ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

คู่มือพบจิตแพทย์ 4 ข้อที่คุณต้องรู้ก่อนจะสาย

น้อยคนจะเคยพบจิตแพทย์มาก่อน บทความนี้รวบรวมประสบการณ์ 6 ปีจากสมาชิกหลายร้อยคนในกรุ๊ปของเรา จากความผิดพลาดที่เกิดขึ้นบ่อยๆทำให้เราหายช้า แต่ละข้อทำได้ง่ายๆแต่หลายคนคิดไม่ถึง จึงกลายเป็นปัญหาที่เจ็บปวด ใช้เวลาไม่กี่นาทีอ่านบทความนี้ แล้ววันนึงคุณจะขอบคุณตัวเอง

1) ตกลงแผนเหตุการณ์ล่วงหน้า

ปกติเราก็จะกินยาไปตามที่หมอสั่งทุกมื้อ แต่จะมีเหตุการณ์พิเศษที่เกิดขึ้นได้เสมอๆ เนื่องจากเราอาจไม่สามารถโทรหาหมอได้ทันที ดังนั้นจึงต้องตกลงกับหมอไว้ล่วงหน้า

image-18
  1. กรณี "นอนไม่หลับ" - ปกติเราควรจะนอนหลับได้โดยไม่ต้องอาศัยยานอนหลับ อย่างไรก็ตาม ควรจะมียานอนหลับติดหัวเตียงไว้เผื่อคืนที่มีเรื่องเข้ามา เพราะเราคนป่วยการนอนไม่หลับแค่คืนเดียวก็ทำให้อารมณ์สวิงไปดีเพรส/แมเนียได้ทันที จึงควรขอยานอนหลับจากหมอติดไว้ (ซึ่งหมอจะให้ได้ไม่มาก เพื่อป้องกันกินยาเกินขนาด)
  2. กรณี "กินยานอนหลับแล้วก็ยังไม่หลับ" - บางคนที่มีปัญหานอนไม่หลับ หมออาจจะให้กินยานอนหลับทุกคืนเป็นช่วงสั้นๆไม่กี่เดือน แต่แล้วก็จะมีคืนที่มีเรื่องเข้ามาที่จะทำให้เรานอนไม่หลับได้
    จึงควรตกลงกับหมอว่า หากกินยานอนหลับแล้ว 1 ชั่วโมง ก็ยังไม่หลับ จะให้ทำยังไงต่อ เช่นให้กินยานอนหลับเพิ่มอีก 1 เม็ดไหม แล้วถ้าผ่านไป 1 ชั่วโมงแล้วยังไม่หลับอีก จะสามารถกินยานอนหลับเพิ่มได้อีกไหม ได้ไม่เกินเท่าไหร่
  3. กรณีฉุกเฉิน “ทนไม่ไหวแล้ว” อยากวีน อยากฆ่าตัวตาย กินยาเกินขนาด อยากทำร้ายคน ทำลายข้าวของ - ชีวิตทุกคนมีเหตุฉุกเฉินแบบนี้ได้บ่อยๆ แต่พวกเราหลายคน (โดยเฉพาะในช่วงอาการ) เวลาเกิดเหตุแบบนี้แล้วอันตราย คนที่พยายามฆ่าตัวตายก็เพราะเลยจุดนี้ไป
    เราจึงต้องหยุดที่จุดนี้ให้ได้ ดังนั้นควรตกลงกับหมอว่า เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน “ทนไม่ไหวแล้ว” จะให้ทำยังไง เช่นให้กินยามื้อที่เหลือแล้วนอนเลย แล้วถ้านอนไม่หลับ (ซึ่งน่าจะเกิด) ให้กินยานอนหลับมากกว่าปกติได้ไหม ได้ไม่เกินเท่าไหร่
  4. เมื่อคิดอยากฆ่าตัวตาย ครุ่นคิดเรื่องวิธีการ - ไม่ต้องรอวันนัด รีบนัดหมอโดยเร็วที่สุด บอกเจ้าหน้าที่ว่ามีความคิดเรื่องนี้ โทรสายด่วนสุขภาพจิต 1323 หรือ สะมาริตันส์ ทันที แล้วเล่าให้เค้าฟัง เล่าให้คนใกล้ตัวที่เข้าใจเรา และเล่าให้เพื่อนๆในซัปพอร์ตกรุ๊ปฟังด้วย

2) ขาดยาวันเดียวเป็นเรื่องคอขาดบาดตายที่สุด

สิ่งที่พวกเราหลายคนเข้าใจผิดอย่างร้ายแรงคือ “ขาดยาวันเดียวไม่เป็นไร” ต้องขาดยานานๆถึงไม่ดี ความจริงสำหรับยาจิตเวชมันตรงข้าม ยาจิตเวชส่วนใหญ่ (ยกเว้นยาคลายกังวล) อาศัยการสะสมในร่างกายจนถึงระดับที่มันทำงานได้พอดีๆ อาการดีเพรส/แมเนียเราก็จะหายและไม่เกิดอีก

