ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

จัดการความโกรธโดยสัมผัสความรู้สึก

Babyrage

ความคิดและความรู้สึกคืออะไร

วิธีจิตบำบัดหลายแบบมีเวอร์ชัน self-help ด้วย คืออ่านหนังสือแล้วก็ฝึกตาม ผมได้ประโยชน์จาก DBT เยอะมากเกี่ยวกับวิธีคิดในการจัดการอารมณ์ แต่คงปฏิบัติไม่จริงจังเลยทำไม่สำเร็จ จนกระทั่งได้อ่านเกี่ยวกับ ACT ซึ่งมีวิธีฝึกเป็นขั้นเป็นตอน ตอนอ่านก็เริ่มเข้าใจทฤษฎีเกี่ยวกับความคิดและความรู้สึก แล้วเมื่อลงมือฝึกก็ได้เห็นกับตาว่ามันเป็นแบบนั้นจริงๆ (ไว้จะพูดถึง ACT ละเอียดขึ้นอีกทีภายหลัง)

ความคิดทำงานของมันเอง

ความคิดมันทำงานของมันเอง เราสั่งมันโดยตรงไม่ได้ เราได้ยินความคิดตัวเองตลอดเวลาเลยนึกว่าเราเป็นคนคิด แต่เปล่าหรอก ACT เปรียบความคิด เหมือนวิทยุที่เพื่อนบ้านเปิดทิ้งไว้ มันจะว่าของมันไปเรื่อยๆ เราหยุดมันไม่ได้ จะเลือกช่องก็ยังไม่ได้เลย

ความเข้าใจเรื่องนี้สำคัญมาก เพราะเวลาโกรธ ความโกรธจะกระซิบบอกเราว่า ให้ "ทำ/พูด ... ซิ แล้วเราจะหายโกรธ" ซึ่งเมื่อเราทำตามแล้ว ผลจะตรงข้ามเสมอ แต่เราก็เชื่อความคิดนี้ทุกที เมื่อเข้าใจจริงๆว่าความคิดทำงานของมันเอง ไม่ใช่ทุกความคิดจะหวังดีกับเรา หลังจากนั้นเราจะเริ่มสงสัยมัน และเลิกทำตามมันในที่สุด แน่นอนอันนี้ต้องใช้เวลาเรียนรู้นานมาก แต่ทุกครั้งที่เราพลาดทำตามมันแล้วตกนรก เราก็จะค่อยๆเข็ดขึ้นทุกที เพราะรู้อยู่ว่าทางเลือกอีกทางคืออะไร

ความรู้สึกเป็นเพียงสัญญาณบอกข้อมูล

ความรู้สึกเป็นสัญญาณบอกข้อมูลบางอย่างกับเรา ความอยาก (เช่นอาหาร) ทำให้เราหาอาหารมาทาน ถ้าใครไม่มีก็จะต้องตาย, ความกลัว (เช่นรถชน) ทำให้เราหนีจากสิ่งนั้น ถ้าใครไม่มีก็จะต้องตาย, ความเศร้า (เช่นเสียคนรัก) ทำให้เรารักษาความสัมพันธ์ ทำให้เราตามหาคนรักเมื่อหายไป ถ้าใครไม่มีก็จะอยู่ร่วมสังคมไม่ได้

ความโกรธ เป็นสัญญาณว่าเราไม่พอใจบางอย่าง และเราควรจะจัดการกับมันโดยเร็วที่สุด มันเป็นแรงจูงใจให้เราแก้ไขสิ่งต่างๆให้ถูกต้องและเป็นประโยชน์ ถ้าขาดมันโลกคงจะเหมือนเดิมทุกวันไปตลอด มีปัญหาเท่าเดิม ไม่เคยมีการพัฒนา

ความรู้สึกเป็นเพียงข้อมูลที่ให้เรารับรู้ พร้อมคำแนะนำในรูป “ความคิด” ว่าเราควรจะทำอะไร คำแนะนำนั้นบางทีก็มีประโยชน์ บางทีก็มีโทษ แต่ “ความรู้สึกนั้นจริงเสมอ” พูดอีกอย่างคือเราไม่ต้องเชื่อ (ให้ราคา) ความคิด แต่เราต้องฟังความรู้สึกตัวเอง

