ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

รู้สึกแย่ดิ่งสุดๆ ทำไงถึงจะหาย

ถามกันบ่อยที่สุดคือกำลังดิ่งจะทำยังไงดี ปัญหาคืออธิบายตอนนั้นก็ไม่มีสติพอจะเข้าใจอยู่ดี ดังนั้นทุกคนควรเรียนรู้เทคนิคนี้ไว้ล่วงหน้า มันมาจากจิตบำบัดแบบ ACT (defusion) ซึ่งมีงานวิจัยจำนวนมากว่าได้ผล แล้วนำมาประยุกต์กับวิธีเจริญสติแบบเคลื่อนไหว ซึ่งเหมาะกับสถานการณ์ช่วงวิกฤติ วิธีทำก็ง่ายมาก จะยากตรงมันตรงข้ามกับคอมมอนเซนส์ เพราะเราเข้าใจธรรมชาติของใจเราผิดมาตลอด แต่ลองทำดูแล้วก็จะเข้าใจเอง เพราะทุกคนที่จัดการมันได้ ต่างก็ค้นพบเทคนิคนี้ได้เองจากการลองผิดลองถูก

ความรู้สึกแย่เกิดจาก “ความคิด” เสมอ

ความรู้สึกแย่ (เช่นโกรธ เสียใจ น้อยใจ กังวล​) เกิดจากความคิดของเราเสมอ ไม่เคยเกิดจากอย่างอื่น เช่น เขาพูดไม่ดีกับเราเมื่อเย็นวาน ปรากฏตอนนี้เราก็ยังรู้สึกแย่อยู่ ทั้งที่ไม่ได้ยินคำพูดนั้นแล้ว แต่เราเองเป็นคนเล่นซ้ำคำพูดที่เราเกลียดนั้นในหัวเรามาตลอด เขาเป็นต้นเหตุของความคิดนี้ใช่ แต่ตอนนี้ที่กำลังรู้สึกแย่ เกิดจากความคิดนี้ของเราเอง

ที่ผ่านมาตอนนั้นเรามักจะโฟกัสความผิดที่เขา ซึ่งยิ่งทำให้ความคิดเราวนเวียนหนักขึ้นเรื่อยๆ ความคิดยิ่งมาก ความรู้สึกเราก็ยิ่งแย่ ดิ่งลงไปเรื่อยๆ ดังนั้นเริ่มต้นให้ตระหนักว่าตอนนี้ ผู้ร้ายตัวจริงคือความคิดของเราเอง

เหมือนสมมุติมีคู่อริจ้างผู้ร้ายมาทำร้ายเรา ผู้ร้ายมาถึงก็ลงมือทุบตีเรา ทำให้เราบาดเจ็บมากขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาเราตอนนี้คือจัดการผู้ร้าย ไม่ใช่คู่อริ เพราะตอนนี้เราจะก่นด่าคู่อริเท่าไหร่ก็ไม่ช่วยให้เราเจ็บตัวน้อยลง แต่หากเราตัดสินใจป้องกันตัว หันมารับมือผู้ร้ายที่อยู่ตรงหน้าจนมันยอมแพ้ไป เราก็จะไม่เจ็บตัวเพิ่มขึ้น แล้วทิ้งไว้สักพักความบาดเจ็บก็จะค่อยๆดีขึ้นเองตามธรรมชาติ

ความรู้สึกแย่สุดๆเกิดจาก “จมความคิด”

ความรุ้สึกแย่เกิดจากความคิด ความรู้สึกแย่ดิ่งสุดๆ ก็เกิดจากเราจมเข้าไปในความคิดนั่นเอง นึกภาพความคิดมันเหมือนบ่อโคลนดูด ถ้าเราเหยียบแล้วผ่านมันไปก็แค่เลอะ (เจ็บนิดหน่อย) แต่ถ้าเราเหยียบแล้วย่ำไปมาเราจะจมลงไปเรื่อยๆ เดือดร้อนมากขึ้นๆ ถึงจุดหนึ่งอยากจะออกก็ออกไม่ได้แล้ว เพราะยิ่งดิ้นก็ยิ่งจมลงไปเรื่อยๆ เป็นธรรมชาติของโคลนดูด ซึ่งก็เหมือนธรรมชาติของใจเรา ยิ่งห้ามคิดก็ยิ่งครุ่นคิดเช่นกัน


เช่นเดียวกับโคลนดูด เมื่อจมความคิดลงไปลึกแล้วจะออกยากมาก ดังนั้นทางที่ดีที่สุดก็คือรู้ตัว (มีสติ) ว่าอยู่บนโคลนดูดให้เร็วที่สุด ถ้ารู้ตั้งแต่เดินเหยียบโคลน (เริ่มคิด) เราก็แค่เดินผ่านไปได้เลย หรือถ้าจมลงไปหน่อยแล้ว ก็ยังออกมาได้ไม่ยาก ปัญหาคือส่วนใหญ่คนที่ไม่เคยฝึก กว่าจะรู้ตัวคือจมลงไปครึ่งแข้งแล้ว พอรู้สึกเดือดร้อนแล้วเลยเริ่มดิ้น แล้วกลับยิ่งจมลงไปก็เลยยิ่งตกใจ ก็เลยยิ่งดิ้นก็ยิ่งจมเร็วขึ้นไปอีก