ยาทำให้สมองเราทำงานปกติเหมือนคนที่ไม่ป่วย เมื่อเราเสถียรได้นานๆหมอก็จะค่อยๆลดยา แต่เมื่อเราหยุดยาเอง ปริมาณยาในร่างกายจะตกฮวบลงทันทีวันนั้นเลย แล้วอารมณ์เราก็จะพัง (สำหรับยาบางตัว แค่กินช้าไปไม่กี่ชั่วโมงก็เกิดปัญหาได้)

เหมือนคนที่กินกาแฟทุกเช้า สมองชินกับคาเฟอีนระดับนั้นทุกวัน พอเช้าไหนไม่ได้ทานจะง่วงจนทำอะไรไม่ได้ หลายคนถึงกับปวดหัวจนทนไม่ได้ ดังนั้นถ้าจะเลิกกาแฟก็ต้องค่อยๆลด ยาจิตเวชก็เช่นกัน เมื่อสมองเราทำงานได้ปกติเพราะยาระดับนั้น แต่พอเราขาดยาเพราะยาหมดก่อนวันนัด เราก็จะเผชิญกับ “อาการถอนยา”

มันไม่ใช่แค่อารมณ์แปรปรวนสวิงมาดีเพรสหรือแมเนีย มีอาการมากกว่านั้นซึ่งไม่สามารถบรรยายด้วยถ้อยคำ บางคนใช้คำว่าเหมือนสมองถูกไฟฟ้าช็อต การรับรู้โลกของเราจะเปลี่ยนไป อาการป่วยทั้งกายและใจสารพัดจะถาโถมเข้ามา ปวดหัว คลื่นไส้ หดหู่ ปั่นป่วน วิตกกังวลสุดขีด คนที่ผ่านอาการนี้บอกว่ามันแย่กว่าดีเพรสเสียอีก เหมือนได้รู้จักนรกในหัว

อาการถอนยาจะรุนแรงในวันแรกๆที่ขาดยา แล้วถ้ายังขาดยานานหลายๆสัปดาห์ อาการถอนยาจะค่อยๆลดลง แต่อาการดีเพรสหรือแมเนียจะยังอยู่ต่อไป ปัญหาใหญ่คือ เมื่อเรากลับไปกินยาใหม่ หลายคนพบว่ายาขนาดเท่าเดิมจะไม่ได้ผลเหมือนเดิมแล้ว

สุดท้ายหมอเลยต้องปรับยาขึ้น หลายคนทำแบบนี้บ่อยๆ เลยต้องเปลี่ยนไปใช้ยาตัวใหม่ๆ ซึ่งมีราคาแพงขึ้นๆ เหมือนเวลาที่เราหยุดยาปฏิชีวนะก่อนกำหนด ผลคือนอกจากจะหายช้า แล้วยังต้องใช้ยาปฏิชีวนะที่แพงขึ้นๆ

image-3

แม้เราจะมีวินัยหาหมอกินยา แต่อุบัติเหตุก็เกิดขึ้นได้เสมอ เช่น หมอไปต่างประเทศ หรือเราติดปัญหาไปตามนัดไม่ได้ หรือเรากินยาเกินเลยหมดก่อนกำหนด หรือหมอคิดเลขผิดจ่ายยาขาดไป 1 วัน​ฯลฯ ปัญหาเหล่านี้เกิดบ่อยกว่าที่คิด แต่สามารถ