ความรู้สึกเป็นเพียงข้อมูล ไม่บวกไม่ลบ ไม่มีโทษ มีแต่ประโยชน์ เพียงแต่เราจะแบ่งความรู้สึกเป็นสองกลุ่ม คือความรู้สึกที่เราชอบ เพราะให้ความสุข กับความรู้สึกที่เราเกลียด เพราะให้ความทุกข์ ความชอบหรือเกลียดนี่แหละที่บังคับให้เราต้องทำตามคำแนะนำของมัน เช่น เราชอบความอร่อย เราเลยทำตามคำแนะนำที่ให้กินต่อไปเรื่อยๆ ทั้งที่มันเป็นโทษกับตัวเอง

ความทุกข์ ความทรมาน และสโนว์บอล

เมื่อมีเรื่องอะไรที่ทำให้เราโกรธ เราก็จะ “ทุกข์” (pain) ระดับนึงเพราะความโกรธนั้น ไม่ได้มากมาย พอทนได้ แต่เนื่องจากเราเกลียดความโกรธ เราจึงรับไม่ได้เลยกับความทุกข์นั้น ตอนนี้เราเลยเพิ่มความ “ทรมาน” (sufferring) ขึ้นมาอีกอย่าง ความทรมานนี้จะเสริมแรงให้ความทุกข์มากขึ้น แล้วความเกลียดความโกรธก็จะสร้างความทรมานมากขึ้นอีก วนไปอย่างนี้เป็นวงจรอุบาทว์ เหมือนกลิ้งหินลงจากภูเขาหิมะแล้วมันจะโตขึ้นเรื่อยๆกลายเป็นสโนว์บอลลูกใหญ่เท่าบ้าน

ความทรมานนี้เองที่ทำให้เราทนไม่ได้ กลายเป็นระเบิดเวลาที่นับถอยหลังไปทีละวินาที วินาทีตอนนั้นจะนานพอๆกับชั่วโมง เราจึงต้องทำตามคำแนะนำของความโกรธ เช่นให้วีนใส่คนที่เราโกรธ ทั้งที่ทำแบบนั้นสุดท้ายเราจะโกรธมากขึ้น แล้วก็พาชีวิตเราและเค้าลงนรกไปพร้อมกัน

คนที่จัดการความโกรธได้ คือคนที่โกรธได้

จริงๆคำแนะนำในการจัดการความโกรธก็มักจะให้แนวทางแบบนี้ แต่เหมือนเราอ่านแล้วจะไม่เข้าหัว เหมือนคนเขียนคงจะพิมพ์ผิด เลยเห็นแต่คำแนะนำสำเร็จรูปพวกนับ 1 ถึง 10 แต่นี่แหละคือวิธีที่แท้จริง ซึ่งจะต้องใช้เวลาฝึกฝนนาน แต่สุดท้ายแล้วจะได้ผลจริงๆ

จะเข้าใจความจริงข้อนี้ลองสังเกตดูคนที่ไม่มีปัญหาโกรธเว่อร์เหมือนเรา เค้าโกรธเป็นไหม? เค้าก็โกรธเป็นเหมือนเรา ส่วนใหญ่จะโกรธบ่อยกว่าเราอีก เพราะเราโกรธทีคือโลกแตกไปเลย แต่พวกเค้าจะโกรธได้เรื่อยๆทั้งวัน โดยที่ยังทำอะไรต่อไปได้ เพราะไม่ได้เก็บกดแต่ละครั้งไว้ด้วย เค้าเลยไม่ไประเบิดกับฟางเส้นสุดท้ายที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่แบบเรา

คนทั่วไปเค้าโกรธได้เรื่อยๆเป็นเรื่องธรรมดาตลอดทั้งวัน ปัญหาของเราคือ “เราโกรธไม่ได้เลย” บางทีเราก็คิดในใจว่า “ใครอย่ามาทำฉันโกรธนะ เป็นเรื่อง” บางทีเราก็เตือนคนใกล้ตัวแบบนั้น

ทำอย่างไรจะโกรธได้

1. ไม่ทำตามคำแนะนำของความโกรธ

มันช่วยได้มาก ถ้าเราตั้งใจอย่างแน่วแน่ว่า “ฉันจะไม่ทำร้ายใครทางกายหรือวาจาเด็ดขาด” คำแนะนำของความโกรธ ถ้าบอกให้ทำร้ายใคร เราจะไม่ทำ เป็นเส้นที่เราจะไม่ข้ามไปเด็ดขาด การขีดเส้นไว้ล่วงหน้า ทำให้พอถึงเวลาเราไม่ต้องลังเลว่าจะทำหรือไม่ทำ ซึ่งจะลงเอยที่ทำเสมอ