หรือหนักกว่านั้นคือ ดิ่งลงไปโดยไม่รู้ตัวเลย รู้สึกแต่ความทรมาน แต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร เลยมักได้ยินบ่นกันบ่อยๆว่า “ไม่ได้คิดอะไรเลย มันรู้สึกแย่เอง” หรือ “อยู่ดีๆก็ดิ่ง” ซึ่งจริงๆมันไม่ได้อยู่ดีๆหรอก มันมีความคิดต้นเหตุ แต่เราสติแตกไปแล้วก็เลยไม่รู้ว่าอะไรเกิดขึ้นในใจบ้าง หรือบางทีถ้าความคิดนั้นเป็นเรื่องที่เรารับไม่ได้ เราห้ามตัวเองคิด หรือปฏิเสธว่าเราไม่ได้คิดเรื่องนั้นแล้ว มันก็จะเกิดผ้าคลุมล่องหนบังไม่ให้เราเห็นความคิดนั้นได้ด้วย

ทำไงจะไม่จม หรือจมแล้วจะออกได้

อาการจมความคิดจะเกิดขึ้นเสมอๆ เมื่อใจเราไม่สนใจสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน (ภาพเสียงกลิ่นรสสัมผัส) โดยเฉพาะเมื่อเราอยู่เฉยๆ ไม่ขยับเขยื้อน สภาพนั้นทำให้ใจเราจมดิ่งเข้าไปในหัว ลงไปในบ่อโคลนความคิด ลึกลงไปเรื่อยๆ

ปัญหาคือเวลาที่เรากำลังรู้สึกแย่ เราจะมีแนวโน้มที่จะนั่งนอนนิ่งๆอยู่เฉยๆ ครุ่นคิด  ยิ่งถ้าอยู่ในช่วงซึมเศร้า (ดีเพรส) เรายิ่งไม่อยากทำอะไรเลย ไม่สนใจอะไรเลย ทำให้เราก็ยิ่งจมลงไปในความความคิดง่าย บ่อย และนาน ดังนั้นทางออกคือเราต้องตั้งใจมากๆเพื่อจะฝืนแนวโน้มนี้

ทางออก: อย่าอยู่เฉยๆ เคลื่อนไหวทำอะไรตลอดเวลา

ช่วงเวลาที่รู้สึกแย่ แม้จะไม่อยากทำอะไรเลย แต่เราต้องพยายามเคลื่อนไหวทำอะไรอยู่เสมอ เพื่อดึงใจกลับมาปัจจุบัน เพราะถ้าเราอยู่นิ่งๆเมื่อไหร่ ความคิดจะแย่งใจเราไปทุบตีทันที ดังนั้นให้เราทำอะไรไปเรื่อยๆ ไม่ต้องมีสาระประโยชน์อะไรก็ได้ และไม่ต้องชอบก็ได้ เพราะตอนนี้จะไม่มีอะไรที่ชอบอยู่แล้ว ก็ทำไปอย่างโง่ๆ ไม่ต้องมีเหตุผลอะไร

ไม่สำคัญว่าทำอะไร ที่สำคัญคือใส่ใจสิ่งที่ทำ

คือทำสิ่งนั้นเต็มที่ เต็มใจทำ ไม่ใช่ทำไปอย่างใจลอย เพราะใจลอยก็คือจมความคิด เป้าหมายเราคือดึงใจมาจากความคิดให้มากที่สุด ดังนั้นต้องไม่เจตนาคิดเรื่องอะไร ไม่เจตนาปล่อยใจลอย แต่เราห้ามความคิดไม่ได้หรอก แป๊บๆความคิดก็จะดึงไป ก็ช่างมัน พอรู้ตัวเราก็แค่กลับมาสนใจสิ่งที่ทำ ไม่สำคัญว่าจะเผลอไปบ่อยแค่ไหน สำคัญแค่อย่าเจตนาคิดเรื่องอะไร เผลอแล้วรู้ตัวก็กลับมาๆ

เผลอแล้วกลับมาปัจจุบันเสมอ

ทักษะนี้ไม่ใช่การห้ามความคิด แต่เป็นทักษะว่าเมื่อคิดแล้วสามารถดึงกลับมาปัจจุบันได้ ดังนั้นดีแล้วเผลอบ่อยๆ ก็จะได้ฝึกดึงกลับมาบ่อยๆ ก็จะดึงใจเก่งขึ้นเรื่อยๆ สำคัญคืออย่าเจตนาคิด และอย่าห้ามคิด เพราะจะเครียดเปล่าๆ ให้ตั้งใจทำไปแบบเล่นๆ เผลอบ้าง รู้บ้าง ไม่ต้องซีเรียส สบายๆ