ป้องกันได้โดย

  1. ขอให้หมอจ่ายยาเกินวันนัดไปสัก 1-2 สัปดาห์ สมมุตินัดหมอครั้งหน้าวันที่ 15 ก.พ. ก็ขอให้หมอจ่ายยาถึงวันท่ี 22 ก.พ. ทำให้เรามีความยืดหยุ่นในการไปหาหมอ สามารถพลาดไปได้ 1 สัปดาห์ แล้วครั้งต่อมาเมื่อเราไปหาหมอ อย่าลืมแจ้งหมอว่าเรามียาเหลืออยู่ได้อีกกี่วัน หมอจะได้คำจำนวนยาที่จะจ่ายครั้งนี้ถูก
  2. เมื่อได้ใบสั่งยาให้คำนวณปริมาณยาเองด้วย ว่าได้ครบจำนวนวันที่ตกลงกัน หมอเป็นอาชีพที่ชีวิตวุ่นวายมาก บางทีจะคำนวณเลขง่ายๆผิดได้
  3. ถ้าถึงวันนัดแต่หมอเราไม่อยู่ หรือเราพลาดวันนัดแล้ววันอื่นหมอไม่ได้เข้า ให้เราไปโรงพยาบาลเพื่อรับยาอย่างเดียว แจ้งเจ้าหน้าที่ว่ามารับยา แล้วเค้าจะให้หมอคนอื่นเขียนใบสั่งยาให้แทน แล้วค่อยไปเจอหมอในนัดครั้งต่อไป
  4. เวลาเดินทาง เปลี่ยนที่นอน หลายคนลืมเอายาไป (ผมก็เคย) ถ้าเกิดแบบนี้ให้ยกเลิกกิจกรรมทั้งหมด แล้วกลับไปเอายาก่อนที่จะเกิดอาการถอนยา (ผมก็ทำแบบนั้น ยกเลิกทริป ขับรถหลายร้อยกิโลกลับไปเอายา) ณ เวลานั้นไม่มีอะไรสำคัญกว่านี้แล้ว เพราะถ้าปล่อยตัวเองขาดยา การรักษาอาจจะยุ่งยากขึ้นมาก
  5. อย่าใช้ความจำเพื่อกินยา ไม่มีใครจำสิ่งที่ตัวเองไม่อยากทำได้ ดังนั้นให้จัดยาใส่ตลับยาไว้ล่วงหน้า วางไว้ในจุดเดิมเสมอ ตั้งนาฬิกาปลุกในมือถือให้เตือนเวลากินยาทุกมื้อ ส่วนเวลาเดินทางจะจัดตลับยาไว้ล่วงหน้ายาวๆก็ปลอดภัยดี
  6. หยุดยาเองไม่ได้เด็ดขาด ไม่เหมือนหวัด โรคจิตเวชพอเราไม่มีอาการแล้ว ไม่ได้แปลว่าเราหายแล้ว แต่แปลว่ายามันทำงานอยู่อย่างได้ผล เมื่อหยุดยาอาการก็จะกลับมาทันทีพร้อมกับนรกในหัว
    หรือถ้าทนจนผ่านไปได้ แล้วอาการกลับมารอบหน้าก็มักจะหนักขึ้นและหายยากขึ้น โรคที่รักษาได้ จะกลายเป็นต้องกินยาตลอดชีวิตเพราะคิดเอาเองแบบนี้ เราไม่ได้เรียนมาทางนี้ ให้หมอวินิจฉัยดีกว่าว่าเราหายแล้วจริงๆ

3) นิยามคำว่า "โอเค" ให้ชัดเจน

เวลาเป็นหวัดเราไปหาหมอจนกระทั่งหวัดหาย หรือรักษาไปไม่หายสักทีเราก็จะบ่นกับหมอ หรือแม้แต่เปลี่ยนหมอ จะเห็นว่าโรคทางกายคำว่า “โอเค” มันชัดเจน แต่โรคจิตเวช คำว่า “โอเค” มันขึ้นกับเราเป็นคนบอก

ปัญหาคือคนไทยเรายังไงก็ขี้เกรงใจ เมื่อหมอรักษาเราดีขึ้นสักนิดนึง เราก็อยากจะบอกหมอว่าเรา “โอเค” ขึ้น เหมือนถ้าเราไม่ดีขึ้นจะเป็นความผิดของเราและหมอ ผลคือรักษาไปพวกเราจำนวนมากจะไปตกอยู่แถวดีเพรสอ่อนๆ ซึ่งหมายถึงเราทำงานได้แต่ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ ไม่เต็มศักยภาพของเรา

ถึงจุดนี้มันจะฟังดูโอเคสำหรับหมอถ้าเราเล่าว่า “ทำงานได้แล้วครับ แต่ผมเหมือนขี้เกียจๆเอง” แล้วหมอก็จะคงให้เราอยู่ตรงนี้ต่อไป หลายคนเป็นปี อยู่กับความรู้สึกท้อแท้ ไม่มีอนาคต ไม่ดีเพรสขนาดติดเตียง แต่ไม่มีความสดชื่นแบบคนทั่วไป

image-17

ดังนั้นเราควรตั้งเป้าหมายการรักษาให้ชัดเจน เราจะต้อง​ “โอเค” จริงๆ และนิยามคำว่าโอเคคือ เราจะ “รู้สึกปกติเหมือนก่อนป่วย”

หรือถ้านึกไม่ออก พูดง่ายๆคือ ตอนนั้นเราจะไม่รู้สึกว่าตัวเองป่วย ชีวิตเราจะมีปัญหาก็ได้ รื่นเริงก็ได้ เหมือนคนทั่วไป เมื่อเรานิยามเป้าหมายแล้ว ก็ยืนยันกับหมอให้ชัดเจนเสมอว่า อาการตอนนี้เรา “โอเค” แล้วจริงๆหรือเปล่า ถ้าไม่ก็ขอให้หมอปรับยาไปจนกว่าเราจะโอเคจริงๆ

หรือถ้ารักษาไปนานแล้วไม่หายสักที หรือดูท่าทีหมอไม่ค่อยใส่ใจเรา เราก็เปลี่ยนหมอได้เหมือนโรคอื่นๆ

4) จดโน้ตหัวข้อ เรื่องที่ตั้งใจจะเล่า และ คำถามที่ตั้งใจจะถาม

เมืองไทยมีจิตแพทย์น้อยมาก ดังนั้นจิตแพทย์จะมีเวลาให้เราแต่ละคนน้อย ถ้าเราไปนั่งนึกเอาตอนนั้นจะเสียเวลาอันมีค่าไปเปล่าๆ ยิ่งถ้าเราไม่เคยเล่าปัญหาให้ใครฟังจะยิ่งเล่าไม่ออก ดังนั้นเราต้องเตรียมตัวไปก่อนทุกนัด อย่างน้อยระหว่างนั่งรอพบหมอก็ใช้เวลานี้เตรียมตัวไปก็ได้

