ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เริ่มฝึกสติด้วยการเดินสำหรับมือใหม่ ในภาษาชาวบ้าน

วิธีฝึกสติที่ง่ายที่สุดคือใช้การเดิน เพราะทุกคนเดินเป็นอยู่แล้ว และแต่ละครั้งที่เท้ากระทบพื้นก็เป็นความรู้สึกที่ชัดเจน รูปแบบนี้จึงเหมาะสำหรับมือใหม่ แต่ทำอย่างไรการเดินจึงจะเป็นการฝึกให้ได้สติความรู้สึกตัว (mindfulness) เป็นหลัก เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ไม่ใช่เป็นการฝึกสมาธิ (concentration) เพื่อความสงบเป็นหลัก (อย่างที่นิยมสอนในโรงเรียน)
การเดินฝึกสติก็มีหลายรูปแบบ บทความนี้เป็นรูปแบบของหลวงพ่อเทียน ซึ่งง่ายเพราะเดินตามธรรมชาติเหมือนที่เราเดินอยู่ทุกวัน ไม่ต้องเดินช้าๆ ไม่มีสเต็บกำหนดท่าทาง ไม่ต้องคิดคำบริกรรมในใจ ไม่ได้เพ่งความสนใจไปที่เท้า แค่รู้สึกตัวไประหว่างที่เดินแต่ละก้าวเท่านั้น

มันทั้งง่ายและเบาสบาย เพราะวิธีนี้ไม่มีความกดดันว่าต้องรู้ให้ต่อเนื่องปราศจากความคิด (ซึ่งทำงั้นจะได้สมาธิมากกว่าสติ) วิธีนี้หลงเมื่อไหร่ก็กลับมารู้สึกตัวใหม่เท่านั้น การรู้สึกความเคลื่อนไหวตรงๆแบบนี้ได้ผลเร็ว แถมทำได้เรื่อยๆตลอดทั้งวัน เพราะมันไม่ได้รบกวนการงานของเรา

“สติ” คืออะไร

ที่ว่าฝึกสติในที่นี้ ไม่ใช่คำว่าสติในภาษาไทย แต่เป็นสติในพุทธธรรม หรือที่ใช้ภาษาอังกฤษว่า mindfulness ส่วนคำว่า “มีสติ” ในภาษาไทยแปลว่าตื่นอยู่ ไม่ได้หลับหรือสลบ หรือรวมถึงว่ายังควบคุมตัวเองได้ ไม่ได้เมาหรือโกรธจนขาดวิจารณญาณ อันนี้เป็นสติตามธรรมชาติ แมวหมาก็มี

คนชอบสงสัยว่าจะต้องฝึกสติทำไม เพราะเข้าใจว่าฝึกสติตัวนี้ซึ่งทุกคนมีอยู่แล้ว มีสติแบบนี้ก็ยังทำอะไรโดยไม่รู้ตัวได้ อย่างขับรถกลับบ้านโดยไม่เห็นความเปลี่ยนแปลงระหว่างทางเลย หรือลืมแวะซื้อของที่ตั้งใจไว้ เราบ่อยๆวางของเองแต่ไม่รู้ว่าวางตรงไหน และบ่อยครั้งเครียดก็ไม่รู้ตัว จนกว่าจะเป็นหนักเป็นความโกรธหรือเศร้าค่อยรู้ แล้วก็เลยไม่รู้สาเหตุว่ามาจากคิดเรื่องอะไร

มีสติคือเสี้ยวเวลาที่เรา

  1. ใส่ใจสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน แทนที่จะอยู่กับอดีตหรืออนาคต ใส่ใจสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในตัวเอง รู้สึกตัว คือรู้สึกกายกับใจของตัวเอง อันเป็นสิ่งที่เราละเลยมาตลอดชีวิต
  2. และเต็มใจให้สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นทั้งหมดนั้นเป็นอย่างที่มันเป็นอยู่ ไม่อยากรักษามันไว้ ไม่อยากกำจัดมันไป อนุญาตให้มันเป็นอย่างที่มันเป็น ยอมรับทุกสิ่งทุกอย่าง ปล่อยไว้อย่างนั้น ไม่อยากควบคุม จัดการ แทรกแซง หรือเปลี่ยนแปลงอะไรสักอย่าง
สติแบบนี้เกิดขึ้นเองเรื่อยๆตลอดทั้งวัน ทำให้เรามองเห็นตัวเองอยู่บ้าง พอรู้ว่ากายอยู่ในสภาพอย่างไร ใจกำลังรู้สึกอะไร เป็นบางเวลา รู้แวบนึงก็หายไป ปล่อยเราไว้กับความคิด แล้วเดี๋ยวก็กลับมารู้อีกเรื่อยๆอย่างนี้ทั้งวัน
Image result for mindfulness
แต่คนส่วนใหญ่สติจะเกิดน้อย ก็เลยไม่ค่อยรู้ว่าทำอะไรไปตอนไหน ไม่รู้ว่ารู้สึกและคิดอะไร เมื่อไม่รู้ก็เลยจัดการความรู้สึกไม่ได้ ต้องทำอะไรทุกอย่างตามใจสั่ง มันอยากอะไรก็ต้องหาให้ มันโกรธเราก็ต้องทำร้ายคนอื่นหรือตัวเอง จมอยู่กับเรื่องอะไรก็ออกไม่ได้ นึกเรื่องแย่ๆในอดีตขึ้นมาก็จม กังวลปัญหาในอนาคตก็จม จนบางทีจะนอนก็ไม่หลับ บางคนเกลียดความรู้สึกตัวเองหนักเข้า ที่สุดทนไม่ได้ก็ท้อแท้จนอยากตาย

