก

3

ความเชื่อ: ฉันก็เคยเป็น แต่ฉันไม่ยอมแพ้
ความจริง: ตลอดชีวิตคนปกติจะไม่เคยเจอมันเลย

ความเชื่อนี้เกิดจากเวลาอ่านข้อมูล MDD ในเน็ต ทุกคนจะรู้สึกว่าตัวเองก็เคยเป็น เพราะคำอธิบายต้องใช้ศัพท์ง่ายๆ มันจึงพูดกว้างๆ จนถ้าเอาตามนั้น ทุกคนในโลกล้วนเคยเป็นโรคซึมเศร้า

สาเหตุที่ทำให้คนอ่านเข้าใจผิด คือข้อมูลขาดหรืออ่านตกไป 2 เกณฑ์สำคัญ (1) เป็นมากจนทำงานหรือกิจวัตรประจำวันแทบไม่ได้ (2) เป็นงั้นติดต่อกันทุกวันนาน 2 สัปดาห์ขึ้นไป ถ้าเราพิจารณา 2 เกณฑ์นี้ ก็จะพบว่ามันไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆ มีคนแค่ 3-4% เท่านั้นที่โชคร้ายพอจะได้เจอ



จิตแพทย์ไม่ได้ใช้เกณฑ์ง่ายๆอย่างที่เห็น แต่วินิจฉัยด้วยกระบวนการที่ซับซ้อน ผ่านการวิจัยปรับปรุงมาหลายสิบปี คนทั่วไปไม่สามารถวินิจฉัยโรคกันเองได้อยู่แล้ว ถ้าคนที่เรารักสงสัยว่าตัวเองป่วย ก็ต้องพาเค้าไปหาหมอ แต่แม้เค้าหาหมอแล้วได้รับคำวินิจฉัยเป็น MDD หลายคนจะยังคงวินิจฉัยเค้าด้วยคอมมอนเซนส์ต่อไปว่าไม่ใช่หรอก หมอเข้าใจผิด เพราะเชื่อว่าตัวเองรู้จักโรคนี้ดี แต่อันที่จริง

คนที่ไม่เคยเป็นจะนึกภาพโรคนี้ไม่ออกเลย

เอ เราเชื่อกันไหมว่ามีสภาวะจิตใจที่คนทั่วไปนึกภาพไม่ออกเลย? คนที่ไม่เคยเมาเหล้า นึกสภาวะจิตใจคนเมาออกไหม? แล้วคนเมากัญชาล่ะ? แล้วเฮโรอีน ยาอี ยาเคล่ะ? เรานึกสภาวะจิตใจคนที่ถูกข่มขืนออกไหม? หรือคนที่กำลังจะถูกประหาร? หรือคนที่เพิ่งพบว่าตัวเองถูกรางวัลที่หนึ่ง? อะไรแบบนี้ถ้าไม่เคยเจอกับตัวเอง ก็จะนึกภาพไม่ออกใช่ไหม

อาการดีเพรสของ MDD ก็เช่นเดียวกัน มันเจ็บปวด แต่มันไม่ใช่ความเศร้าธรรมดาๆ แต่เค้าจะอธิบายยังไงให้เราเข้าใจได้เรื่องแบบนี้ได้ เหมือนนกพยายามเล่าเรื่องฟ้าให้ปลาฟัง เท่าที่เราจะพอทำความเข้าใจเค้าได้คือยอมรับว่า เราไม่มีทางนึกความรู้สึกนั้นออก และมันเป็น

ความทุกข์เจ็บปวดใจสุดๆเกือบตลอดเวลา 

เหมือนคนเป็นแผลฉกรรจ์ แต่แผลนี้อยู่ที่ใจ หรือพูดให้ถูกคือแผลอยู่ที่สมอง (เอ็กซเรย์ก็จะเห็นว่าสมองเค้าผิดปกติ) และมันเจ็บยิ่งกว่าเอามีดกรีดตามตัวหลายเท่า นั่นทำให้เค้าบางคนใช้วิธีทำร้ายตัวเองเพื่อเบี่ยงเบนความเจ็บปวดไปที่กาย เพราะเจ็บกายมันน้อยกว่าเจ็บเพราะดีเพรสมาก นั่นทำให้เค้าบางคนฆ่าตัวตาย เพราะทนความเจ็บปวดที่เรามองไม่เห็นนั้นไม่ไหวแล้ว