2. ไม่เกลียดความโกรธ

ความโกรธเป็นเพียงข้อมูลกลางๆบอกเราว่ามีเรื่องที่เราไม่พอใจ มันไม่ดีไม่ร้าย ไม่จำเป็นต้องเกลียดมัน เป็นเพื่อนกับมันก็ดี เพราะเจอกันอยู่บ่อยๆตั้งแต่เด็ก น่าจะทำความรู้จักกันได้แล้ว ลองดูซิว่าความทุกข์จากความโกรธมันรู้สึกยังไง ทุกครั้งที่โกรธให้ “รู้ สึก” มันจริงๆอย่างไม่รังเกียจ (own it)

3. ยอมรับความทุกข์จากความโกรธ แล้วจะไม่ทรมาน

ความโกรธจะต้องมาพร้อมความทุกข์ระดับนึง (เหมือนความกลัว ความหิว ความอยาก ฯลฯ) ความทุกข์อันนั้นเลี่ยงไม่ได้ แต่จะอยู่ในระดับที่ทุกคนทนได้ ไม่ได้มากเท่ามีดบาดด้วยซ้ำไป ถ้าเรายอมรับมันจริงๆ เราก็จะไม่เกลียดความโกรธ เราก็จะไม่เกิดความทรมาน ทำยังไงจะยอมรับมันได้? ก็โดย “รู้สึก” มันตรงๆ (own it) ไม่ผลักไสไล่ส่งมันไป

เปิดพื้นที่ให้มันอยู่ในใจ “นั่งตรงนี่นะ” เหมือนต้อนรับเพื่อนในบ้าน โอเคกับความโกรธ เลิกอยากให้มันหาย เพราะมันเป็นเพื่อนเรา เป็นเพื่อนที่ทำให้เราอึดอัดใช่ แต่ก็เป็นเพื่อน ถ้าเรามองเห็นมันเป็นศัตรูเมื่อไหร่ ความทรมานก็จะเข้ามา คราวนี้มันสั่งให้ทำอะไร เราก็จะทำตามทันที ทำตามคำแนะนำของศัตรูก็ได้ในเวลานั้นแปลกดี

4. อย่าเก็บกด

ถ้าเก็บกด มันจะสะสมไประเบิดในที่สุด แต่จะรู้ได้ไงว่ากำลังเก็บกด? โดยดูว่าเราทำตามข้อ 1 ได้ด้วยความ “อดทน” หรือด้วยการเป็นเพื่อนกับความโกรธ ถ้าเราต้องใช้ความอดทนเป็นหลัก แปลว่าเราอยากไล่ความโกรธไปไกลๆ ซึ่งเป็นวิธีที่ทำให้มันยังอยู่และมีกำลังแรงขึ้น ดังนั้นพยายามทำตามข้อ 3 แล้วจะพบว่าต้องขึ้นกับความอดทนน้อยลงๆ

5. ตระหนักว่าเราเลือกได้ที่จะลงนรกหรือไม่

อ่านมาถึงตรงนี้ก็จะเห็นว่าการลงนรกนั้นเราเลือกเอง เราเกลียดความโกรธของเราเลยเชื่อคำแนะนำมัน ซึ่งพาเราลงนรกไปพร้อมกับคู่กรณี ปัญหาคือความโกรธจะหลอกเราว่า เราเลือกไม่ได้ เราเป็นเหยื่อ เป็นผู้ถูกกระทำ เค้าเป็นคนที่เลือกว่าจะให้เราลงนรกหรือเปล่า ถ้าเค้าไม่ทำแบบนั้น เราสองคนก็จะแฮปปี้ในที่สุด

เราจะเชื่อคำโกหกของความโกรธแบบนั้นก็ได้ แต่ถ้า “เค้ายังทำแบบนั้น” เราก็จะต้องลงนรกเรื่อยไป เป็นการเอากุญแจนรกไปให้เค้า มอบเสรีภาพที่จะปั่นหัวเรายังไงก็ได้กับเค้า ทั้งๆที่อำนาจนี้เป็นของเรามาแต่เดิม เราไม่จำเป็นต้องคิดว่าเค้าถูกนะ เค้าอาจจะทำผิดเยอะแยะจริงก็ได้ แต่เราจำเป็นต้องอารมณ์ของเราไปขึ้นกับการกระทำของเค้าหรือเปล่า