สติมียิ่งมากยิ่งดี

เราจัดเวลาฝึกสติก็เพื่อให้เวลาปกติเรามีสติเกิดบ่อยขึ้นๆ ตลอดทั้งวัน เหมือนเราออกกำลังกายก็เพื่อให้เวลาปกติเราแข็งแรงไม่เหนื่อยง่าย เมื่อสติเกิดบ่อยเราก็จะเห็นตัวเองมากขึ้น สามารถแก้ไขปัญหาในใจได้ตั้งแต่มันยังเป็นปัญหาน้อยๆ ไม่ต้องทำตามที่ใจมันสั่งเสมอไป สามารถปล่อยวางได้เก่งขึ้น ไม่ค่อยเผลอไปใส่ใจเรื่องไร้ประโยชน์หาเรื่องใส่ตัว เหมือนที่ทำมาตลอดชีวิต

เดินอย่างไรเพื่อฝึกสติ

มันง่ายจนเหลือเชื่อ เดินฝึกสติก็แค่เดินอย่างรู้สึกตัว คือแทนที่จะปล่อยใจลอย คิดเรื่อยเปื่อยเหมือนเวลาเดินปกติ ก็หันมาสนใจความเคลื่อนไหวของกายใจแทน
เราจะเดินคนเดียวก็ได้ หรือถ้าเดินหลายคนก็ไม่พูดคุย ไม่ต้องเปิดเพลงฟังแบบเดินออกกำลังกาย เพราะเราจะหันมาฟังใจตัวเองเองบ้าง พาตัวเองไปอยู่ในที่สงบหน่อยก็จะช่วยให้ฝึกง่ายขึ้น แต่จะมีเสียง หรือมีคนอื่นบ้างก็ไม่เป็นไรถ้าเขาไม่มาสนใจเรา ดังนั้นในห้องนอนที่บ้าน หรือมุมหนึ่งในสวนสาธารณะก็โอเค

ท่าทางการเดินไม่ได้สำคัญ เดินแบบที่เราเดินเรื่อยเปื่อยตามปกติ ที่สำคัญคือวางใจให้ถูกต้อง แรกๆมันจะยากตรงนี้ เพราะมันหาจุดยากว่าต้องวางใจอย่างไรถึงจะพอดี ไม่ตึงไป ไม่หย่อนไป จะชี้ให้กันดูก็ไม่ได้ แต่พอทำบ่อยๆเราก็จะจำความรู้สึกนั้นได้เอง ความรู้สึกที่เรียกว่า “ความรู้สึกตัว” แล้วเราก็จะสามารถรู้สึกตัวเมื่อไหร่ก็ได้ทันทีที่ต้องการ

ปกติเรามักจะเดินกลับไปกลับมาในเส้นตรง ที่เรียกกันว่าเดินจงกรม เพราะการเดินต่อเนื่องยาวๆทำให้ใจลอยง่ายกว่า (แต่บางโอกาสก็ควรฝึกเดินทางปกติบ้าง) เริ่มจากกำหนดทางเดินระยะสัก 10-12 ก้าว แล้วก็เดินไปมาอยู่ในทางนั้น ใหม่ๆจะเดินเท้าเปล่าก็ดีแต่ไม่จำเป็น

เวลาเดินให้เหมือนเดินเล่นตามปกติ ไม่เร็ว ไม่ช้า ตาก็มองไปตามธรรมชาติ แต่อย่าก้มหน้าเกินไปเพราะจะทำให้ง่วง ส่วนมือนิยมจับกันไว้ข้างหน้าหรือหลัง เพื่อลดความเคลื่อนไหวให้เหลือแค่เท้า เวลากลับตัวก็เหมือนเวลาเดินปกติ จะท่าทางยังไงก็ได้ แต่ไม่ควรเดินต่อเนื่องเป็นวงกลม เพราะนอกจากจะใจลอยง่ายแล้วอาจจะเวียนหัว ดังนั้นให้กลับตัวตามเข็มนาฬิกา สลับกับทวนเข็มนาฬิกา จะได้ไม่เป็นวงกลม