ให้จดโน้ตเป็นข้อๆ เรื่องที่ตั้งใจจะเล่า และ คำถามที่ตั้งใจจะถาม ใส่กระดาษหรือมือถือไว้ พอเจอหมอก็เล่าไปแล้วก็ขีดทิ้งไปทีละข้อ ทำแบบนี้ก็มั่นใจได้ว่าจะเล่าและถามได้ครบ ไม่งั้นหลายคนออกจากห้องตรวจแล้วจะเจ็บใจทุกที เพราะตั้งตัวไม่ทันเลยไม่ได้คุยอะไรกับหมอเลย

โรคจิตเวชรักษาหายได้

เป็นความลับที่คนไม่รู้ โรคจิตเวชรักษาหายได้เป็นเรื่องปกติ คนป่วยส่วนใหญ่รักษาไปก็หาย แต่สังคมไม่รู้สึกแบบนั้นเพราะอะไร? เพราะเราเคยเห็นคนเป็นหวัดแล้วหาย แต่เราไม่เคยเห็นคนเป็นโรคซึมเศร้าแล้วหาย เพราะอะไร? เพราะเค้าเล่าไม่ได้ใช่ไหม

เสร็จแล้วพอเราไม่เข้าใจเลยไม่ยอมรักษา หรือรักษาไปแล้วตกอยู่แถวดีเพรสอ่อนๆ (เพราะปัญหาการสื่อสาร) ก็เลยโอเค ทนไปเพราะคิดว่าไม่มีทางหาย

เอาใหม่ คิดใหม่ โรคจิตเวชหายได้ เพียงแต่เป็นโรคที่เราต้องทุ่มเทมากพอๆกับงานในอาชีพของเรา จะได้ไม่เกิดความผิดพลาดอย่างที่เล่าในบทความนี้ ที่จะทำให้การรักษาใช้เวลานานขึ้นโดยไม่จำเป็น 4 ข้อที่เราต้องทำก็แค่ (1) ตกลงแผนฉุกเฉินกับหมอ (2) ไม่หยุดยาเองเด็ดขาดแม้แต่วันเดียว (3) นิยามคำว่า “โอเค” (4) โน้ตเรื่องที่จะคุย

แล้วถ้าเรามีวินัย (1) หาหมอ (2) กินยาตรงเวลา (3) นอนตรงเวลาและเพียงพอ (แถมออกกำลังกายประจำด้วยยิ่งดี) ทำแบบนี้ยังไงก็หาย ผมเห็นหลายคนที่คุยกันในกรุ๊ปที่ทำแบบนี้จะหายเร็วมาก ภายใน 6 เดือนถึง 1 ปีครึ่งก็ได้หยุดยาแล้ว ส่วนคนที่หายช้าเกิดจากหยุดยาเอง (โดยตั้งใจหรือพลาด) เกือบ 100% (นอกนั้นคือเริ่มรักษาช้า)

ถ้าคุณไม่ชอบโรคนี้ ทำตามบทความนี้ทุกข้อ แล้วคุณจะผ่านมันไปได้เร็วที่สุด ถ้าต้องการเพื่อนร่วมทาง ไม่ต้องต่อสู้กับโรคนี้คนเดียวก็ สมัครเข้ามาในซัปพอร์ตกรุ๊ปของเรา และหากคุณรู้จักใครที่กำลังต่อสู้อยู่กับโรคนี้ก็แชร์บทความนี้ให้เค้าด้วย

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รู้สึกแย่ดิ่งสุดๆ ทำไงถึงจะหาย

ถามกันบ่อยที่สุดคือกำลังดิ่งจะทำยังไงดี ปัญหาคืออธิบายตอนนั้นก็ไม่มีสติพอจะเข้าใจอยู่ดี ดังนั้นทุกคนควรเรียนรู้เทคนิคนี้ไว้ล่วงหน้า มันมาจากจิตบำบัดแบบ ACT ( defusion ) ซึ่งมีงานวิจัยจำนวนมากว่าได้ผล แล้วนำมาประยุกต์กับ วิธีเจริญสติแบบเคลื่อนไหว ซึ่งเหมาะกับสถานการณ์ช่วงวิกฤติ วิธีทำก็ง่ายมาก จะยากตรงมันตรงข้ามกับคอมมอนเซนส์ เพราะเราเข้าใจธรรมชาติของใจเราผิดมาตลอด แต่ลองทำดูแล้วก็จะเข้าใจเอง เพราะทุกคนที่จัดการมันได้ ต่างก็ค้นพบเทคนิคนี้ได้เองจากการลองผิดลองถูก ความรู้สึกแย่เกิดจาก “ ความคิด”  เสมอ ความรู้สึกแย่ (เช่นโกรธ เสียใจ น้อยใจ กังวล​) เกิดจาก ความคิด ของเรา เสมอ ไม่เคยเกิดจากอย่างอื่น เช่น เขา พูดไม่ดีกับเราเมื่อเย็นวาน ปรากฏตอนนี้เราก็ยังรู้สึกแย่อยู่ ทั้งที่ไม่ได้ยินคำพูดนั้นแล้ว แต่เราเองเป็นคนเล่นซ้ำคำพูดที่เราเกลียดนั้นในหัวเรามาตลอด เขา เป็นต้นเหตุของความคิดนี้ใช่ แต่ ตอนนี้ ที่กำลังรู้สึกแย่ เกิดจาก ความคิดนี้ ของเรา เอง ที่ผ่านมาตอนนั้นเรามักจะโฟกัสความผิดที่ เขา  ซึ่งยิ่งทำให้ความคิดเราวนเวียนหนักขึ้นเรื่อยๆ ความคิดยิ่งมาก ความรู้สึกเราก็ยิ่งแย่ ดิ่งลงไปเร