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รู้สึกแย่ดิ่งสุดๆ ทำไงถึงจะหาย

ถามกันบ่อยที่สุดคือกำลังดิ่งจะทำยังไงดี ปัญหาคืออธิบายตอนนั้นก็ไม่มีสติพอจะเข้าใจอยู่ดี ดังนั้นทุกคนควรเรียนรู้เทคนิคนี้ไว้ล่วงหน้า มันมาจากจิตบำบัดแบบ ACT ( defusion ) ซึ่งมีงานวิจัยจำนวนมากว่าได้ผล แล้วนำมาประยุกต์กับ วิธีเจริญสติแบบเคลื่อนไหว ซึ่งเหมาะกับสถานการณ์ช่วงวิกฤติ วิธีทำก็ง่ายมาก จะยากตรงมันตรงข้ามกับคอมมอนเซนส์ เพราะเราเข้าใจธรรมชาติของใจเราผิดมาตลอด แต่ลองทำดูแล้วก็จะเข้าใจเอง เพราะทุกคนที่จัดการมันได้ ต่างก็ค้นพบเทคนิคนี้ได้เองจากการลองผิดลองถูก ความรู้สึกแย่เกิดจาก “ ความคิด”  เสมอ ความรู้สึกแย่ (เช่นโกรธ เสียใจ น้อยใจ กังวล​) เกิดจาก ความคิด ของเรา เสมอ ไม่เคยเกิดจากอย่างอื่น เช่น เขา พูดไม่ดีกับเราเมื่อเย็นวาน ปรากฏตอนนี้เราก็ยังรู้สึกแย่อยู่ ทั้งที่ไม่ได้ยินคำพูดนั้นแล้ว แต่เราเองเป็นคนเล่นซ้ำคำพูดที่เราเกลียดนั้นในหัวเรามาตลอด เขา เป็นต้นเหตุของความคิดนี้ใช่ แต่ ตอนนี้ ที่กำลังรู้สึกแย่ เกิดจาก ความคิดนี้ ของเรา เอง ที่ผ่านมาตอนนั้นเรามักจะโฟกัสความผิดที่ เขา  ซึ่งยิ่งทำให้ความคิดเราวนเวียนหนักขึ้นเรื่อยๆ ความคิดยิ่งมาก ความรู้สึกเราก็ยิ่งแย่ ดิ่งลงไปเร

ลิเธียม ยาดีที่ต้องใช้ให้เป็น

สำหรับคนที่เป็นไบโพลาร์ก็จะได้ทาน ยาคุมอารมณ์ (mood stabilizer) เพื่อจะได้ไม่ต้องมีช่วงแมเนีย และลิเธียมก็คือยาคุมอารมณ์ที่นิยมมากที่สุดตัวหนึ่ง เพราะได้ผลดี, ผ่านมาวิจัยมานานมาก, ราคาถูก และมีส่วนช่วยป้องกันช่วงดีเพรส แต่ลิเธียมเป็นยาที่ใช้ยากนิดนึง เพราะหมอจะต้องค่อยๆปรับยาขึ้นจนกว่าเราจะมียาในเลือดระดับที่พอดี ถ้าน้อยไปมันก็จะไม่ทำงาน ถ้ามากไปก็จะเกิดอาการลิเธียมเป็นพิษ หลายคนที่หมอสั่งลิเธียมให้ พอได้ยินเรื่องลิเธียมเป็นพิษเลยวิตกกังวลหนัก จนความวิตกกังวลนี้กลายเป็นผลข้างเคียงซ้ำซ้อนเข้าไปอีก ดังนั้นคนที่ทานยาตัวนี้จึงต้องเรียนรู้เพิ่มเติมสักนิดนึงเกี่ยวกับมัน บทความข้างล่างนี้มาจากคอลัมน์พบหมอรามา อ่านง่ายและครบถ้วนดี แต่ก่อนอื่นผมจะเกริ่นถึงประเด็นที่ทำให้กังวลกันก่อน ผลเสียจากลิเธียมจะมีอยู่ 2 ลักษณะ ถ้าแยกจากกันได้แล้วจะใช้มันได้อย่างสบายใจ ผลข้างเคียง ​ คือผลเสียในโดสปกติ  อาการลิเธียมเป็นพิษ  คืออาการป่วยเพราะมีลิเธียมในเลือดสูงเกินไป อาจจะเพราะได้ยามากเกินไป (เช่นโอเวอร์โดส) หรือเพราะสภาพร่างกายผิดปกติไปมากทำให้ขาดน้ำหรือเกลือแร่ บางคนเข้าใจว่าตัวเองแพ้ลิเธียม