ตัวอย่างกิจกรรม

  • ออกไปเดินเล่นโง่ๆ ใจเย็นๆ ไม่มีแผนว่าจะไปถึงไหน แค่เดินไปทีละก้าว สนใจความรู้สึกที่เท้าทุกครั้งท่ีสัมผัสพื้น ทั้งมองเห็นและได้ยินสิ่งต่างๆที่เดินผ่าน ถ้าไม่อยากออกจากบ้านก็เดินกลับไปกลับมาก็ได้ ใช้ระยะสักสิบก้าวขึ้นไปจะได้ไม่มึนหัว
  • อาบน้ำอย่างอ่อนโยนพิถีพิถัน ตลอดเวลารับรู้สัมผัสที่มือและตามเนื้อตัว รับรู้สัมผัสของน้ำและความเย็นสบายตัว
  • เล่นหมาแมว เอามือลูบตัวมันเล่นให้มันฟิน รับรู้สัมผัสนุ่มๆที่มือตลอดเวลา ตามองหมาแมวและรับรู้ความสุขของมันไปด้วย 
  • ออกกำลังกายเบาๆ วิ่ง ว่ายน้ำ วิดพื้น ฯลฯ ใจเย็นๆ ไม่มีเป้าหมายเพื่อฝึกอะไร แต่ทำเพื่อทำไปเฉยๆ สนใจความเคลื่อนไหวที่ชัดๆไปตลอดเวลา
  • เขียนบันทึก วาดรูปโง่ๆ หรือขีดเส้นอะไรไร้สาระ ไม่ต้องดีงาม แค่ตั้งใจทำออกมา
  • หรือทำงานฝีมือ ถักนิตติ้ง ต่อกันพลา ฯลฯ ในลักษณะเดียวกัน
  • ดูแลต้นไม้, กวาดบ้าน, จัดห้อง ฯลฯ
  • ดูหนัง/ทีวี/YouTube ก็ได้ ถ้าเป็นเรื่องที่ชอบมากๆ จนมันดึงความสนใจเราไปจดจ่อกับมันได้ แต่อันตรายคือการนั่งเฉยๆอาจทำให้ใจลอยง่าย
  • ถ้านั่งนอนเฉยๆ อาจจะพลิกมือเล่นไปมา หรือเอามือลูบขา หรือเคลื่อนไหวอย่างไรก็ได้ให้เกิดความรู้สีกเรื่อยๆ ใครที่ดูลมหายใจเป็นจะทำก็ได้ แต่คนส่วนใหญ่จะพบว่าความเคลื่อนไหวดูง่ายกว่าลมหายใจ

กิจกรรมกรณีพิเศษ

  • ถ้าโกรธมากก็อาจใช้ความเคลื่อนไหวที่รุนแรง เช่นชกหมอน เตะหมอนข้าง ปาก้อนหินลงน้ำ
  • ถ้าวิธีไหนก็ไม่ได้ผล คนที่ชอบกินอาจจะใช้วิธีกินของโปรดก็ได้ เพราะรสอร่อยช่วยดึงใจไปได้ดี แต่ควรแคลอรีต่ำ ไม่งั้นทีหลังจะรู้สึกผิด
  • ถ้าทั้งหมดเอาไม่อยู่จริงๆ บางคนจะนึกอยากทำร้ายตัวเอง เพราะความเจ็บดึงใจไปได้ดี แต่แทนที่จะทำแล้วรู้สึกผิดกับแผลไปอีกนาน ให้ใช้วิธีที่เจ็บแต่ไม่เป็นแผล เช่น กำน้ำแข็งสุดแรงเกิด (ลองดู เจ็บมาก) หรือดีดหนังยางใส่ตัวเอง
แล้วถ้าทำกิจกรรมหนึ่งไปสักพักแล้วเริ่มไม่เวิร์ก ใจคอยจะลอยไปจมความคิด ดึงกลับมาไม่ได้ ให้เปลี่ยนไปทำกิจกรรมอื่นทันที ไม่ต้องทู่ซี้สู้กับมัน เพราะการเริ่มต้นกิจกรรมใหม่จะช่วยให้สติกลับมาสดชื่น ทำให้ใจกลับมาปัจจุบันง่ายขึ้น จึงควรจะเปลี่ยนกิจกรรมไปเรื่อยๆ อะไรก็ได้ จะได้ไม่เบื่อ เพียงแต่ให้สนใจสิ่งที่ทำทุกอย่างนั้น

via GIPHY

เพื่อแย่งใจจากความคิด

ใจเราเหมือนเก้าอี้ดนตรีที่มีคนแย่งนั่งอยู่สองคน คือความคิด กับ สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในขณะปัจจุบัน (สติ) ในแต่ละขณะเสี้ยววินาทีจะมีคนนั่งเก้าอี้ได้คนเดียว สองคนจึงแย่งกันนั่งสลับไปมา แต่มันสลับกันเร็วมาก จนเหมือนเราทำได้ทั้งสองอย่างพร้อมกัน โอกาสที่เราจะเห็นได้ชัด คือเมื่อใครแย่งเก้าอี้ไปนานๆ เช่นเมื่อใจลอยหรือจมกับความคิด จะพบว่าสติเราหายไปยาวเลย ไม่รับรู้สิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัว และในทางกลับกัน เวลาที่เราสนใจอะไรมากๆ (มีสมาธิ) ความคิดก็จะหายไปยาวเลยเช่นกัน เช่นเวลาอึ้งกับความงามของทิวทัศน์
​​​​
ที่ให้เคลื่อนไหวทำอะไรอย่างสนใจเต็มที่ ก็เพื่อให้ใจเรากลับมาอยู่กับปัจจุบันบ่อยๆ เพื่อแย่งใจมาจากความคิดให้ได้มากที่สุด แม้ว่าความคิดจะคอยดึงใจกลับไปหามันเสมอ แต่เมื่อเราทำอย่างนั้นเรื่อยๆไม่หยุดหย่อน ภาพเสียงกลิ่นรถสัมผัสจะคอยดึงใจกลับไปปัจจุบันเรื่อยๆ ซ้ำแล้วซ้ำอีก เป็นการรั้งไม่ให้ใจจมลงไปในความคิดเร็วมากเหมือนเวลาอยู่เฉยๆ