มาดูกันว่าหลวงพ่อคำเขียนเดินจงกรมอย่างไร

เริ่มต้นกันเลย

  1. ทำใจว่าเราจะเดินเล่น ไม่ได้จะไปไหน ไม่ได้จะเอาอะไร
    ไม่ได้มีธุระอะไร เดินเพื่อเดินเฉยๆ เพียงเจตนาจะให้เวลาตอนนี้กับตัวเองสำหรับฝึกสติ เราไม่ได้เดินเพื่อควบคุมกายหรือใจ ไม่ได้เดินเพื่อหยุดความคิด ไม่ได้เดินให้ใจสงบ ไม่แม้แต่จะเดินเพื่อให้มีสติมากขึ้น เราแค่เดินอย่างรู้สึกตัวไปทีละก้าวเฉยๆ รู้ไปทีละก้าว ไม่เอาอะไรเลย
  2. เริ่มต้นก็เพียงกลับมาอยู่ในปัจจุบัน
    พาใจกลับมาอยู่ที่นี่ ตอนนี้ หันมาสนใจตัวเองทั้งกายและใจ สนใจสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นตรงนี้ เห็นสิ่งที่อยู่ตรงหน้า ได้ยินเสียงรอบตัว เหมือนเวลาเดินปกติ บอกตัวเองระหว่างนี้เราจะโอเคกับทุกสิ่งในปัจจุบัน ทั้งข้างนอก (เช่นอากาศร้อนเย็น เสียงรบกวน คนอื่น) และข้างใน (เช่นความหงุดหงิด เบื่อ เศร้า กังวล สงบ) อนุญาตให้มันเป็นอย่างที่เป็นอยู่ ทั้งสิ่งที่เราชอบและเกลียดก็ตั้งใจจะรู้สึกไปเฉยๆ ไม่พยายามรักษาหรือกำจัดมันตอนนี้
  3. ตั้งเจตนาว่าตอนนี้เป็นเวลาฝึกสติ
    เราตั้งใจจะทำเพียงก้าวเดิน ตอนนี้ไม่ใช่เวลาทำงาน คิดทบทวน หรือวางแผน แม้ใจมันจะคอยแอบคิดเรื่องที่มันอยากคิด แต่เมื่อเรารู้สึกตัว เราจะไม่ใช้เวลาตอนนี้เพื่อคิดเรื่องนั้นต่อ บอกตัวเองว่าตอนนี้กำลังฝึกสติ ครบเวลาแล้วค่อยกลับมาคิดเรื่องนั้นใหม่ ตอนนี้ขอให้มีแต่ใจเผลอคิดเอง ไม่ใช่เจตนาปล่อยมันคิดไปตามใจ
  4. แล้วก็ก้าวเดินไปตามธรรมชาติ อย่างรู้สึกตัว  
    เหมือนกำลังเดินเล่นแถวบ้าน เพียงสนใจความเคลื่อนไหวของกาย เราจะรู้สึกเองโดยอัตโนมัติว่าเท้าเราเคลื่อนไหวไปอย่างไร โดยเฉพาะเมื่อเท้ากระทบพื้นจะรู้สึกชัด ตอนนี้เรียกว่าเรากำลัง “รู้”
    เราจะปล่อยให้ร่างกายเดินไปเองเหมือนปกติ ไม่ต้องพยายามตั้งใจก้าวเดินจนผิดธรรมชาติ แค่ตามรู้สึกความเคลื่อนไหวที่กำลังเกิดขึ้น ไม่ต้องพากย์คำอะไรในใจ เช่น "ซ้าย ขวา" แค่รู้สึกความเคลื่อนไหวไปเท่าที่รู้สึกได้ตามธรรมชาติ รู้แค่ไหนก็แค่นั้น ชัดบ้างเบลอบ้างก็ดี แค่รู้ก็พอ
  5. เดินไปไม่ทันไร ใจก็จะหยิบเรื่องอื่นมาคิด
    ใจเราเหมือนเก้าอี้ดนตรีที่มีคนแย่งกันนั่งสองคนคือความคิดกับสติ เวลาคิด-ไม่มีสติ เวลามีสติ-ไม่มีความคิด แต่ธรรมชาติใจเรามันชอบความคิดมากกว่าสติ ที่เราฝึกสติก็เพื่อให้ใจหันมาชอบอยู่กับสติมากขึ้นๆ เพราะเราสั่งใจไม่ได้เลย จะสั่งให้มันคิดเรื่องนี้ไปเรื่อยๆก็ไม่ได้ หรือสั่งให้หยุดคิด ให้มีสติเกิดขึ้นไปเรื่อยๆก็ไม่ได้ เราทำได้แค่ฝึกให้ใจมันคุ้นเคยกับสติเท่านั้น แล้วสติจะเกิดบ่อยขึ้นเอง
  6. เมื่อความคิดเกิดขึ้น สติก็จะหายไป
    ที่เรียกว่าเรากำลัง “หลง” ตอนนั้นเราจะไม่รู้สึกกายใจแล้ว เท้าที่เคลื่อนไหวก็ไม่รู้สึก เดินไปกี่ก้าวหรือกี่รอบแล้วก็ไม่รู้ มันคือใจลอยแวบนึงนั่นเอง ตอนนั้นเราไม่อยู่ในปัจจุบันแล้ว อาจจะหวนคิดถึงเรื่องในอดีต หรือกังวลอะไรในอนาคต แวบนั้นเราจะไม่เห็นสิ่งที่อยู่ตรงหน้า ไม่ได้ยินเสียงรอบตัว สมมุติเพื่อนโผล่มาหรือแตะตัวเราหรือมีเสียงดังขึ้น เราก็จะตกใจ
  7. เมื่อหลงไปแล้วพอรู้สึกตัวก็แค่กลับมาทำต่อ
    เราจะหลงคิดไปสักพัก แล้วกายที่เคลื่อนไหวก็จะกระตุกเตือนให้ความรู้สึกตัวกลับมาเองตามธรรมชาติ จากนั้นเราก็แค่รู้สึกตัว ตามรู้กายที่เคลื่อนไหวต่อไปเท่านั้น แล้วมันก็จะหลงอีก แล้วก็รู้อีก อย่างนี้วนไปเรื่อยๆ เวลาฝึกสติ งานที่ทำมีแค่นี้
เริ่มจากทำวันละ 5 นาที ชอบค่อยเพิ่ม จัดเวลา “ฝึกในรูปแบบ” คือเวลาที่ตั้งใจไว้ฝึกสติโดยเฉพาะอย่างการเดินจงกรม ทำทุกวันเหมือนจัดเวลาออกกำลังกายทุกวัน ทำช่วงเช้าก็ดีจะได้คุ้นเคยกับสติไปตลอดทั้งวัน เราอาจจะเริ่มจากน้อยๆก่อน จะได้ไม่ขี้เกียจ พอรู้สึกดีกับมันก็ค่อยเพิ่มเวลา หรือวันไหนไม่มีเวลาก็ฝึกอย่างน้อย 5 นาทีก็ยังดีกว่าหยุดไปเลย ไม่งั้นทำๆหยุดๆสุดท้ายก็เลิกก่อนที่จะได้ผลอะไร