ลิเธียม ยาดีที่ต้องใช้ให้เป็น

สำหรับคนที่เป็นไบโพลาร์ก็จะได้ทาน ยาคุมอารมณ์ (mood stabilizer) เพื่อจะได้ไม่ต้องมีช่วงแมเนีย และลิเธียมก็คือยาคุมอารมณ์ที่นิยมมากที่สุดตัวหนึ่ง เพราะได้ผลดี, ผ่านมาวิจัยมานานมาก, ราคาถูก และมีส่วนช่วยป้องกันช่วงดีเพรส แต่ลิเธียมเป็นยาที่ใช้ยากนิดนึง เพราะหมอจะต้องค่อยๆปรับยาขึ้นจนกว่าเราจะมียาในเลือดระดับที่พอดี ถ้าน้อยไปมันก็จะไม่ทำงาน ถ้ามากไปก็จะเกิดอาการลิเธียมเป็นพิษ หลายคนที่หมอสั่งลิเธียมให้ พอได้ยินเรื่องลิเธียมเป็นพิษเลยวิตกกังวลหนัก จนความวิตกกังวลนี้กลายเป็นผลข้างเคียงซ้ำซ้อนเข้าไปอีก ดังนั้นคนที่ทานยาตัวนี้จึงต้องเรียนรู้เพิ่มเติมสักนิดนึงเกี่ยวกับมัน บทความข้างล่างนี้มาจากคอลัมน์พบหมอรามา อ่านง่ายและครบถ้วนดี แต่ก่อนอื่นผมจะเกริ่นถึงประเด็นที่ทำให้กังวลกันก่อน ผลเสียจากลิเธียมจะมีอยู่ 2 ลักษณะ ถ้าแยกจากกันได้แล้วจะใช้มันได้อย่างสบายใจ ผลข้างเคียง ​ คือผลเสียในโดสปกติ  อาการลิเธียมเป็นพิษ  คืออาการป่วยเพราะมีลิเธียมในเลือดสูงเกินไป อาจจะเพราะได้ยามากเกินไป (เช่นโอเวอร์โดส) หรือเพราะสภาพร่างกายผิดปกติไปมากทำให้ขาดน้ำหรือเกลือแร่ บางคนเข้าใจว่าตัวเองแพ้ลิเธียม

ท็อป 5 ความเข้าใจผิด โรคซึมเศร้าไม่ใช่อย่างที่คิด

โรคซึมเศร้าเป็นคนละอย่างกับอารมณ์เศร้า แต่ชื่อโรคภาษาไทยชวนให้เข้าใจว่า มันก็แค่ความรู้สึกซึมๆเศร้าๆอย่างที่ทุกคนรู้จัก แถมคำอธิบายเกลื่อนเน็ตก็กว้างซะจน ทุกคนอ่านก็คิดว่าตนเคยเป็นโรคนี้ และสามารถวินิจฉัยว่าคนอื่นว่าเป็นหรือไม่ โดยไม่ต้องเสียเวลาเรียน 10 ปีอย่างจิตแพทย์ แต่โรคซึมเศร้าก็เหมือนหลายโรคที่มีความซับซ้อนจนต้องมีแพทย์เฉพาะทาง มันมีรายละเอียดมากและไม่เหมือนกับที่คนเข้าใจเลย แต่เนื่องจากคนส่วนใหญ่ไม่มีความรู้เรื่องนี้เลย เราจึงรู้สึกว่าเรารู้จักมันดีอยู่แล้วด้วยคอมมอนเซนส์ล้วนๆ ต่อไปนี้คือความเข้าใจที่ผิดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในบ้านเรา (1)  โรคซึมเศร้าไม่มีจริง (2)  ที่เรียกโรคซึมเศร้าก็คือความเศร้า (3)  ฉันก็เคยเป็น แต่ฉันไม่ยอมแพ้ (4)  มันอยู่ที่ใจแค่นั้น สู้ๆ ลุกขึ้นมาก็หายแล้ว (5)  หมอกุเรื่องขึ้นมาเพื่อให้บริษัทยารวย 1 ความเชื่อ: โรคซึมเศร้าไม่มีจริง  โรคจิตเวชจะต้องเสียสติเป็นคนบ้า ความจริง:  องค์การอนามัยโลกบอก ว่า 300 ล้านคนเป็นโรคซึมเศร้า (MDD) นั่นมากกว่า 4% ของประชากรโลก  ส่วนในไทย ปี 2551 กรมสุขภาพจิตประมาณว่ามี คนไทย 1.5 ล้านคน เป็นโรคซึมเศ