ท็อป 5 ความเข้าใจผิด โรคซึมเศร้าไม่ใช่อย่างที่คิด

โรคซึมเศร้าเป็นคนละอย่างกับอารมณ์เศร้า แต่ชื่อโรคภาษาไทยชวนให้เข้าใจว่า มันก็แค่ความรู้สึกซึมๆเศร้าๆอย่างที่ทุกคนรู้จัก แถมคำอธิบายเกลื่อนเน็ตก็กว้างซะจน ทุกคนอ่านก็คิดว่าตนเคยเป็นโรคนี้ และสามารถวินิจฉัยว่าคนอื่นว่าเป็นหรือไม่ โดยไม่ต้องเสียเวลาเรียน 10 ปีอย่างจิตแพทย์ แต่โรคซึมเศร้าก็เหมือนหลายโรคที่มีความซับซ้อนจนต้องมีแพทย์เฉพาะทาง มันมีรายละเอียดมากและไม่เหมือนกับที่คนเข้าใจเลย แต่เนื่องจากคนส่วนใหญ่ไม่มีความรู้เรื่องนี้เลย เราจึงรู้สึกว่าเรารู้จักมันดีอยู่แล้วด้วยคอมมอนเซนส์ล้วนๆ ต่อไปนี้คือความเข้าใจที่ผิดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในบ้านเรา (1)  โรคซึมเศร้าไม่มีจริง (2)  ที่เรียกโรคซึมเศร้าก็คือความเศร้า (3)  ฉันก็เคยเป็น แต่ฉันไม่ยอมแพ้ (4)  มันอยู่ที่ใจแค่นั้น สู้ๆ ลุกขึ้นมาก็หายแล้ว (5)  หมอกุเรื่องขึ้นมาเพื่อให้บริษัทยารวย 1 ความเชื่อ: โรคซึมเศร้าไม่มีจริง  โรคจิตเวชจะต้องเสียสติเป็นคนบ้า ความจริง:  องค์การอนามัยโลกบอก ว่า 300 ล้านคนเป็นโรคซึมเศร้า (MDD) นั่นมากกว่า 4% ของประชากรโลก  ส่วนในไทย ปี 2551 กรมสุขภาพจิตประมาณว่ามี คนไทย 1.5 ล้านคน เป็นโรคซึมเศ

เจอปัญหาที่แก้ไม่ได้ทำไงดี

เหมือนชีวิตกำลังเล่นปิงปองกับเรา ตีลูกยากง่ายใส่เราตลอดเวลา เรื่องกวนใจ ปัญหา ความสูญเสีย. บางคนเจอปัญหาแล้วจมอยู่ตรงนั้น ประทัวง “ลูกยากไม่เล่น”. บางคนยากง่ายรับหมดเต็มที่ เจอลูกยากอาจล้มเข่าถลอกแต่รีบลุกเล่นต่อ. ทำได้ไงอะ? ชัยจะต้องพรีเซ็นต์หัวข้อแรกตอนเช้าในงานสัมมนาของผู้บริหารหลายองค์กร. เช้านี้รถติดสาหัส. เขาร้อนใจจึงโทรไปบอกผู้จัดว่ากำลังจะถึง ให้เตรียมที่จอดรถไว้ให้เพราะปกติจะเต็ม. เกือบเฉี่ยวชนหลายหน แต่รถเขาก็ถึงสถานที่ตรงเวลาพอดี. เขาพารถไปโซน VIP ช่องที่มีเลขทะเบียนรถเขา แต่ยามไม่ให้จอด. เหลือเชื่อตัวเลขผิดไปหลักนึง. ยามให้วนขึ้นไปจอดในอาคาร บอกดาดฟ้ามีที่ แต่เขาไม่มีเวลาแล้ว. มันไม่ถูก เขาเถียง ช่องนี้เตรียมไว้ให้เขา ไม่ยุติธรรมเลย. รถข้างหลังต่อแถวยาวขึ้นๆ. เขายิ่งเถียงเสียงดังขึ้นๆ เลขผิดนิดเดียว เขาจอดโซนนี้ประจำ เจ้านายคุณรอเขาอยู่ ฯลฯ แต่ยามไม่ฟัง. ชีวิตเรามีปัญหาตลอด ในชีวิตเราจะพบกับปัญหาที่แก้ไม่ได้ และความเปลี่ยนแปลงที่ไม่ต้องการ อยู่ตลอดเวลา. แต่เราพยายามมองไม่เห็นมัน. ถ้าเรื่องเล็กเราก็แค่สะสมความเครียด. เช่นเวลาหาของไม่เจอ, เพื่อนทำไม่ถูกใจ, โดนดูถูก ฯลฯ. ถ้