นอกจากนั้นก็ให้รู้สึกตัวบ่อยๆเท่าที่นึกได้ ตลอดทั้งวัน ชีวิตประจำวันเราก็จะต้องมีเดินสั้นบ้างยาวบ้าง ก็ให้ทำแบบเดียวกัน เดินอย่างรู้สึกตัว อย่างน้อยที่สุดก็รู้เวลาเท้าสัมผัสพื้น ก็สนใจรู้สึกเรื่อยๆจนเป็นนิสัย ทำให้เรามีโอกาสสะสมความคุ้นเคยกับสติได้เรื่อยๆ กระจายตลอดทั้งวัน แต่ถ้ามีช่วงที่ได้เดินคนเดียวยาวๆ เช่นเดินเข้าซอยบ้าน ก็ใช้โอกาสนั้นฝึกในรูปแบบตลอดช่วงนั้นไปเลย

เรียกว่าจำได้เมื่อไหร่ก็พยายามรู้สึกตัวอยู่เรื่อยๆ สติก็จะเกิดบ่อยขึ้นๆ อย่างนี้เรียกว่าเป็นการ “ฝึกในชีวิตประจำวัน” ซึ่งก็ไม่จำเป็นต้องทำอะไรช้าๆตลอดเวลา แค่หยุดรู้สึกตัวสักเสี้ยววินาทีก่อนจะทำอะไรอยู่เรื่อยๆ ที่สำนวนไทยว่า “คิดก่อนทำ” จริงๆต้องบอกว่าให้ “รู้สึกตัวก่อนทำ” มากกว่า เราจะทำอะไรเร็วๆก็ได้ ด้วยความเพียรและตื่นตัว ด้วยความรู้สึกตัว ไม่ใช่ด้วยความรีบเร่ง เพราะความรีบเร่งก็คือเกลียดปัจจุบันอยากข้ามไปอนาคต คืออยากทำอันนี้เสร็จเร็วๆ ซึ่งเป็นการตั้งใจโยนสติทิ้งไปเปล่าๆหมดเลย

หลงเป็นเรื่องปกติ

อย่าอยากสงบคือไม่หลงเลย หลงบ่อยๆนั้นถูกแล้ว ทุกครั้งที่หลงก็ได้กลับมารู้ หลงบ่อยๆก็ได้รู้บ่อยๆดี

เราฝึกสติสาเหตุนึงก็เพื่อเรียนรู้ว่าใจทำงานของมันเอง ตอนฝึกเราจะเห็นว่าเราไม่ได้ตั้งใจคิดเลย แต่ความคิดมันก็เกิดขึ้นเอง เหมือนมีเด็กคนนึงเดินตามเราไปทุกหนทุกแห่ง แล้วก็พูดอะไรขึ้นมาเองเรื่อยๆ เมื่อเราเห็นว่าความคิดมันเกิดขึ้นเองอย่างนี้บ่อยๆ แล้วเราจะเริ่มปล่อยวางความคิดง่ายขึ้นๆ เลิกเชื่อมันอย่างเป็นจริงเป็นจังเหมือนแต่ก่อน

เช่นต่อไปเมื่อความคิดสั่งให้โต้ตอบใคร ให้ต่อว่าหรือทำร้ายเขา เราจะไม่เชื่อมันก็ได้ เพราะเราเห็นแล้วว่าความคิดมันมาเองแล้วก็ไปเองของมัน เราไม่ได้สั่งให้มันคิด ดังนั้นเราก็ไม่ต้องเชื่อมันก็ได้ การเห็นว่าเราห้ามใจไม่ให้หลงไม่ได้ จึงเป็นการเข้าใจความจริงที่สำคัญของชีวิต
Image result for mindful walking