ก็เหมือนผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายบางคนฆ่าตัวตายด้วยเหตุผลเดียวกัน เค้าไม่ได้คิดสั้น เค้าไม่ได้อยากตาย แต่เค้าอยากหายเจ็บ ลองนึกภาพว่าเราเป็นโรคที่ปวดหัวมาก ปวดตลอดเวลามาหลายเดือน ถ้าเราเชื่อว่าโรคนี้รักษาไม่หาย เราจะต้องปวดงี้ตลอดไป เราก็อาจอยากฆ่าตัวตายเหมือนกันหรือเปล่า?

4

ความเชื่อ: มันอยู่ที่ใจแค่นั้น สู้ๆ ลุกขึ้นมาก็หายแล้ว
ความจริง: MDD มันอยู่ที่สมอง เค้าอยากออกแต่ออกมาไม่ได้

เอ็กซเรย์ PET scan สมองคนที่กำลังดีเพรส (ซ้าย) และปกติ (ขวา)
เพราะมันไม่ได้อยู่ที่ใจแค่นั้น MDD เป็นโรคทางสมอง เมื่อเอ็กซเรย์ก็จะเห็นว่าสมองเค้ามีบางอย่างผิดปกติไป แล้ว MDD ยังถ่ายทอดทางพันธุกรรมด้วย ผู้ป่วยมักจะมีญาติฝั่งพ่อหรือแม่ป่วยโรคกลุ่มเดียวกัน แม้แฝดที่ยีนส์เหมือนกัน 100% แต่เลี้ยงโดยพ่อแม่คนละครอบครัว ก็มีโอกาสเป็นโรคเหมือนกันถึง 67% ดูเหมือนจะมียีนส์ส่วนนึงที่ทำให้เค้ามีแนวโน้มที่จะเป็น MDD ได้ ดังจะเห็นว่าบางคนเป็นขึ้นมาโดยไม่ได้มีอุปสรรคอะไร อยู่ดีๆก็ดีเพรสครั้งแรกขึ้นมาเอง

แต่บางคนมีอุปสรรคกระตุ้นให้เค้าป่วย ก็เลยทำให้คนรอบตัวเข้าใจว่า สาเหตุทั้งหมดก็คือตัวอุปสรรคนั้น แล้วพออุปสรรคผ่านไปแล้ว เค้าก็ยังไม่หาย ทุกคนก็เลยงงกันไปตามๆกัน

เพราะอันที่จริงตอนนี้ปัญหาไม่ได้อยู่ตรงนั้นแล้ว ปัญหาคือตอนนี้เค้าล้มป่วยเป็นโรค MDD ไปเสียแล้ว อุปสรรคนั้นเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เค้าป่วย (ประกอบกับสาเหตุอื่นเช่นพันธุกรรม) ก็เหมือนการที่ตากฝน (ประกอบกับภูมิคุ้มกันต่ำ) ทำให้เค้าเป็นหวัด ก็จะไม่มีใครสงสัยว่าทำไมไม่ได้ตากฝนแล้ว เค้ายังไอจามน้ำมูกไหลอยู่อีก เพราะทุกคนเชื่อว่าโรคหวัดมีจริง แต่

คนที่ไม่เชื่อว่าโรค MDD มีจริง ก็จะไม่มีทางเข้าใจที่เค้ายังไม่หายดีเพรสสักที

5

โต ซิลลี่ฟูลส์ — ❝โรคซึมเศร้า มันไม่ใช่โรค เพราะการแพทย์จะขายยา และจะมีเงินกับการแก้ปัญหาโดยการเอายาที่กดประสาท หรือคลายประสาท หรือทำอะไรก็แล้วแต่ให้สภาพจิตใจหรือความคิดเราผิดปกติจากเดิม ความจริงคือ เรามีปัญหาทางด้านความคิด❞