จะกินยา หรือไม่กินดี?

โชคดีมากที่ปัจจุบันโรคซึมเศร้าและไบโพลาร์สามารถรักษาได้ด้วยยา คนไข้ที่มีวินัยหาหมอกินยา 6 เดือนถึงปีกว่าส่วนใหญ่ก็จะหายและได้หยุดยา สาเหตุใหญ่ที่ทำให้บางคนไม่หายคือ “ไม่อยากกินยา” จะกินไม่กินดี? เมื่อไม่อยากกินยา แต่หมอสั่งให้กิน เราจะเกิดอาการลังเล “จะกินไม่กินดี?” แล้วลงเอยที่ “กินๆหยุดๆ” ซึ่งแย่กว่าไม่กินเสียอีก สภาวะนี้ทำให้เครียดหนักมาก กินก็รู้สึกแย่ ไม่กินก็อาการแย่ สับสนตำหนิตัวเองวนไปวนมา จะทำยังไงดี?

เป็นโรคจิตเวชไม่ได้ทำให้รอดคดีอาญา

ข่าวดราม่าที่ผู้ก่อเหตุเผยว่าเป็นโรคจิตเวช คนมักจะมองว่า “หงายการ์ดป่วย” โกหกว่าป่วยเพื่อเอาตัวรอด เพราะเข้าใจผิดว่าใครทำให้ศาลเชื่อว่าป่วยจิตเวช แล้วศาลจะให้พ้นผิดไปเลย เนื่องจากสังคมไทยยังเข้าใจผิดว่าผู้ป่วยจิตเวชคือคนบ้า และเชื่อว่ากฎหมายบอกว่าคนบ้าทำอะไรก็ไม่ผิด กรณีแบบนี้คนจึงพากันโกรธแค้นเพราะนึกว่าเขาจะไม่ต้องรับโทษจริงๆ ความเชื่อคนบ้าทำอะไรไม่ผิด เกิดจากคนส่วนใหญ่เห็นข่าวแบบนี้เฉพาะตอนเกิดเหตุเป็นดราม่าว่าอ้างป่วยจิตเวชแล้วทำอะไรก็ไม่ผิด แต่ตอนศาลพิพากษาลงโทษข่าวจะเงียบ ทุกคดีความจำของสังคมจึงสรุปตามดราม่าว่าศาลยกโทษเสมอ ทั้งที่จริงๆแล้วศาลลงโทษทุกที จริงๆกฎหมายอาญาไม่ได้ระบุให้เว้นโทษกับผู้ป่วยโรคใดโรคหนึ่ง  มาตรา 65 บอกว่าเฉพาะกรณีที่ขณะกระทำความผิด จำเลยไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ (ที่เรียกกันว่าวิกลจริต) จึงจะไม่ต้องรับโทษ ดังนั้นเมื่อผู้ก่อเหตุเผยว่าเป็นโรคจิตเวชใดๆก็ยังไม่มีผลอะไร นอกจากจะทำให้สังคมเกลียดเขามากขึ้นจากความเข้าใจผิดข้างต้น การโกหกให้ศาลไทยเชื่อว่าวิกลจริตขณะก่อเหตุ แทบเป็นไปไม่ได้ เพราะนอกจากจะต้องหลอกจิตแพทย์แล้ว ศาลไทยก็ไม่ได้ฟั