ปัญหาที่จะต้องเจอ

  1. เจตนาคิด
    เวลามันหลง จะสั้นหรือยาวก็ไม่เป็นไร เสร็จแล้วมันจะกลับมารู้เองเสมอ ปัญหาที่หลงยาวๆคือเจอเรื่องที่ชอบ (หรือเกลียด) แล้วเราเลยเจตนาคิดเรื่องนั้นยาวไปเลย ห้ามใจไม่ได้ มันเหมือนสมมุติเรากำลังคุมอาหารลดความอ้วนโดยงดขนมหวาน แล้ววันนั้นเจอขนมโปรดก็เผลอกินเข้าไปครึ่งกล่อง แล้วค่อยรู้ตัวนึกขึ้นได้ว่ากำลังคุมอาหาร ตอนนี้บางคนจะหยุดกินไม่ได้ ติดว่ากำลังอร่อย
    แม้เราบังคับให้มันหยุดไม่ได้ เพราะเราบังคับใจไม่ได้อยู่แล้ว แต่ให้เราสอนมันอย่างในข้อ 3 คือ “ตอนนี้เป็นเวลาฝึกสติ” จะเรื่องงานก็เอาไว้คิดทีหลัง จะเรื่องกังวลก็ฝึกเสร็จแล้วค่อยกลับมากังวลก็ยังทัน สอนมันอย่างอ่อนโยนอย่างนี้เรื่อยๆ แล้วมันจะอดใจหยุดอร่อยความคิดได้มากขึ้น ห้ามดุมันเด็ดขาด เพราะถ้าดุจะกลายเป็นทะเลาะกับมันไปยาวๆอีก 
  2. ไม่อยากคิด อยากสงบ
    เตรงข้ามกับเจตนาคิดคือพยายามห้ามความคิด ทำให้ตั้งใจมาก พยายามเพ่งการเคลื่อนไหวของเท้าให้ชัดต่อเนื่องนานๆ และคอยกลั้นไม่ให้ความคิดเกิดขึ้น (บางทีเหมือนกลั้นหายใจ) เพราะเข้าใจว่าฝึกสติเพื่อจะเอาความสงบ (สมาธิ) แต่จริงๆเราฝึกสติเพื่อให้มีสติแค่นั้น ไม่ได้เอาอะไร ถ้าอยากสงบก็เดินไปด้วยความอยาก รู้สึกตัวบ้างอยากบ้าง มันจะหนักๆอึดอัดไม่โล่งสบาย ทำไปไม่นานก็เครียด หรือบางคนจะเวียนหัว
    ต้องวางความอยากสงบลงไป สอนมันให้เดินไปรู้สึกตัวไปเป็นครั้งๆ ไม่เอาอะไร แค่เรารู้ตัวโดยปราศจากความอยากครั้งนึง ก็เป็นความสำเร็จครั้งนึงแล้ว เพราะมันคือเอาชนะความอยากได้ครั้งนึง ซึ่งมีคุณค่ามากแล้ว ดังนั้นไม่จำเป็นต้องรู้ยาวๆ แค่รู้แล้วก็ทิ้งไป รู้เฉยๆ รู้ซื่อๆ รู้โง่ๆ รู้แค่ครั้งนี้ ไม่สนใจครั้งที่แล้วหรือครั้งต่อไป วางใจอย่างนี้จะง่ายและผ่อนคลาย ฝึกสติเป็นกิจกรรมที่ผ่อนคลาย ถ้าทำแล้วเครียดก็ต้องมีอะไรผิดพลาดแล้ว
  3. ง่วง เบื่อ
    เถ้าทำไปนานๆ หรือทำตอนขี้เกียจ มันมักจะง่วง ความง่วงนี้โตมาจากความเบื่อและความขี้เกียจ ซึ่งจะเกิดขึ้นมาสักพักนึงแล้วก่อนจะง่วง ดังนั้นถ้ารู้สึกตัวก่อนว่าเบื่อก็ต้องแก้ความเบื่อนั้นก่อนจะกลายเป็นความง่วง เช่นเปลี่ยนแปลงอะไรสักหน่อย เดินเร็วขึ้น เดินถอยหลัง เดินไปข้างๆ มองท้องฟ้าไกลๆ ทำใจให้สดชื่น ฯลฯ แต่ถ้าง่วงไปแล้วไม่ไหวจริงก็เบรกไปล้างหน้า แต่ระหว่างที่เบรกนั้นต้องรู้สึกตัวไปตลอดด้วย ไม่งั้นที่สติที่รักษาไว้ก็จะรั่วไปต้องกลับมาเริ่มต้นใหม่อีก
  4. ตำหนิตัวเอง
    ความเพียรคือขยันรู้สึกตัวเป็นสิ่งที่ดี แต่ความตั้งใจมากๆไม่ดี ขยันคือทำมากๆ แต่ตั้งใจคือความคาดหวังว่าจะได้ผลมาก ได้ความรู้สึกตัวมากๆ มันทำให้เกิดความอยากรู้สึกตัว เลยทำไปโดยไม่ใช่รู้ซื่อๆแล้ว
    เสร็จแล้วใจก็ต้องหลงจนได้ พักนึงพอความรู้สึกตัวกลับมา แทนที่จะพอใจ เราจะกลับรู้สึกแย่ที่เมื่อกี้เผลอ พอเป็นอย่างนี้หลายๆหนสะสมเลยเริ่มทะเลาะกับตัวเอง นี้เป็นที่มาของความหงุดหงิด ซึ่งนำไปสู่ความฟุ้งซ่านหนักขึ้นไปอีก ดังนั้นถ้าจะไม่ฟุ้งซ่าน ก็ไม่ต้องอยากรู้เยอะๆ ทำใจสบายๆ รู้บ้างหลงบ้าง พอกลับมารู้แล้วก็ไม่ต้องสนใจที่หลงไปเมื่อกี้ และไม่ต้องระวังไม่ให้หลงครั้งต่อไป มันจะหลงยาวหรือสั้นมันก็จะกลับมาเอง (ถ้าไม่ปล่อยให้เจตนาคิด) ให้ไว้ใจสติของตัวเอง รู้แล้วก็ทิ้งไปเลย ไม่ต้องคาดหวังอะไร

รู้จักบ้านที่แท้จริงข้างในตัวเอง

วิธีวางใจที่ถูกอย่างที่เล่าข้างต้น เช่นให้รู้บ้างหลงบ้าง อย่าอยากรู้ยาวๆ สำหรับคนใหม่มันจะฟังดูง่ายเกินไป จนจะไม่ค่อยยอมเชื่อง่ายๆ เพราะเราจะชินว่างานทางโลก จะทำอะไรต้องจริงจังมากๆถึงจะได้ผลสำเร็จ