ความเชื่อ: หมอและนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกกุเรื่องขึ้นมาเพื่อให้บริษัทยารวย
ความจริง: เป็นไปไม่ได้ที่จะให้คนนับล้านและทุกรัฐบาลโกหกตรงกัน

ถ้าจะเชื่อทฤษฎีสมคบคิดนี้ ก็แปลว่าหมอทุกคนโกหก เพราะถ้าเราไปถามหมอคนไหนก็ได้เรื่องนี้ ทุกคนก็จะตอบตรงกันว่า MDD มีจริง รวมทั้งรัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุขของทุกประเทศด้วย

หมอตามโรงพยาบาลมีรายได้จากค่าหมอ ไม่ได้มีรายได้ที่ขึ้นกับยาที่สั่ง ดังนั้นหมอจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องช่วยให้บริษัทยาขายดี แล้วถ้าเราเชื่อว่าหมอทั้งวงการสามารถโกหกเรื่องโรคซึมเศร้า เราจะรู้ได้ไงว่าโรคที่เหลือทั้งหมด หมอรักษาเราอย่างตรงไปตรงมา ไม่เอื้อให้บริษัทยาขายดีเหมือนกัน เราจะเชื่อได้ไงว่าโรคอื่นๆมีจริง และเราหายเพราะยาเหล่านั้นจริงๆ



ทฤษฎีสมคบคิดนั้นสนุกคิด เพราะมันช่วยให้เรารู้สึกว่าตัวเองเหนือกว่าฉลาดกว่าคนอื่นที่ไม่เชื่อ แต่การเชื่อทฤษฎีสมคบคิดอันนี้ หมายถึงเราต้องเลิกเชื่อใจหมอทุกคนไปด้วย เอางี้ ถ้าเชื่อใจหมอคนไหนก็ถามเค้าเรื่อง MDD แล้วหลังจากนั้น เราก็จะไปรักษากับเค้าไม่ได้อีก เพราะเค้าไม่โกหกก็ต้องโง่เกินไป

ความเชื่อ

มันแทบเป็นไปไม่ได้ที่ใครจะเปลี่ยนความเชื่อใคร บทความนี้ก็ได้แค่ให้เหตุผลและมุมมองทางวิทยาศาสตร์สำหรับความเชื่อผิดๆเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า (ซึ่งก็จริงสำหรับโรคไบโพลาร์ด้วย แต่ไบโพลาร์ยังมีเพิ่มอีก) ยังมีประเด็นหรือข้อถกเถียงอื่นอีกไหม? ถ้ามีก็เมนต์คุยกันข้างล่างเลย ถ้ามีข้อผิดพลาดก็แจ้งด้วย ถ้าอยากให้ใครๆได้อ่านก็แชร์กันเลย ถ้าชอบเนื้อหาแบบนี้ก็ติดตามได้ที่เพจและกรุ๊ปของเรา

เราเชื่อว่ามีโรคทางสมองที่ทำให้ความจำเสื่อม (อัลไซเมอร์) เราเชื่อว่ามีโรคทางสมองที่มีปัญหาในการเข้าใจมุมมองคนอื่น (ออทิสติก) เราจะเชื่อได้ไหมว่ามีโรคทางสมองที่ทำให้คนป่วยหมดพลังชีวิต และเมื่อรักษาก็จะกลับมาใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติ

ให้โอกาสกับการแพทย์

เวลาคุณหรือคนที่คุณรักเป็นโรคนี้ มันอาจจะต้องใช้กำลังศรัทธาอย่างมาก (มากกว่าความเชื่อเรื่องผีหรือดวง) เพื่อที่จะเชื่อว่าโรค MDD มีจริง เพราะโรคนี้มีตราบาปจากสังคมหนักมาก ขนาดมีความเชื่อว่าคนอยากเป็นเพราะรู้สึกเท่ แต่ไม่เชื่อก็อย่าเพิ่งลบหลู่ อย่าเพิ่งฟันธงว่าไม่จริง ให้โอกาสกับวิทยาศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่ ลองพาเค้า (หรือตัวเอง) ไปคุยกับหมอก่อน ไม่เสียหายอะไรเลย (บัตรทองและประกันสังคมรักษาฟรี)

แล้ววันนึงในอนาคต คุณอาจจะขอบคุณการตัดสินใจครั้งนี้ของตัวเอง เหมือน 2 ชีวิตจริงในคลิปนี้

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รู้สึกแย่ดิ่งสุดๆ ทำไงถึงจะหาย

ถามกันบ่อยที่สุดคือกำลังดิ่งจะทำยังไงดี ปัญหาคืออธิบายตอนนั้นก็ไม่มีสติพอจะเข้าใจอยู่ดี ดังนั้นทุกคนควรเรียนรู้เทคนิคนี้ไว้ล่วงหน้า มันมาจากจิตบำบัดแบบ ACT ( defusion ) ซึ่งมีงานวิจัยจำนวนมากว่าได้ผล แล้วนำมาประยุกต์กับ วิธีเจริญสติแบบเคลื่อนไหว ซึ่งเหมาะกับสถานการณ์ช่วงวิกฤติ วิธีทำก็ง่ายมาก จะยากตรงมันตรงข้ามกับคอมมอนเซนส์ เพราะเราเข้าใจธรรมชาติของใจเราผิดมาตลอด แต่ลองทำดูแล้วก็จะเข้าใจเอง เพราะทุกคนที่จัดการมันได้ ต่างก็ค้นพบเทคนิคนี้ได้เองจากการลองผิดลองถูก ความรู้สึกแย่เกิดจาก “ ความคิด”  เสมอ ความรู้สึกแย่ (เช่นโกรธ เสียใจ น้อยใจ กังวล​) เกิดจาก ความคิด ของเรา เสมอ ไม่เคยเกิดจากอย่างอื่น เช่น เขา พูดไม่ดีกับเราเมื่อเย็นวาน ปรากฏตอนนี้เราก็ยังรู้สึกแย่อยู่ ทั้งที่ไม่ได้ยินคำพูดนั้นแล้ว แต่เราเองเป็นคนเล่นซ้ำคำพูดที่เราเกลียดนั้นในหัวเรามาตลอด เขา เป็นต้นเหตุของความคิดนี้ใช่ แต่ ตอนนี้ ที่กำลังรู้สึกแย่ เกิดจาก ความคิดนี้ ของเรา เอง ที่ผ่านมาตอนนั้นเรามักจะโฟกัสความผิดที่ เขา  ซึ่งยิ่งทำให้ความคิดเราวนเวียนหนักขึ้นเรื่อยๆ ความคิดยิ่งมาก ความรู้สึกเราก็ยิ่งแย่ ดิ่งลงไปเร