เพราะไม่มีใครคุมความคิดได้

ป่านนี้คงเลิกเชื่อว่า “ฉันคุมความคิดของฉันได้” แล้วใช่ไหม? ไม่มีใครคุมความคิดได้ ความคิดมันทำงานของมันเอง มันเหมือนเสียงของเพื่อนบ้านที่เราไม่สามารถไปบอกให้เขาหยุดพูดได้ และเพื่อนบ้านคนนี้ก็ไม่ได้เป็นมิตรกับเราเสมอไป บางเวลาก็ชอบพูดเรื่องที่เราไม่อยากฟังให้เราเจ็บ เราห้ามความคิดเราไม่ได้ (เชื่อว่าคงจะเคยพยายามแล้ว) แต่สิ่งที่เราพอทำได้ คือเลือกว่าจะเอาใจไปไว้ที่ไหน ความคิด หรือ ปัจจุบัน

via GIPHY

ถ้าเราเคลื่อนไหวและสนใจสิ่งที่กำลังทำและกำลังเกิดขึ้นรอบตัวเราในปัจจุบันที่นี่ตอนนี้ ใจเราก็จะสลับมาอยู่กับปัจจุบันเรื่อยๆ แทนที่จะอยู่กับความคิด 100% ก็อาจจะเหลือ 80%, 50% หรือ 10% ก็ได้ อย่างนั้นแล้วความรู้สึกแย่ก็จะไม่มากขึ้นแล้ว และสักพัก (ไม่กี่นาที/ชั่วโมง/วัน) มันก็จะค่อยๆจางลงไปเองตามธรรมชาติ

แต่อย่าลืมว่าเราเคลื่อนไหวทำอะไรไม่ใช่เพื่อหายรู้สึกแย่ แต่เพื่อแย่งใจจากความคิดเท่านั้น เมื่อเราเคลื่อนไหว ความรู้สึกแย่จะเท่าเดิม จะไม่มากขึ้นเรื่อยๆเหมือนเวลาจมความคิด แล้วถ้าเราอดทนทำนู่นนี่ไปเรื่อยๆ ไม่ยอมอยู่เฉยๆ อย่างนั้นความคิดและความรู้สึกแย่จะค่อยๆจางลงไปเอง เร็วช้าขึ้นกับเราแย่งใจมาจากความคิดได้มากแค่ไหน

ตัดสินใจตอนนี้เลย เวลาดิ่งจะอยู่กับใคร

ตอนนี้เข้าใจแล้วใช่ไหมว่า แต่ก่อนที่ความรู้สึกแย่เราไม่หาย ดิ่งลงไปเรื่อยๆ เพราะความคิดเราเองสุมไฟเข้าไปเรื่อยๆเอง ซึ่งถ้าเราทิ้งไว้อย่างนั้นไปไม่นาน เราก็จะรู้สึกแย่จนทนไม่ไหว จนระเบิดออกมา ทำร้ายคนอื่นหรือตัวเอง เพราะตอนนั้นเราจะเชื่อว่าระเบิดแล้วจะหายรู้สึกแย่ แต่แล้วจะพบว่าทุกครั้งผลคือทวีคูณปัญหาเพิ่มขึ้นไปอีก

ถึงตรงนี้ก็เลือกไม่ยากแล้วใช่ไหมว่า ตอนนั้นเราควรจะเอาใจไปอยู่กับใคร
  1. จะอยู่กับความคิดแล้วดิ่งลงไปจนระเบิด หรือ
  2. จะอยู่กับปัจจุบันดี
ตัดสินใจฟันธงซะตอนนี้เลย แล้วการตัดสินใจนี้จะโปรแกรมให้เราเกิดสติขึ้นมาทันทีที่รู้สึกแย่โดยอัตโนมัติ

ตัดสินใจหรือยัง?

via GIPHY

Mindfulness คือกลับมาอยู่กับปัจจุบันเสมอๆ

เทคนิคในบทความนี้ก็คือการกลับมาอยู่กับปัจจุบัน (mindfulness) นั่นเอง จริงๆทำกิจกรรมพวกนั้นทุกวันเลยก็ได้เพื่อเป็นการฝึก เพราะมันเป็นทักษะที่ยิ่งฝึกยิ่งชำนาญ เริ่มแรกแต่ละคนจะมีความสามารถในการดึงใจกลับมาปัจจุบันได้ไม่เท่ากัน เพราะเรามีกำลังสติไม่เท่ากัน แต่กำลังสติก็เหมือนกล้ามเนื้อ ยิ่งฝึกยิ่งมีกำลัง ดังนั้นถ้าอยากสามารถแย่งใจมาจากความคิดได้มากๆ ก็ควรจะฝึกสติเป็นประจำ เช่นเริ่มต้นด้วยเข้าคอร์สฝึกสติ (ซึ่งเป็นคนละอย่างกับคอร์สฝึกสมาธิ) แล้วกลับมาทำที่บ้านทุกวัน และทั้งวัน สติและใจเราก็จะแข็งแรงขึ้นเรื่อยๆ ตามสัดส่วนความพยายามที่เราใส่ลงไป