แม้แต่ความรู้สึกตัวก็ฟังดูเหมือนจะมีความพิเศษ ขนาดต้องมาฝึกสติถึงจะเจอ แต่จริงๆมันเป็นของธรรมดาที่เรามีกันอยู่แล้ว แต่เราไม่เคยชอบมัน การฝึกสติก็แค่มาทำความรู้จักมันให้ดีมากๆ พอรู้จักดีแล้วจะชอบมันที่สุด ก็เลยอยากอยู่กับมันบ่อยๆ ทำให้ความรู้สึกตัวกลายเป็นบ้านที่เราจะกลับมาเมื่อไหร่ก็ได้ โดยเฉพาะเพื่อพักฟื้นทุกครั้งที่ประสบปัญหาในใจ ตอนนั้นเราจึงสามารถพึ่งตัวเองได้จริงๆ

ไม่เหมือนสมัยที่เรายังเป็นคนไร้บ้าน รู้สึกแย่จะตายก็ไม่รู้จะไปไหน ได้แต่จมอยู่ในความคิดตัวเอง

วางใจให้ถูกแล้วทำไปเรื่อยๆ

จริงๆถ้าขยันฝึก แม้จะวางใจผิดแต่สุดท้ายก็จะเห็นเองว่าจุดที่ถูกคือตรงไหน คำแนะนำการวางใจข้างต้น สำหรับคนใหม่จะแทบไม่เข้าหัวเลย แต่พอทำไปแล้วจะเริ่มสงสัย แล้วก็จะได้คำตอบเอง ดังนั้นวันหลังกลับมาอ่านอีกทีจะเข้าใจมากขึ้น แต่อย่างน้อยให้ถือหลักว่า การปฏิบัติที่ถูกจะผ่อนคลาย ถ้าทำไปแล้วเครียดแปลว่าเราต้องวางใจผิดแน่นอน

ถ้าเป็นไปได้ควรเข้าไปฝึกในคอร์สเจริญสติแบบเคลื่อนไหวอย่างน้อย 7 วัน พอรู้จักความรู้สึกตัวแล้วก็รักษามันไว้เรื่อยๆ อย่างนี้เป็นวิธีเริ่มต้นที่เร็วสุด

จากหนังสือ "รู้ ตื่น เบิกบาน" ของ พอจ.ไพศาล วิสาโล

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รู้สึกแย่ดิ่งสุดๆ ทำไงถึงจะหาย

ถามกันบ่อยที่สุดคือกำลังดิ่งจะทำยังไงดี ปัญหาคืออธิบายตอนนั้นก็ไม่มีสติพอจะเข้าใจอยู่ดี ดังนั้นทุกคนควรเรียนรู้เทคนิคนี้ไว้ล่วงหน้า มันมาจากจิตบำบัดแบบ ACT ( defusion ) ซึ่งมีงานวิจัยจำนวนมากว่าได้ผล แล้วนำมาประยุกต์กับ วิธีเจริญสติแบบเคลื่อนไหว ซึ่งเหมาะกับสถานการณ์ช่วงวิกฤติ วิธีทำก็ง่ายมาก จะยากตรงมันตรงข้ามกับคอมมอนเซนส์ เพราะเราเข้าใจธรรมชาติของใจเราผิดมาตลอด แต่ลองทำดูแล้วก็จะเข้าใจเอง เพราะทุกคนที่จัดการมันได้ ต่างก็ค้นพบเทคนิคนี้ได้เองจากการลองผิดลองถูก ความรู้สึกแย่เกิดจาก “ ความคิด”  เสมอ ความรู้สึกแย่ (เช่นโกรธ เสียใจ น้อยใจ กังวล​) เกิดจาก ความคิด ของเรา เสมอ ไม่เคยเกิดจากอย่างอื่น เช่น เขา พูดไม่ดีกับเราเมื่อเย็นวาน ปรากฏตอนนี้เราก็ยังรู้สึกแย่อยู่ ทั้งที่ไม่ได้ยินคำพูดนั้นแล้ว แต่เราเองเป็นคนเล่นซ้ำคำพูดที่เราเกลียดนั้นในหัวเรามาตลอด เขา เป็นต้นเหตุของความคิดนี้ใช่ แต่ ตอนนี้ ที่กำลังรู้สึกแย่ เกิดจาก ความคิดนี้ ของเรา เอง ที่ผ่านมาตอนนั้นเรามักจะโฟกัสความผิดที่ เขา  ซึ่งยิ่งทำให้ความคิดเราวนเวียนหนักขึ้นเรื่อยๆ ความคิดยิ่งมาก ความรู้สึกเราก็ยิ่งแย่ ดิ่งลงไปเร