เจอปัญหาที่แก้ไม่ได้ทำไงดี

เหมือนชีวิตกำลังเล่นปิงปองกับเรา ตีลูกยากง่ายใส่เราตลอดเวลา เรื่องกวนใจ ปัญหา ความสูญเสีย. บางคนเจอปัญหาแล้วจมอยู่ตรงนั้น ประทัวง “ลูกยากไม่เล่น”. บางคนยากง่ายรับหมดเต็มที่ เจอลูกยากอาจล้มเข่าถลอกแต่รีบลุกเล่นต่อ. ทำได้ไงอะ? ชัยจะต้องพรีเซ็นต์หัวข้อแรกตอนเช้าในงานสัมมนาของผู้บริหารหลายองค์กร. เช้านี้รถติดสาหัส. เขาร้อนใจจึงโทรไปบอกผู้จัดว่ากำลังจะถึง ให้เตรียมที่จอดรถไว้ให้เพราะปกติจะเต็ม. เกือบเฉี่ยวชนหลายหน แต่รถเขาก็ถึงสถานที่ตรงเวลาพอดี. เขาพารถไปโซน VIP ช่องที่มีเลขทะเบียนรถเขา แต่ยามไม่ให้จอด. เหลือเชื่อตัวเลขผิดไปหลักนึง. ยามให้วนขึ้นไปจอดในอาคาร บอกดาดฟ้ามีที่ แต่เขาไม่มีเวลาแล้ว. มันไม่ถูก เขาเถียง ช่องนี้เตรียมไว้ให้เขา ไม่ยุติธรรมเลย. รถข้างหลังต่อแถวยาวขึ้นๆ. เขายิ่งเถียงเสียงดังขึ้นๆ เลขผิดนิดเดียว เขาจอดโซนนี้ประจำ เจ้านายคุณรอเขาอยู่ ฯลฯ แต่ยามไม่ฟัง. ชีวิตเรามีปัญหาตลอด ในชีวิตเราจะพบกับปัญหาที่แก้ไม่ได้ และความเปลี่ยนแปลงที่ไม่ต้องการ อยู่ตลอดเวลา. แต่เราพยายามมองไม่เห็นมัน. ถ้าเรื่องเล็กเราก็แค่สะสมความเครียด. เช่นเวลาหาของไม่เจอ, เพื่อนทำไม่ถูกใจ, โดนดูถูก ฯลฯ. ถ้

จะกินยา หรือไม่กินดี?

โชคดีมากที่ปัจจุบันโรคซึมเศร้าและไบโพลาร์สามารถรักษาได้ด้วยยา คนไข้ที่มีวินัยหาหมอกินยา 6 เดือนถึงปีกว่าส่วนใหญ่ก็จะหายและได้หยุดยา สาเหตุใหญ่ที่ทำให้บางคนไม่หายคือ “ไม่อยากกินยา” จะกินไม่กินดี? เมื่อไม่อยากกินยา แต่หมอสั่งให้กิน เราจะเกิดอาการลังเล “จะกินไม่กินดี?” แล้วลงเอยที่ “กินๆหยุดๆ” ซึ่งแย่กว่าไม่กินเสียอีก สภาวะนี้ทำให้เครียดหนักมาก กินก็รู้สึกแย่ ไม่กินก็อาการแย่ สับสนตำหนิตัวเองวนไปวนมา จะทำยังไงดี?