ฉันกำลังดีเพรสหรือเปล่า หรือฉันกำลังแมเนีย

เวลาพบหมอ มันสำคัญมากที่เราจะต้องสามารถสื่อสารว่า ช่วงที่ผ่านมาเราอาการเป็นไง สัปดาห์ไหนปกติ สัปดาห์ไหนดีเพรสบ้าง และ (สำหรับไบโพลาร์) สัปดาห์ไหนแมเนียหรือเปล่า. เมื่อเข้าใจโรคเพียงคร่าวๆ คนมักจะคิดว่าดีเพรสคือเศร้านานๆ แมเนียคือรู้สึกดีหรือก้าวร้าวนานๆ ซึ่งถูกเพียงส่วนเดียว. เมื่อเข้าใจนิยามของอาการเหล่านี้ไม่ตรงกับหมอ เวลาเราเล่า หมอก็จะเข้าใจอาการไม่ตรงกันเรา. ผลคือหมอก็จะปรับยาผิด เพราะเข้าใจอาการผิด เช่นเราดีเพรสอย่างเดียวมานานแล้ว แต่วีนแฟนบ่อยเพราะปัญหาชีวิตคู่. เราเล่าอาการทีไรหมอก็คิดว่าแมเนีย เลยให้แต่ยาคุมอารมณ์. ความเข้าใจผิดแบบนี้ทำให้การรักษาไม่คืบหน้า เพราะยาไม่ช่วยให้อาการหายหมดสักที จนบางคนท้อกับการรักษา. เพื่อไม่ให้เกิดปัญหานี้ เราต้องเข้าใจอาการของโรคตรงกับนิยามที่หมอใช้. เมื่อสื่อสารกับหมอได้อย่างมีประสิทธิภาพ การรักษาก็จะก้าวหน้า เราก็จะมีอาการน้อยลง และสามารถใช้ชีวิตปกติได้มากขึ้นเรื่อยๆ.

วอนใช้คำให้ถูก โรคไบโพลาร์ไม่ใช่ที่เห็นในสื่อและละคร

วันนี้ 30 มีนาคม 2561 เป็น วันไบโพลาร์โลก  วันที่เราชวนให้โลกหันมาทำความรู้จักโรคไบโพลาร์¹ เพื่อกำจัดตราบาปในสังคม บ้านเรามีตราบาปโรคนี้ที่ไม่เหมือนที่อื่น เราใช้ชื่อไบโพลาร์เป็นคำด่านักการเมือง หรือคนที่เรากลียดชนิดไม่มีคำไหนสื่อระดับความเลวได้  เพราะหลักสูตรเราไม่ได้สอนเรื่องโรคจิตเวชกับเด็กๆ พอคนเห็นชื่อไบโพลาร์แปลว่าสองขั้ว ก็คิดเอาเองว่าคนป่วยจะเป็นคน ① สองบุคลิก วันนึงเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย ② สองหน้า โกหกพลิกไปมาหน้าตาเฉย ③ เอาแต่ใจ ขี้วีน คุมตัวเองไม่ได้ ④ เสพติดความรุนแรงแบบฆาตกรโรคจิต ซึ่งทั้งหมดอาจจะเป็นโรคจิตเวชก็ได้ แต่เป็นโรคอื่นที่ไม่ได้ใกล้เคียงกับไบโพลาร์สักนิด โรคไบโพลาร์ ในทางการแพทย์คือ ในทางการแพทย์ โรคไบโพลาร์   เป็น โรคทางสมอง ² ที่ทำให้มี บางเดือนเปลี่ยนไปแบบทุกวันหมดพลัง ท้อแท้ (เหมือนโรคซึมเศร้า) บางสัปดาห์/เดือนเปลี่ยนไปแบบทุกวันพลังล้นไฮเปอร์ มั่นใจเกินร้อย ช่วงที่เหลือ (เวลาประมาณ 50%³) ก็ปกติเหมือนตอนก่อนป่วย ความผิดปกติของสมองผู้ป่วยไบโพลาร์ ก็เหมือนคนเป็นไมเกรนไม่ได้ปวดหัวตลอดเวลา เขาจะปวดเฉพาะเวลาอาการกำเริบ สำหรับไบโพลาร์ช่วง 1 และ 2