ลิเธียม ยาดีที่ต้องใช้ให้เป็น

สำหรับคนที่เป็นไบโพลาร์ก็จะได้ทาน ยาคุมอารมณ์ (mood stabilizer) เพื่อจะได้ไม่ต้องมีช่วงแมเนีย และลิเธียมก็คือยาคุมอารมณ์ที่นิยมมากที่สุดตัวหนึ่ง เพราะได้ผลดี, ผ่านมาวิจัยมานานมาก, ราคาถูก และมีส่วนช่วยป้องกันช่วงดีเพรส แต่ลิเธียมเป็นยาที่ใช้ยากนิดนึง เพราะหมอจะต้องค่อยๆปรับยาขึ้นจนกว่าเราจะมียาในเลือดระดับที่พอดี ถ้าน้อยไปมันก็จะไม่ทำงาน ถ้ามากไปก็จะเกิดอาการลิเธียมเป็นพิษ หลายคนที่หมอสั่งลิเธียมให้ พอได้ยินเรื่องลิเธียมเป็นพิษเลยวิตกกังวลหนัก จนความวิตกกังวลนี้กลายเป็นผลข้างเคียงซ้ำซ้อนเข้าไปอีก ดังนั้นคนที่ทานยาตัวนี้จึงต้องเรียนรู้เพิ่มเติมสักนิดนึงเกี่ยวกับมัน บทความข้างล่างนี้มาจากคอลัมน์พบหมอรามา อ่านง่ายและครบถ้วนดี แต่ก่อนอื่นผมจะเกริ่นถึงประเด็นที่ทำให้กังวลกันก่อน ผลเสียจากลิเธียมจะมีอยู่ 2 ลักษณะ ถ้าแยกจากกันได้แล้วจะใช้มันได้อย่างสบายใจ ผลข้างเคียง ​ คือผลเสียในโดสปกติ  อาการลิเธียมเป็นพิษ  คืออาการป่วยเพราะมีลิเธียมในเลือดสูงเกินไป อาจจะเพราะได้ยามากเกินไป (เช่นโอเวอร์โดส) หรือเพราะสภาพร่างกายผิดปกติไปมากทำให้ขาดน้ำหรือเกลือแร่ บางคนเข้าใจว่าตัวเองแพ้ลิเธียม

ท็อป 5 ความเข้าใจผิด โรคซึมเศร้าไม่ใช่อย่างที่คิด

โรคซึมเศร้าเป็นคนละอย่างกับอารมณ์เศร้า แต่ชื่อโรคภาษาไทยชวนให้เข้าใจว่า มันก็แค่ความรู้สึกซึมๆเศร้าๆอย่างที่ทุกคนรู้จัก แถมคำอธิบายเกลื่อนเน็ตก็กว้างซะจน ทุกคนอ่านก็คิดว่าตนเคยเป็นโรคนี้ และสามารถวินิจฉัยว่าคนอื่นว่าเป็นหรือไม่ โดยไม่ต้องเสียเวลาเรียน 10 ปีอย่างจิตแพทย์ แต่โรคซึมเศร้าก็เหมือนหลายโรคที่มีความซับซ้อนจนต้องมีแพทย์เฉพาะทาง มันมีรายละเอียดมากและไม่เหมือนกับที่คนเข้าใจเลย แต่เนื่องจากคนส่วนใหญ่ไม่มีความรู้เรื่องนี้เลย เราจึงรู้สึกว่าเรารู้จักมันดีอยู่แล้วด้วยคอมมอนเซนส์ล้วนๆ ต่อไปนี้คือความเข้าใจที่ผิดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในบ้านเรา (1)  โรคซึมเศร้าไม่มีจริง (2)  ที่เรียกโรคซึมเศร้าก็คือความเศร้า (3)  ฉันก็เคยเป็น แต่ฉันไม่ยอมแพ้ (4)  มันอยู่ที่ใจแค่นั้น สู้ๆ ลุกขึ้นมาก็หายแล้ว (5)  หมอกุเรื่องขึ้นมาเพื่อให้บริษัทยารวย 1 ความเชื่อ: โรคซึมเศร้าไม่มีจริง  โรคจิตเวชจะต้องเสียสติเป็นคนบ้า ความจริง:  องค์การอนามัยโลกบอก ว่า 300 ล้านคนเป็นโรคซึมเศร้า (MDD) นั่นมากกว่า 4% ของประชากรโลก  ส่วนในไทย ปี 2551 กรมสุขภาพจิตประมาณว่ามี คนไทย 1.5 ล้านคน เป็นโรคซึมเศ

เจอปัญหาที่แก้ไม่ได้ทำไงดี

เหมือนชีวิตกำลังเล่นปิงปองกับเรา ตีลูกยากง่ายใส่เราตลอดเวลา เรื่องกวนใจ ปัญหา ความสูญเสีย. บางคนเจอปัญหาแล้วจมอยู่ตรงนั้น ประทัวง “ลูกยากไม่เล่น”. บางคนยากง่ายรับหมดเต็มที่ เจอลูกยากอาจล้มเข่าถลอกแต่รีบลุกเล่นต่อ. ทำได้ไงอะ? ชัยจะต้องพรีเซ็นต์หัวข้อแรกตอนเช้าในงานสัมมนาของผู้บริหารหลายองค์กร. เช้านี้รถติดสาหัส. เขาร้อนใจจึงโทรไปบอกผู้จัดว่ากำลังจะถึง ให้เตรียมที่จอดรถไว้ให้เพราะปกติจะเต็ม. เกือบเฉี่ยวชนหลายหน แต่รถเขาก็ถึงสถานที่ตรงเวลาพอดี. เขาพารถไปโซน VIP ช่องที่มีเลขทะเบียนรถเขา แต่ยามไม่ให้จอด. เหลือเชื่อตัวเลขผิดไปหลักนึง. ยามให้วนขึ้นไปจอดในอาคาร บอกดาดฟ้ามีที่ แต่เขาไม่มีเวลาแล้ว. มันไม่ถูก เขาเถียง ช่องนี้เตรียมไว้ให้เขา ไม่ยุติธรรมเลย. รถข้างหลังต่อแถวยาวขึ้นๆ. เขายิ่งเถียงเสียงดังขึ้นๆ เลขผิดนิดเดียว เขาจอดโซนนี้ประจำ เจ้านายคุณรอเขาอยู่ ฯลฯ แต่ยามไม่ฟัง. ชีวิตเรามีปัญหาตลอด ในชีวิตเราจะพบกับปัญหาที่แก้ไม่ได้ และความเปลี่ยนแปลงที่ไม่ต้องการ อยู่ตลอดเวลา. แต่เราพยายามมองไม่เห็นมัน. ถ้าเรื่องเล็กเราก็แค่สะสมความเครียด. เช่นเวลาหาของไม่เจอ, เพื่อนทำไม่ถูกใจ, โดนดูถูก ฯลฯ. ถ้