เป็นโรคจิตเวชไม่ได้ทำให้รอดคดีอาญา

ข่าวดราม่าที่ผู้ก่อเหตุเผยว่าเป็นโรคจิตเวช คนมักจะมองว่า “หงายการ์ดป่วย” โกหกว่าป่วยเพื่อเอาตัวรอด เพราะเข้าใจผิดว่าใครทำให้ศาลเชื่อว่าป่วยจิตเวช แล้วศาลจะให้พ้นผิดไปเลย เนื่องจากสังคมไทยยังเข้าใจผิดว่าผู้ป่วยจิตเวชคือคนบ้า และเชื่อว่ากฎหมายบอกว่าคนบ้าทำอะไรก็ไม่ผิด กรณีแบบนี้คนจึงพากันโกรธแค้นเพราะนึกว่าเขาจะไม่ต้องรับโทษจริงๆ ความเชื่อคนบ้าทำอะไรไม่ผิด เกิดจากคนส่วนใหญ่เห็นข่าวแบบนี้เฉพาะตอนเกิดเหตุเป็นดราม่าว่าอ้างป่วยจิตเวชแล้วทำอะไรก็ไม่ผิด แต่ตอนศาลพิพากษาลงโทษข่าวจะเงียบ ทุกคดีความจำของสังคมจึงสรุปตามดราม่าว่าศาลยกโทษเสมอ ทั้งที่จริงๆแล้วศาลลงโทษทุกที จริงๆกฎหมายอาญาไม่ได้ระบุให้เว้นโทษกับผู้ป่วยโรคใดโรคหนึ่ง  มาตรา 65 บอกว่าเฉพาะกรณีที่ขณะกระทำความผิด จำเลยไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ (ที่เรียกกันว่าวิกลจริต) จึงจะไม่ต้องรับโทษ ดังนั้นเมื่อผู้ก่อเหตุเผยว่าเป็นโรคจิตเวชใดๆก็ยังไม่มีผลอะไร นอกจากจะทำให้สังคมเกลียดเขามากขึ้นจากความเข้าใจผิดข้างต้น การโกหกให้ศาลไทยเชื่อว่าวิกลจริตขณะก่อเหตุ แทบเป็นไปไม่ได้ เพราะนอกจากจะต้องหลอกจิตแพทย์แล้ว ศาลไทยก็ไม่ได้ฟั

ฉันกำลังดีเพรสหรือเปล่า หรือฉันกำลังแมเนีย

เวลาพบหมอ มันสำคัญมากที่เราจะต้องสามารถสื่อสารว่า ช่วงที่ผ่านมาเราอาการเป็นไง สัปดาห์ไหนปกติ สัปดาห์ไหนดีเพรสบ้าง และ (สำหรับไบโพลาร์) สัปดาห์ไหนแมเนียหรือเปล่า. เมื่อเข้าใจโรคเพียงคร่าวๆ คนมักจะคิดว่าดีเพรสคือเศร้านานๆ แมเนียคือรู้สึกดีหรือก้าวร้าวนานๆ ซึ่งถูกเพียงส่วนเดียว. เมื่อเข้าใจนิยามของอาการเหล่านี้ไม่ตรงกับหมอ เวลาเราเล่า หมอก็จะเข้าใจอาการไม่ตรงกันเรา. ผลคือหมอก็จะปรับยาผิด เพราะเข้าใจอาการผิด เช่นเราดีเพรสอย่างเดียวมานานแล้ว แต่วีนแฟนบ่อยเพราะปัญหาชีวิตคู่. เราเล่าอาการทีไรหมอก็คิดว่าแมเนีย เลยให้แต่ยาคุมอารมณ์. ความเข้าใจผิดแบบนี้ทำให้การรักษาไม่คืบหน้า เพราะยาไม่ช่วยให้อาการหายหมดสักที จนบางคนท้อกับการรักษา. เพื่อไม่ให้เกิดปัญหานี้ เราต้องเข้าใจอาการของโรคตรงกับนิยามที่หมอใช้. เมื่อสื่อสารกับหมอได้อย่างมีประสิทธิภาพ การรักษาก็จะก้าวหน้า เราก็จะมีอาการน้อยลง และสามารถใช้ชีวิตปกติได้มากขึ้นเรื่อยๆ.

วอนใช้คำให้ถูก โรคไบโพลาร์ไม่ใช่ที่เห็นในสื่อและละคร

วันนี้ 30 มีนาคม 2561 เป็น วันไบโพลาร์โลก  วันที่เราชวนให้โลกหันมาทำความรู้จักโรคไบโพลาร์¹ เพื่อกำจัดตราบาปในสังคม บ้านเรามีตราบาปโรคนี้ที่ไม่เหมือนที่อื่น เราใช้ชื่อไบโพลาร์เป็นคำด่านักการเมือง หรือคนที่เรากลียดชนิดไม่มีคำไหนสื่อระดับความเลวได้  เพราะหลักสูตรเราไม่ได้สอนเรื่องโรคจิตเวชกับเด็กๆ พอคนเห็นชื่อไบโพลาร์แปลว่าสองขั้ว ก็คิดเอาเองว่าคนป่วยจะเป็นคน ① สองบุคลิก วันนึงเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย ② สองหน้า โกหกพลิกไปมาหน้าตาเฉย ③ เอาแต่ใจ ขี้วีน คุมตัวเองไม่ได้ ④ เสพติดความรุนแรงแบบฆาตกรโรคจิต ซึ่งทั้งหมดอาจจะเป็นโรคจิตเวชก็ได้ แต่เป็นโรคอื่นที่ไม่ได้ใกล้เคียงกับไบโพลาร์สักนิด โรคไบโพลาร์ ในทางการแพทย์คือ ในทางการแพทย์ โรคไบโพลาร์   เป็น โรคทางสมอง ² ที่ทำให้มี บางเดือนเปลี่ยนไปแบบทุกวันหมดพลัง ท้อแท้ (เหมือนโรคซึมเศร้า) บางสัปดาห์/เดือนเปลี่ยนไปแบบทุกวันพลังล้นไฮเปอร์ มั่นใจเกินร้อย ช่วงที่เหลือ (เวลาประมาณ 50%³) ก็ปกติเหมือนตอนก่อนป่วย ความผิดปกติของสมองผู้ป่วยไบโพลาร์ ก็เหมือนคนเป็นไมเกรนไม่ได้ปวดหัวตลอดเวลา เขาจะปวดเฉพาะเวลาอาการกำเริบ สำหรับไบโพลาร์ช่วง 1 และ 2