หลังจากนั้นพอถึงวิกฤติจะพบว่า เราจะสามารถแย่งใจจากความคิดได้ในเวลาไม่นาน หรืออาจจะไม่กี่วินาทีก็ได้ มันดูเหมือนเหลือเชื่อที่จะมีใครทำได้แบบนั้น แต่ก็เหมือนตอนนี้เรายกของหนัก 100 กก. ไม่ได้ แต่เราก็นึกภาพออกว่าใครก็ตามที่ฝึกยกน้ำหนักทุกวันเป็นปีสุดท้ายก็จะยกได้ และยกได้มากกว่านั้น บางทีเห็นแล้วน่าอัศจรรย์ แต่ใครๆก็ฝึกทำอย่างนั้นได้

การฝึกสติเป็นประจำก็มีผลมหัศจรรย์อย่างนั้นเช่นกัน ทำให้เราสามารถเดินผ่านบ่อโคลนไปได้เลย โดยไม่นึกอยากย่ำอยู่ตรงนั้นสักนิด มันจึงเป็นการลงทุนพัฒนาตัวเองที่คุ้มค่ามากที่สุดว่าไหม

ตัดสินใจหรือยัง?

ใครอ่านมาถึงตรงนี้เห็นว่ามีประโยชน์ก็ช่วยแชร์ด้วย หรือถ้ามีคำถามอะไรก็เมนต์ข้างล่างได้เลย

อ่านเพิ่มเติม

ACT (Acceptance and Commitment Therapy)

  1. หนังสือ The Happiness Trap
  2. หนังสือ Get Out of Your Mind and Into Your Life

เจริญสติแบบเคลื่อนไหว

  1. บทความในเว็บวัดโสมพนัส
  2. เว็บพระอาจารย์ไพศาล วิสาโล
  3. แชนแนล มือใหม่หลวงพ่อเทียน
  4. คอร์สที่สวนโมกข์กรุงเทพฯ
  5. คอร์สของพระอาจารย์วัดป่าสุคะโต

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ลิเธียม ยาดีที่ต้องใช้ให้เป็น

สำหรับคนที่เป็นไบโพลาร์ก็จะได้ทาน ยาคุมอารมณ์ (mood stabilizer) เพื่อจะได้ไม่ต้องมีช่วงแมเนีย และลิเธียมก็คือยาคุมอารมณ์ที่นิยมมากที่สุดตัวหนึ่ง เพราะได้ผลดี, ผ่านมาวิจัยมานานมาก, ราคาถูก และมีส่วนช่วยป้องกันช่วงดีเพรส แต่ลิเธียมเป็นยาที่ใช้ยากนิดนึง เพราะหมอจะต้องค่อยๆปรับยาขึ้นจนกว่าเราจะมียาในเลือดระดับที่พอดี ถ้าน้อยไปมันก็จะไม่ทำงาน ถ้ามากไปก็จะเกิดอาการลิเธียมเป็นพิษ หลายคนที่หมอสั่งลิเธียมให้ พอได้ยินเรื่องลิเธียมเป็นพิษเลยวิตกกังวลหนัก จนความวิตกกังวลนี้กลายเป็นผลข้างเคียงซ้ำซ้อนเข้าไปอีก ดังนั้นคนที่ทานยาตัวนี้จึงต้องเรียนรู้เพิ่มเติมสักนิดนึงเกี่ยวกับมัน บทความข้างล่างนี้มาจากคอลัมน์พบหมอรามา อ่านง่ายและครบถ้วนดี แต่ก่อนอื่นผมจะเกริ่นถึงประเด็นที่ทำให้กังวลกันก่อน ผลเสียจากลิเธียมจะมีอยู่ 2 ลักษณะ ถ้าแยกจากกันได้แล้วจะใช้มันได้อย่างสบายใจ ผลข้างเคียง ​ คือผลเสียในโดสปกติ  อาการลิเธียมเป็นพิษ  คืออาการป่วยเพราะมีลิเธียมในเลือดสูงเกินไป อาจจะเพราะได้ยามากเกินไป (เช่นโอเวอร์โดส) หรือเพราะสภาพร่างกายผิดปกติไปมากทำให้ขาดน้ำหรือเกลือแร่ บางคนเข้าใจว่าตัวเองแพ้ลิเธียม