ถ้าอยากหาย อย่าอยากหายเร็วๆ ให้คิดแบบนี้แทน

โรคเรานั้นรักษาไปก็หาย แต่ความที่มันทรมาน เราก็มักจะอยากหายเร็วๆ แต่มันไม่ใช่แค่หวัดที่จะหายได้ในไม่กี่วัน แม้อาการบางอย่างเช่นนอนไม่หลับอาจจะดีขึ้นเร็ว แต่อาการดีเพรสกว่าจะดีขึ้นก็เป็นเดือน ถ้าเราอยากหายเร็วๆมันจะทรมานสุดๆ จนสุดท้ายบางคนจะยอมแพ้ไปก่อน ฆ่าตัวตาย หรือไม่ก็เลิกรักษา ทั้งที่อาการก็ดีขึ้นแล้ว และถ้ารักษาต่อไปก็จะหายแน่ๆ แต่การรอคอยนั้นทรมานเกินไป ก็เลยหยุดยาเอง แล้วก็ได้พบกับนรกที่แย่กว่าอาการตอนแรกเสียอีก แล้วก็วนกลับมาเริ่มต้นรักษาใหม่ แต่คราวนี้ยาตัวเดิมอาจไม่ได้ผลเหมือนเก่า การรอคอยนั้นทรมานกว่าอาการของโรค ถ้าเรารอคอยนับวันเมื่อไหร่จะหาย แต่ละนาทีจะยาวนานเหมือนเวลาเดินช้ามาก ความทรมานส่วนนี้จะมากกว่าอาการของโรคทีแรกเสียอีก เหมือนไม่ใช่แค่รอคอยเฉยๆ แต่มีไฟลนหัวใจเราไปด้วย โชคร้ายที่เราจะแยกไม่ออกว่า ความเจ็บปวดส่วนไหนคืออาการของโรค ส่วนไหนมาจากการรอคอย ต่อเมื่อเลิกรอคอยแล้วเราจึงจะเห็นกับตา เมื่อความทรมานหายไป แต่มันยากสุดๆที่ใครจะเชื่อว่าการอยากหายนั้นเป็นโทษ เพราะความอยากหายนั้นเป็นคอมมอนเซนส์มากๆ แล้วมันก็เวิร์กในกรณีทั่วไปด้วย “ต้องอยากได้อันนั้นสิ ถึงจ

กลยุทธ์การคืนสู่สุขภาวะของป้าหนู

Pa Noo's Recovery Strategy โดยป้าหนู รัชนี แมนเมธี ป้าหนูขอแบ่งกลยุทธ์เป็น 4 ช่วงเวลาดังนี้ พ.ศ. 2545–2547 : ช่วงเปลี่ยนผ่าน พ.ศ. 2548–2558 : ช่วงปานสายใยแห่งรัก พ.ศ. 2559–2566 : ช่วงประจักษ์ตัวตน พ.ศ. 2567 - หมดลมหายใจ : ช่วงค้นพบตัวเอง 1. ช่วงเปลี่ยนผ่าน พ.ศ. 2516 ป้าเริ่มสอนหนังสือ พอถึง พ.ศ. 2545 ป้าป่วยเป็นโรคซึมเศร้า กว่าจะได้เข้ารับการรักษา ปี พ.ศ. 2546 ปี 2546 ปลายๆหมอบอกป้าหายป่วย แต่ป้ายังรู้สึกชีวิตมืดมน 1 เม.ย. 2547 ป้าได้เกษียณก่อนกำหนด ( Early Retire ) เป็นวันแรก 2. ช่วงปานสายใยแห่งรัก ป้าได้มีโอกาสเรียนรู้ และเป็นกรรมการสมาคมสายใยครอบครัว ซึ่งช่วงนี้เป็นช่วงที่ป้ามีความสุขมาก เพราะได้ฟื้นพลังชีวิต ป้าได้เห็นคุณค่าในตนเองมาก 3. ช่วงประจักษ์ตัวตน ป้าได้นำประสบการณ์ช่วงที่ 2 และประสบการณ์ที่มีมาตั้งแต่เดิมมาใช้ประโยชน์ในการทำงานเพื่อส่วนรวมได้มากมายมหาศาล 4. ช่วงค้นพบตนเอง ป้าตกผลึกชีวิตตนเองเรียบร้อย เพราะได้ประจักษ์ตัวตนของตัวเอง รู้ว่าตนมีจุดแข็ง - จุดอ่อน, มีโอกาส - ถูกคุกคาม อะไรอย่างไร เห็นคุณค่าและภูมิใจในตนเองว่าสามารถทำประโยชน์ให้มนุษยชาติได้อย่างไรมากที่สุดตาม