ถ้าอยากหาย อย่าอยากหายเร็วๆ ให้คิดแบบนี้แทน

โรคเรานั้นรักษาไปก็หาย แต่ความที่มันทรมาน เราก็มักจะอยากหายเร็วๆ แต่มันไม่ใช่แค่หวัดที่จะหายได้ในไม่กี่วัน แม้อาการบางอย่างเช่นนอนไม่หลับอาจจะดีขึ้นเร็ว แต่อาการดีเพรสกว่าจะดีขึ้นก็เป็นเดือน ถ้าเราอยากหายเร็วๆมันจะทรมานสุดๆ จนสุดท้ายบางคนจะยอมแพ้ไปก่อน ฆ่าตัวตาย หรือไม่ก็เลิกรักษา ทั้งที่อาการก็ดีขึ้นแล้ว และถ้ารักษาต่อไปก็จะหายแน่ๆ แต่การรอคอยนั้นทรมานเกินไป ก็เลยหยุดยาเอง แล้วก็ได้พบกับนรกที่แย่กว่าอาการตอนแรกเสียอีก แล้วก็วนกลับมาเริ่มต้นรักษาใหม่ แต่คราวนี้ยาตัวเดิมอาจไม่ได้ผลเหมือนเก่า การรอคอยนั้นทรมานกว่าอาการของโรค ถ้าเรารอคอยนับวันเมื่อไหร่จะหาย แต่ละนาทีจะยาวนานเหมือนเวลาเดินช้ามาก ความทรมานส่วนนี้จะมากกว่าอาการของโรคทีแรกเสียอีก เหมือนไม่ใช่แค่รอคอยเฉยๆ แต่มีไฟลนหัวใจเราไปด้วย โชคร้ายที่เราจะแยกไม่ออกว่า ความเจ็บปวดส่วนไหนคืออาการของโรค ส่วนไหนมาจากการรอคอย ต่อเมื่อเลิกรอคอยแล้วเราจึงจะเห็นกับตา เมื่อความทรมานหายไป แต่มันยากสุดๆที่ใครจะเชื่อว่าการอยากหายนั้นเป็นโทษ เพราะความอยากหายนั้นเป็นคอมมอนเซนส์มากๆ แล้วมันก็เวิร์กในกรณีทั่วไปด้วย “ต้องอยากได้อันนั้นสิ ถึงจ

กลยุทธ์การคืนสู่สุขภาวะของป้าหนู

Pa Noo's Recovery Strategy โดยป้าหนู รัชนี แมนเมธี ป้าหนูขอแบ่งกลยุทธ์เป็น 4 ช่วงเวลาดังนี้ พ.ศ. 2545–2547 : ช่วงเปลี่ยนผ่าน พ.ศ. 2548–2558 : ช่วงปานสายใยแห่งรัก พ.ศ. 2559–2566 : ช่วงประจักษ์ตัวตน พ.ศ. 2567 - หมดลมหายใจ : ช่วงค้นพบตัวเอง 1. ช่วงเปลี่ยนผ่าน พ.ศ. 2516 ป้าเริ่มสอนหนังสือ พอถึง พ.ศ. 2545 ป้าป่วยเป็นโรคซึมเศร้า กว่าจะได้เข้ารับการรักษา ปี พ.ศ. 2546 ปี 2546 ปลายๆหมอบอกป้าหายป่วย แต่ป้ายังรู้สึกชีวิตมืดมน 1 เม.ย. 2547 ป้าได้เกษียณก่อนกำหนด ( Early Retire ) เป็นวันแรก 2. ช่วงปานสายใยแห่งรัก ป้าได้มีโอกาสเรียนรู้ และเป็นกรรมการสมาคมสายใยครอบครัว ซึ่งช่วงนี้เป็นช่วงที่ป้ามีความสุขมาก เพราะได้ฟื้นพลังชีวิต ป้าได้เห็นคุณค่าในตนเองมาก 3. ช่วงประจักษ์ตัวตน ป้าได้นำประสบการณ์ช่วงที่ 2 และประสบการณ์ที่มีมาตั้งแต่เดิมมาใช้ประโยชน์ในการทำงานเพื่อส่วนรวมได้มากมายมหาศาล 4. ช่วงค้นพบตนเอง ป้าตกผลึกชีวิตตนเองเรียบร้อย เพราะได้ประจักษ์ตัวตนของตัวเอง รู้ว่าตนมีจุดแข็ง - จุดอ่อน, มีโอกาส - ถูกคุกคาม อะไรอย่างไร เห็นคุณค่าและภูมิใจในตนเองว่าสามารถทำประโยชน์ให้มนุษยชาติได้อย่างไรมากที่สุดตาม