ท็อป 5 ความเข้าใจผิด โรคซึมเศร้าไม่ใช่อย่างที่คิด

โรคซึมเศร้าเป็นคนละอย่างกับอารมณ์เศร้า แต่ชื่อโรคภาษาไทยชวนให้เข้าใจว่า มันก็แค่ความรู้สึกซึมๆเศร้าๆอย่างที่ทุกคนรู้จัก แถมคำอธิบายเกลื่อนเน็ตก็กว้างซะจน ทุกคนอ่านก็คิดว่าตนเคยเป็นโรคนี้ และสามารถวินิจฉัยว่าคนอื่นว่าเป็นหรือไม่ โดยไม่ต้องเสียเวลาเรียน 10 ปีอย่างจิตแพทย์ แต่โรคซึมเศร้าก็เหมือนหลายโรคที่มีความซับซ้อนจนต้องมีแพทย์เฉพาะทาง มันมีรายละเอียดมากและไม่เหมือนกับที่คนเข้าใจเลย แต่เนื่องจากคนส่วนใหญ่ไม่มีความรู้เรื่องนี้เลย เราจึงรู้สึกว่าเรารู้จักมันดีอยู่แล้วด้วยคอมมอนเซนส์ล้วนๆ ต่อไปนี้คือความเข้าใจที่ผิดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในบ้านเรา (1)  โรคซึมเศร้าไม่มีจริง (2)  ที่เรียกโรคซึมเศร้าก็คือความเศร้า (3)  ฉันก็เคยเป็น แต่ฉันไม่ยอมแพ้ (4)  มันอยู่ที่ใจแค่นั้น สู้ๆ ลุกขึ้นมาก็หายแล้ว (5)  หมอกุเรื่องขึ้นมาเพื่อให้บริษัทยารวย 1 ความเชื่อ: โรคซึมเศร้าไม่มีจริง  โรคจิตเวชจะต้องเสียสติเป็นคนบ้า ความจริง:  องค์การอนามัยโลกบอก ว่า 300 ล้านคนเป็นโรคซึมเศร้า (MDD) นั่นมากกว่า 4% ของประชากรโลก  ส่วนในไทย ปี 2551 กรมสุขภาพจิตประมาณว่ามี คนไทย 1.5 ล้านคน เป็นโรคซึมเศ

เจอปัญหาที่แก้ไม่ได้ทำไงดี

เหมือนชีวิตกำลังเล่นปิงปองกับเรา ตีลูกยากง่ายใส่เราตลอดเวลา เรื่องกวนใจ ปัญหา ความสูญเสีย. บางคนเจอปัญหาแล้วจมอยู่ตรงนั้น ประทัวง “ลูกยากไม่เล่น”. บางคนยากง่ายรับหมดเต็มที่ เจอลูกยากอาจล้มเข่าถลอกแต่รีบลุกเล่นต่อ. ทำได้ไงอะ? ชัยจะต้องพรีเซ็นต์หัวข้อแรกตอนเช้าในงานสัมมนาของผู้บริหารหลายองค์กร. เช้านี้รถติดสาหัส. เขาร้อนใจจึงโทรไปบอกผู้จัดว่ากำลังจะถึง ให้เตรียมที่จอดรถไว้ให้เพราะปกติจะเต็ม. เกือบเฉี่ยวชนหลายหน แต่รถเขาก็ถึงสถานที่ตรงเวลาพอดี. เขาพารถไปโซน VIP ช่องที่มีเลขทะเบียนรถเขา แต่ยามไม่ให้จอด. เหลือเชื่อตัวเลขผิดไปหลักนึง. ยามให้วนขึ้นไปจอดในอาคาร บอกดาดฟ้ามีที่ แต่เขาไม่มีเวลาแล้ว. มันไม่ถูก เขาเถียง ช่องนี้เตรียมไว้ให้เขา ไม่ยุติธรรมเลย. รถข้างหลังต่อแถวยาวขึ้นๆ. เขายิ่งเถียงเสียงดังขึ้นๆ เลขผิดนิดเดียว เขาจอดโซนนี้ประจำ เจ้านายคุณรอเขาอยู่ ฯลฯ แต่ยามไม่ฟัง. ชีวิตเรามีปัญหาตลอด ในชีวิตเราจะพบกับปัญหาที่แก้ไม่ได้ และความเปลี่ยนแปลงที่ไม่ต้องการ อยู่ตลอดเวลา. แต่เราพยายามมองไม่เห็นมัน. ถ้าเรื่องเล็กเราก็แค่สะสมความเครียด. เช่นเวลาหาของไม่เจอ, เพื่อนทำไม่ถูกใจ, โดนดูถูก ฯลฯ. ถ้

จะกินยา หรือไม่กินดี?

โชคดีมากที่ปัจจุบันโรคซึมเศร้าและไบโพลาร์สามารถรักษาได้ด้วยยา คนไข้ที่มีวินัยหาหมอกินยา 6 เดือนถึงปีกว่าส่วนใหญ่ก็จะหายและได้หยุดยา สาเหตุใหญ่ที่ทำให้บางคนไม่หายคือ “ไม่อยากกินยา” จะกินไม่กินดี? เมื่อไม่อยากกินยา แต่หมอสั่งให้กิน เราจะเกิดอาการลังเล “จะกินไม่กินดี?” แล้วลงเอยที่ “กินๆหยุดๆ” ซึ่งแย่กว่าไม่กินเสียอีก สภาวะนี้ทำให้เครียดหนักมาก กินก็รู้สึกแย่ ไม่กินก็อาการแย่ สับสนตำหนิตัวเองวนไปวนมา จะทำยังไงดี?