ลิเธียม ยาดีที่ต้องใช้ให้เป็น

สำหรับคนที่เป็นไบโพลาร์ก็จะได้ทาน ยาคุมอารมณ์ (mood stabilizer) เพื่อจะได้ไม่ต้องมีช่วงแมเนีย และลิเธียมก็คือยาคุมอารมณ์ที่นิยมมากที่สุดตัวหนึ่ง เพราะได้ผลดี, ผ่านมาวิจัยมานานมาก, ราคาถูก และมีส่วนช่วยป้องกันช่วงดีเพรส แต่ลิเธียมเป็นยาที่ใช้ยากนิดนึง เพราะหมอจะต้องค่อยๆปรับยาขึ้นจนกว่าเราจะมียาในเลือดระดับที่พอดี ถ้าน้อยไปมันก็จะไม่ทำงาน ถ้ามากไปก็จะเกิดอาการลิเธียมเป็นพิษ หลายคนที่หมอสั่งลิเธียมให้ พอได้ยินเรื่องลิเธียมเป็นพิษเลยวิตกกังวลหนัก จนความวิตกกังวลนี้กลายเป็นผลข้างเคียงซ้ำซ้อนเข้าไปอีก ดังนั้นคนที่ทานยาตัวนี้จึงต้องเรียนรู้เพิ่มเติมสักนิดนึงเกี่ยวกับมัน บทความข้างล่างนี้มาจากคอลัมน์พบหมอรามา อ่านง่ายและครบถ้วนดี แต่ก่อนอื่นผมจะเกริ่นถึงประเด็นที่ทำให้กังวลกันก่อน ผลเสียจากลิเธียมจะมีอยู่ 2 ลักษณะ ถ้าแยกจากกันได้แล้วจะใช้มันได้อย่างสบายใจ ผลข้างเคียง ​ คือผลเสียในโดสปกติ  อาการลิเธียมเป็นพิษ  คืออาการป่วยเพราะมีลิเธียมในเลือดสูงเกินไป อาจจะเพราะได้ยามากเกินไป (เช่นโอเวอร์โดส) หรือเพราะสภาพร่างกายผิดปกติไปมากทำให้ขาดน้ำหรือเกลือแร่ บางคนเข้าใจว่าตัวเองแพ้ลิเธียม

เจอปัญหาที่แก้ไม่ได้ทำไงดี

เหมือนชีวิตกำลังเล่นปิงปองกับเรา ตีลูกยากง่ายใส่เราตลอดเวลา เรื่องกวนใจ ปัญหา ความสูญเสีย. บางคนเจอปัญหาแล้วจมอยู่ตรงนั้น ประทัวง “ลูกยากไม่เล่น”. บางคนยากง่ายรับหมดเต็มที่ เจอลูกยากอาจล้มเข่าถลอกแต่รีบลุกเล่นต่อ. ทำได้ไงอะ? ชัยจะต้องพรีเซ็นต์หัวข้อแรกตอนเช้าในงานสัมมนาของผู้บริหารหลายองค์กร. เช้านี้รถติดสาหัส. เขาร้อนใจจึงโทรไปบอกผู้จัดว่ากำลังจะถึง ให้เตรียมที่จอดรถไว้ให้เพราะปกติจะเต็ม. เกือบเฉี่ยวชนหลายหน แต่รถเขาก็ถึงสถานที่ตรงเวลาพอดี. เขาพารถไปโซน VIP ช่องที่มีเลขทะเบียนรถเขา แต่ยามไม่ให้จอด. เหลือเชื่อตัวเลขผิดไปหลักนึง. ยามให้วนขึ้นไปจอดในอาคาร บอกดาดฟ้ามีที่ แต่เขาไม่มีเวลาแล้ว. มันไม่ถูก เขาเถียง ช่องนี้เตรียมไว้ให้เขา ไม่ยุติธรรมเลย. รถข้างหลังต่อแถวยาวขึ้นๆ. เขายิ่งเถียงเสียงดังขึ้นๆ เลขผิดนิดเดียว เขาจอดโซนนี้ประจำ เจ้านายคุณรอเขาอยู่ ฯลฯ แต่ยามไม่ฟัง. ชีวิตเรามีปัญหาตลอด ในชีวิตเราจะพบกับปัญหาที่แก้ไม่ได้ และความเปลี่ยนแปลงที่ไม่ต้องการ อยู่ตลอดเวลา. แต่เราพยายามมองไม่เห็นมัน. ถ้าเรื่องเล็กเราก็แค่สะสมความเครียด. เช่นเวลาหาของไม่เจอ, เพื่อนทำไม่ถูกใจ, โดนดูถูก ฯลฯ. ถ้

จะกินยา หรือไม่กินดี?

โชคดีมากที่ปัจจุบันโรคซึมเศร้าและไบโพลาร์สามารถรักษาได้ด้วยยา คนไข้ที่มีวินัยหาหมอกินยา 6 เดือนถึงปีกว่าส่วนใหญ่ก็จะหายและได้หยุดยา สาเหตุใหญ่ที่ทำให้บางคนไม่หายคือ “ไม่อยากกินยา” จะกินไม่กินดี? เมื่อไม่อยากกินยา แต่หมอสั่งให้กิน เราจะเกิดอาการลังเล “จะกินไม่กินดี?” แล้วลงเอยที่ “กินๆหยุดๆ” ซึ่งแย่กว่าไม่กินเสียอีก สภาวะนี้ทำให้เครียดหนักมาก กินก็รู้สึกแย่ ไม่กินก็อาการแย่ สับสนตำหนิตัวเองวนไปวนมา จะทำยังไงดี?

เป็นโรคจิตเวชไม่ได้ทำให้รอดคดีอาญา

ข่าวดราม่าที่ผู้ก่อเหตุเผยว่าเป็นโรคจิตเวช คนมักจะมองว่า “หงายการ์ดป่วย” โกหกว่าป่วยเพื่อเอาตัวรอด เพราะเข้าใจผิดว่าใครทำให้ศาลเชื่อว่าป่วยจิตเวช แล้วศาลจะให้พ้นผิดไปเลย เนื่องจากสังคมไทยยังเข้าใจผิดว่าผู้ป่วยจิตเวชคือคนบ้า และเชื่อว่ากฎหมายบอกว่าคนบ้าทำอะไรก็ไม่ผิด กรณีแบบนี้คนจึงพากันโกรธแค้นเพราะนึกว่าเขาจะไม่ต้องรับโทษจริงๆ ความเชื่อคนบ้าทำอะไรไม่ผิด เกิดจากคนส่วนใหญ่เห็นข่าวแบบนี้เฉพาะตอนเกิดเหตุเป็นดราม่าว่าอ้างป่วยจิตเวชแล้วทำอะไรก็ไม่ผิด แต่ตอนศาลพิพากษาลงโทษข่าวจะเงียบ ทุกคดีความจำของสังคมจึงสรุปตามดราม่าว่าศาลยกโทษเสมอ ทั้งที่จริงๆแล้วศาลลงโทษทุกที จริงๆกฎหมายอาญาไม่ได้ระบุให้เว้นโทษกับผู้ป่วยโรคใดโรคหนึ่ง  มาตรา 65 บอกว่าเฉพาะกรณีที่ขณะกระทำความผิด จำเลยไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ (ที่เรียกกันว่าวิกลจริต) จึงจะไม่ต้องรับโทษ ดังนั้นเมื่อผู้ก่อเหตุเผยว่าเป็นโรคจิตเวชใดๆก็ยังไม่มีผลอะไร นอกจากจะทำให้สังคมเกลียดเขามากขึ้นจากความเข้าใจผิดข้างต้น การโกหกให้ศาลไทยเชื่อว่าวิกลจริตขณะก่อเหตุ แทบเป็นไปไม่ได้ เพราะนอกจากจะต้องหลอกจิตแพทย์แล้ว ศาลไทยก็ไม่ได้ฟั