เป็นโรคจิตเวชไม่ได้ทำให้รอดคดีอาญา

ข่าวดราม่าที่ผู้ก่อเหตุเผยว่าเป็นโรคจิตเวช คนมักจะมองว่า “หงายการ์ดป่วย” โกหกว่าป่วยเพื่อเอาตัวรอด เพราะเข้าใจผิดว่าใครทำให้ศาลเชื่อว่าป่วยจิตเวช แล้วศาลจะให้พ้นผิดไปเลย เนื่องจากสังคมไทยยังเข้าใจผิดว่าผู้ป่วยจิตเวชคือคนบ้า และเชื่อว่ากฎหมายบอกว่าคนบ้าทำอะไรก็ไม่ผิด กรณีแบบนี้คนจึงพากันโกรธแค้นเพราะนึกว่าเขาจะไม่ต้องรับโทษจริงๆ ความเชื่อคนบ้าทำอะไรไม่ผิด เกิดจากคนส่วนใหญ่เห็นข่าวแบบนี้เฉพาะตอนเกิดเหตุเป็นดราม่าว่าอ้างป่วยจิตเวชแล้วทำอะไรก็ไม่ผิด แต่ตอนศาลพิพากษาลงโทษข่าวจะเงียบ ทุกคดีความจำของสังคมจึงสรุปตามดราม่าว่าศาลยกโทษเสมอ ทั้งที่จริงๆแล้วศาลลงโทษทุกที จริงๆกฎหมายอาญาไม่ได้ระบุให้เว้นโทษกับผู้ป่วยโรคใดโรคหนึ่ง  มาตรา 65 บอกว่าเฉพาะกรณีที่ขณะกระทำความผิด จำเลยไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ (ที่เรียกกันว่าวิกลจริต) จึงจะไม่ต้องรับโทษ ดังนั้นเมื่อผู้ก่อเหตุเผยว่าเป็นโรคจิตเวชใดๆก็ยังไม่มีผลอะไร นอกจากจะทำให้สังคมเกลียดเขามากขึ้นจากความเข้าใจผิดข้างต้น การโกหกให้ศาลไทยเชื่อว่าวิกลจริตขณะก่อเหตุ แทบเป็นไปไม่ได้ เพราะนอกจากจะต้องหลอกจิตแพทย์แล้ว ศาลไทยก็ไม่ได้ฟั

ฉันกำลังดีเพรสหรือเปล่า หรือฉันกำลังแมเนีย

เวลาพบหมอ มันสำคัญมากที่เราจะต้องสามารถสื่อสารว่า ช่วงที่ผ่านมาเราอาการเป็นไง สัปดาห์ไหนปกติ สัปดาห์ไหนดีเพรสบ้าง และ (สำหรับไบโพลาร์) สัปดาห์ไหนแมเนียหรือเปล่า. เมื่อเข้าใจโรคเพียงคร่าวๆ คนมักจะคิดว่าดีเพรสคือเศร้านานๆ แมเนียคือรู้สึกดีหรือก้าวร้าวนานๆ ซึ่งถูกเพียงส่วนเดียว. เมื่อเข้าใจนิยามของอาการเหล่านี้ไม่ตรงกับหมอ เวลาเราเล่า หมอก็จะเข้าใจอาการไม่ตรงกันเรา. ผลคือหมอก็จะปรับยาผิด เพราะเข้าใจอาการผิด เช่นเราดีเพรสอย่างเดียวมานานแล้ว แต่วีนแฟนบ่อยเพราะปัญหาชีวิตคู่. เราเล่าอาการทีไรหมอก็คิดว่าแมเนีย เลยให้แต่ยาคุมอารมณ์. ความเข้าใจผิดแบบนี้ทำให้การรักษาไม่คืบหน้า เพราะยาไม่ช่วยให้อาการหายหมดสักที จนบางคนท้อกับการรักษา. เพื่อไม่ให้เกิดปัญหานี้ เราต้องเข้าใจอาการของโรคตรงกับนิยามที่หมอใช้. เมื่อสื่อสารกับหมอได้อย่างมีประสิทธิภาพ การรักษาก็จะก้าวหน้า เราก็จะมีอาการน้อยลง และสามารถใช้ชีวิตปกติได้มากขึ้นเรื่อยๆ.

วอนใช้คำให้ถูก โรคไบโพลาร์ไม่ใช่ที่เห็นในสื่อและละคร

วันนี้ 30 มีนาคม 2561 เป็น วันไบโพลาร์โลก  วันที่เราชวนให้โลกหันมาทำความรู้จักโรคไบโพลาร์¹ เพื่อกำจัดตราบาปในสังคม บ้านเรามีตราบาปโรคนี้ที่ไม่เหมือนที่อื่น เราใช้ชื่อไบโพลาร์เป็นคำด่านักการเมือง หรือคนที่เรากลียดชนิดไม่มีคำไหนสื่อระดับความเลวได้  เพราะหลักสูตรเราไม่ได้สอนเรื่องโรคจิตเวชกับเด็กๆ พอคนเห็นชื่อไบโพลาร์แปลว่าสองขั้ว ก็คิดเอาเองว่าคนป่วยจะเป็นคน ① สองบุคลิก วันนึงเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย ② สองหน้า โกหกพลิกไปมาหน้าตาเฉย ③ เอาแต่ใจ ขี้วีน คุมตัวเองไม่ได้ ④ เสพติดความรุนแรงแบบฆาตกรโรคจิต ซึ่งทั้งหมดอาจจะเป็นโรคจิตเวชก็ได้ แต่เป็นโรคอื่นที่ไม่ได้ใกล้เคียงกับไบโพลาร์สักนิด โรคไบโพลาร์ ในทางการแพทย์คือ ในทางการแพทย์ โรคไบโพลาร์   เป็น โรคทางสมอง ² ที่ทำให้มี บางเดือนเปลี่ยนไปแบบทุกวันหมดพลัง ท้อแท้ (เหมือนโรคซึมเศร้า) บางสัปดาห์/เดือนเปลี่ยนไปแบบทุกวันพลังล้นไฮเปอร์ มั่นใจเกินร้อย ช่วงที่เหลือ (เวลาประมาณ 50%³) ก็ปกติเหมือนตอนก่อนป่วย ความผิดปกติของสมองผู้ป่วยไบโพลาร์ ก็เหมือนคนเป็นไมเกรนไม่ได้ปวดหัวตลอดเวลา เขาจะปวดเฉพาะเวลาอาการกำเริบ สำหรับไบโพลาร์ช่วง 1 และ 2