ฉันกำลังดีเพรสหรือเปล่า หรือฉันกำลังแมเนีย

เวลาพบหมอ มันสำคัญมากที่เราจะต้องสามารถสื่อสารว่า ช่วงที่ผ่านมาเราอาการเป็นไง สัปดาห์ไหนปกติ สัปดาห์ไหนดีเพรสบ้าง และ (สำหรับไบโพลาร์) สัปดาห์ไหนแมเนียหรือเปล่า. เมื่อเข้าใจโรคเพียงคร่าวๆ คนมักจะคิดว่าดีเพรสคือเศร้านานๆ แมเนียคือรู้สึกดีหรือก้าวร้าวนานๆ ซึ่งถูกเพียงส่วนเดียว. เมื่อเข้าใจนิยามของอาการเหล่านี้ไม่ตรงกับหมอ เวลาเราเล่า หมอก็จะเข้าใจอาการไม่ตรงกันเรา. ผลคือหมอก็จะปรับยาผิด เพราะเข้าใจอาการผิด เช่นเราดีเพรสอย่างเดียวมานานแล้ว แต่วีนแฟนบ่อยเพราะปัญหาชีวิตคู่. เราเล่าอาการทีไรหมอก็คิดว่าแมเนีย เลยให้แต่ยาคุมอารมณ์. ความเข้าใจผิดแบบนี้ทำให้การรักษาไม่คืบหน้า เพราะยาไม่ช่วยให้อาการหายหมดสักที จนบางคนท้อกับการรักษา. เพื่อไม่ให้เกิดปัญหานี้ เราต้องเข้าใจอาการของโรคตรงกับนิยามที่หมอใช้. เมื่อสื่อสารกับหมอได้อย่างมีประสิทธิภาพ การรักษาก็จะก้าวหน้า เราก็จะมีอาการน้อยลง และสามารถใช้ชีวิตปกติได้มากขึ้นเรื่อยๆ.

วอนใช้คำให้ถูก โรคไบโพลาร์ไม่ใช่ที่เห็นในสื่อและละคร

วันนี้ 30 มีนาคม 2561 เป็น วันไบโพลาร์โลก  วันที่เราชวนให้โลกหันมาทำความรู้จักโรคไบโพลาร์¹ เพื่อกำจัดตราบาปในสังคม บ้านเรามีตราบาปโรคนี้ที่ไม่เหมือนที่อื่น เราใช้ชื่อไบโพลาร์เป็นคำด่านักการเมือง หรือคนที่เรากลียดชนิดไม่มีคำไหนสื่อระดับความเลวได้  เพราะหลักสูตรเราไม่ได้สอนเรื่องโรคจิตเวชกับเด็กๆ พอคนเห็นชื่อไบโพลาร์แปลว่าสองขั้ว ก็คิดเอาเองว่าคนป่วยจะเป็นคน ① สองบุคลิก วันนึงเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย ② สองหน้า โกหกพลิกไปมาหน้าตาเฉย ③ เอาแต่ใจ ขี้วีน คุมตัวเองไม่ได้ ④ เสพติดความรุนแรงแบบฆาตกรโรคจิต ซึ่งทั้งหมดอาจจะเป็นโรคจิตเวชก็ได้ แต่เป็นโรคอื่นที่ไม่ได้ใกล้เคียงกับไบโพลาร์สักนิด โรคไบโพลาร์ ในทางการแพทย์คือ ในทางการแพทย์ โรคไบโพลาร์   เป็น โรคทางสมอง ² ที่ทำให้มี บางเดือนเปลี่ยนไปแบบทุกวันหมดพลัง ท้อแท้ (เหมือนโรคซึมเศร้า) บางสัปดาห์/เดือนเปลี่ยนไปแบบทุกวันพลังล้นไฮเปอร์ มั่นใจเกินร้อย ช่วงที่เหลือ (เวลาประมาณ 50%³) ก็ปกติเหมือนตอนก่อนป่วย ความผิดปกติของสมองผู้ป่วยไบโพลาร์ ก็เหมือนคนเป็นไมเกรนไม่ได้ปวดหัวตลอดเวลา เขาจะปวดเฉพาะเวลาอาการกำเริบ สำหรับไบโพลาร์ช่วง 1 และ 2