ถ้าอยากหาย อย่าอยากหายเร็วๆ ให้คิดแบบนี้แทน

โรคเรานั้นรักษาไปก็หาย แต่ความที่มันทรมาน เราก็มักจะอยากหายเร็วๆ แต่มันไม่ใช่แค่หวัดที่จะหายได้ในไม่กี่วัน แม้อาการบางอย่างเช่นนอนไม่หลับอาจจะดีขึ้นเร็ว แต่อาการดีเพรสกว่าจะดีขึ้นก็เป็นเดือน ถ้าเราอยากหายเร็วๆมันจะทรมานสุดๆ จนสุดท้ายบางคนจะยอมแพ้ไปก่อน ฆ่าตัวตาย หรือไม่ก็เลิกรักษา ทั้งที่อาการก็ดีขึ้นแล้ว และถ้ารักษาต่อไปก็จะหายแน่ๆ แต่การรอคอยนั้นทรมานเกินไป ก็เลยหยุดยาเอง แล้วก็ได้พบกับนรกที่แย่กว่าอาการตอนแรกเสียอีก แล้วก็วนกลับมาเริ่มต้นรักษาใหม่ แต่คราวนี้ยาตัวเดิมอาจไม่ได้ผลเหมือนเก่า การรอคอยนั้นทรมานกว่าอาการของโรค ถ้าเรารอคอยนับวันเมื่อไหร่จะหาย แต่ละนาทีจะยาวนานเหมือนเวลาเดินช้ามาก ความทรมานส่วนนี้จะมากกว่าอาการของโรคทีแรกเสียอีก เหมือนไม่ใช่แค่รอคอยเฉยๆ แต่มีไฟลนหัวใจเราไปด้วย โชคร้ายที่เราจะแยกไม่ออกว่า ความเจ็บปวดส่วนไหนคืออาการของโรค ส่วนไหนมาจากการรอคอย ต่อเมื่อเลิกรอคอยแล้วเราจึงจะเห็นกับตา เมื่อความทรมานหายไป แต่มันยากสุดๆที่ใครจะเชื่อว่าการอยากหายนั้นเป็นโทษ เพราะความอยากหายนั้นเป็นคอมมอนเซนส์มากๆ แล้วมันก็เวิร์กในกรณีทั่วไปด้วย “ต้องอยากได้อันนั้นสิ ถึงจ

กลยุทธ์การคืนสู่สุขภาวะของป้าหนู

Pa Noo's Recovery Strategy โดยป้าหนู รัชนี แมนเมธี ป้าหนูขอแบ่งกลยุทธ์เป็น 4 ช่วงเวลาดังนี้ พ.ศ. 2545–2547 : ช่วงเปลี่ยนผ่าน พ.ศ. 2548–2558 : ช่วงปานสายใยแห่งรัก พ.ศ. 2559–2566 : ช่วงประจักษ์ตัวตน พ.ศ. 2567 - หมดลมหายใจ : ช่วงค้นพบตัวเอง 1. ช่วงเปลี่ยนผ่าน พ.ศ. 2516 ป้าเริ่มสอนหนังสือ พอถึง พ.ศ. 2545 ป้าป่วยเป็นโรคซึมเศร้า กว่าจะได้เข้ารับการรักษา ปี พ.ศ. 2546 ปี 2546 ปลายๆหมอบอกป้าหายป่วย แต่ป้ายังรู้สึกชีวิตมืดมน 1 เม.ย. 2547 ป้าได้เกษียณก่อนกำหนด ( Early Retire ) เป็นวันแรก 2. ช่วงปานสายใยแห่งรัก ป้าได้มีโอกาสเรียนรู้ และเป็นกรรมการสมาคมสายใยครอบครัว ซึ่งช่วงนี้เป็นช่วงที่ป้ามีความสุขมาก เพราะได้ฟื้นพลังชีวิต ป้าได้เห็นคุณค่าในตนเองมาก 3. ช่วงประจักษ์ตัวตน ป้าได้นำประสบการณ์ช่วงที่ 2 และประสบการณ์ที่มีมาตั้งแต่เดิมมาใช้ประโยชน์ในการทำงานเพื่อส่วนรวมได้มากมายมหาศาล 4. ช่วงค้นพบตนเอง ป้าตกผลึกชีวิตตนเองเรียบร้อย เพราะได้ประจักษ์ตัวตนของตัวเอง รู้ว่าตนมีจุดแข็ง - จุดอ่อน, มีโอกาส - ถูกคุกคาม อะไรอย่างไร เห็นคุณค่าและภูมิใจในตนเองว่าสามารถทำประโยชน์ให้มนุษยชาติได้อย่างไรมากที่สุดตาม