ถ้าอยากหาย อย่าอยากหายเร็วๆ ให้คิดแบบนี้แทน

โรคเรานั้นรักษาไปก็หาย แต่ความที่มันทรมาน เราก็มักจะอยากหายเร็วๆ แต่มันไม่ใช่แค่หวัดที่จะหายได้ในไม่กี่วัน แม้อาการบางอย่างเช่นนอนไม่หลับอาจจะดีขึ้นเร็ว แต่อาการดีเพรสกว่าจะดีขึ้นก็เป็นเดือน ถ้าเราอยากหายเร็วๆมันจะทรมานสุดๆ จนสุดท้ายบางคนจะยอมแพ้ไปก่อน ฆ่าตัวตาย หรือไม่ก็เลิกรักษา ทั้งที่อาการก็ดีขึ้นแล้ว และถ้ารักษาต่อไปก็จะหายแน่ๆ แต่การรอคอยนั้นทรมานเกินไป ก็เลยหยุดยาเอง แล้วก็ได้พบกับนรกที่แย่กว่าอาการตอนแรกเสียอีก แล้วก็วนกลับมาเริ่มต้นรักษาใหม่ แต่คราวนี้ยาตัวเดิมอาจไม่ได้ผลเหมือนเก่า การรอคอยนั้นทรมานกว่าอาการของโรค ถ้าเรารอคอยนับวันเมื่อไหร่จะหาย แต่ละนาทีจะยาวนานเหมือนเวลาเดินช้ามาก ความทรมานส่วนนี้จะมากกว่าอาการของโรคทีแรกเสียอีก เหมือนไม่ใช่แค่รอคอยเฉยๆ แต่มีไฟลนหัวใจเราไปด้วย โชคร้ายที่เราจะแยกไม่ออกว่า ความเจ็บปวดส่วนไหนคืออาการของโรค ส่วนไหนมาจากการรอคอย ต่อเมื่อเลิกรอคอยแล้วเราจึงจะเห็นกับตา เมื่อความทรมานหายไป แต่มันยากสุดๆที่ใครจะเชื่อว่าการอยากหายนั้นเป็นโทษ เพราะความอยากหายนั้นเป็นคอมมอนเซนส์มากๆ แล้วมันก็เวิร์กในกรณีทั่วไปด้วย “ต้องอยากได้อันนั้นสิ ถึงจ

กลยุทธ์การคืนสู่สุขภาวะของป้าหนู

Pa Noo's Recovery Strategy โดยป้าหนู รัชนี แมนเมธี ป้าหนูขอแบ่งกลยุทธ์เป็น 4 ช่วงเวลาดังนี้ พ.ศ. 2545–2547 : ช่วงเปลี่ยนผ่าน พ.ศ. 2548–2558 : ช่วงปานสายใยแห่งรัก พ.ศ. 2559–2566 : ช่วงประจักษ์ตัวตน พ.ศ. 2567 - หมดลมหายใจ : ช่วงค้นพบตัวเอง 1. ช่วงเปลี่ยนผ่าน พ.ศ. 2516 ป้าเริ่มสอนหนังสือ พอถึง พ.ศ. 2545 ป้าป่วยเป็นโรคซึมเศร้า กว่าจะได้เข้ารับการรักษา ปี พ.ศ. 2546 ปี 2546 ปลายๆหมอบอกป้าหายป่วย แต่ป้ายังรู้สึกชีวิตมืดมน 1 เม.ย. 2547 ป้าได้เกษียณก่อนกำหนด ( Early Retire ) เป็นวันแรก 2. ช่วงปานสายใยแห่งรัก ป้าได้มีโอกาสเรียนรู้ และเป็นกรรมการสมาคมสายใยครอบครัว ซึ่งช่วงนี้เป็นช่วงที่ป้ามีความสุขมาก เพราะได้ฟื้นพลังชีวิต ป้าได้เห็นคุณค่าในตนเองมาก 3. ช่วงประจักษ์ตัวตน ป้าได้นำประสบการณ์ช่วงที่ 2 และประสบการณ์ที่มีมาตั้งแต่เดิมมาใช้ประโยชน์ในการทำงานเพื่อส่วนรวมได้มากมายมหาศาล 4. ช่วงค้นพบตนเอง ป้าตกผลึกชีวิตตนเองเรียบร้อย เพราะได้ประจักษ์ตัวตนของตัวเอง รู้ว่าตนมีจุดแข็ง - จุดอ่อน, มีโอกาส - ถูกคุกคาม อะไรอย่างไร เห็นคุณค่าและภูมิใจในตนเองว่าสามารถทำประโยชน์ให้มนุษยชาติได้อย่างไรมากที่สุดตาม