จะกินยา หรือไม่กินดี?

โชคดีมากที่ปัจจุบันโรคซึมเศร้าและไบโพลาร์สามารถรักษาได้ด้วยยา คนไข้ที่มีวินัยหาหมอกินยา 6 เดือนถึงปีกว่าส่วนใหญ่ก็จะหายและได้หยุดยา สาเหตุใหญ่ที่ทำให้บางคนไม่หายคือ “ไม่อยากกินยา” จะกินไม่กินดี? เมื่อไม่อยากกินยา แต่หมอสั่งให้กิน เราจะเกิดอาการลังเล “จะกินไม่กินดี?” แล้วลงเอยที่ “กินๆหยุดๆ” ซึ่งแย่กว่าไม่กินเสียอีก สภาวะนี้ทำให้เครียดหนักมาก กินก็รู้สึกแย่ ไม่กินก็อาการแย่ สับสนตำหนิตัวเองวนไปวนมา จะทำยังไงดี?

เป็นโรคจิตเวชไม่ได้ทำให้รอดคดีอาญา

ข่าวดราม่าที่ผู้ก่อเหตุเผยว่าเป็นโรคจิตเวช คนมักจะมองว่า “หงายการ์ดป่วย” โกหกว่าป่วยเพื่อเอาตัวรอด เพราะเข้าใจผิดว่าใครทำให้ศาลเชื่อว่าป่วยจิตเวช แล้วศาลจะให้พ้นผิดไปเลย เนื่องจากสังคมไทยยังเข้าใจผิดว่าผู้ป่วยจิตเวชคือคนบ้า และเชื่อว่ากฎหมายบอกว่าคนบ้าทำอะไรก็ไม่ผิด กรณีแบบนี้คนจึงพากันโกรธแค้นเพราะนึกว่าเขาจะไม่ต้องรับโทษจริงๆ ความเชื่อคนบ้าทำอะไรไม่ผิด เกิดจากคนส่วนใหญ่เห็นข่าวแบบนี้เฉพาะตอนเกิดเหตุเป็นดราม่าว่าอ้างป่วยจิตเวชแล้วทำอะไรก็ไม่ผิด แต่ตอนศาลพิพากษาลงโทษข่าวจะเงียบ ทุกคดีความจำของสังคมจึงสรุปตามดราม่าว่าศาลยกโทษเสมอ ทั้งที่จริงๆแล้วศาลลงโทษทุกที จริงๆกฎหมายอาญาไม่ได้ระบุให้เว้นโทษกับผู้ป่วยโรคใดโรคหนึ่ง  มาตรา 65 บอกว่าเฉพาะกรณีที่ขณะกระทำความผิด จำเลยไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ (ที่เรียกกันว่าวิกลจริต) จึงจะไม่ต้องรับโทษ ดังนั้นเมื่อผู้ก่อเหตุเผยว่าเป็นโรคจิตเวชใดๆก็ยังไม่มีผลอะไร นอกจากจะทำให้สังคมเกลียดเขามากขึ้นจากความเข้าใจผิดข้างต้น การโกหกให้ศาลไทยเชื่อว่าวิกลจริตขณะก่อเหตุ แทบเป็นไปไม่ได้ เพราะนอกจากจะต้องหลอกจิตแพทย์แล้ว ศาลไทยก็ไม่ได้ฟั

ฉันกำลังดีเพรสหรือเปล่า หรือฉันกำลังแมเนีย

เวลาพบหมอ มันสำคัญมากที่เราจะต้องสามารถสื่อสารว่า ช่วงที่ผ่านมาเราอาการเป็นไง สัปดาห์ไหนปกติ สัปดาห์ไหนดีเพรสบ้าง และ (สำหรับไบโพลาร์) สัปดาห์ไหนแมเนียหรือเปล่า. เมื่อเข้าใจโรคเพียงคร่าวๆ คนมักจะคิดว่าดีเพรสคือเศร้านานๆ แมเนียคือรู้สึกดีหรือก้าวร้าวนานๆ ซึ่งถูกเพียงส่วนเดียว. เมื่อเข้าใจนิยามของอาการเหล่านี้ไม่ตรงกับหมอ เวลาเราเล่า หมอก็จะเข้าใจอาการไม่ตรงกันเรา. ผลคือหมอก็จะปรับยาผิด เพราะเข้าใจอาการผิด เช่นเราดีเพรสอย่างเดียวมานานแล้ว แต่วีนแฟนบ่อยเพราะปัญหาชีวิตคู่. เราเล่าอาการทีไรหมอก็คิดว่าแมเนีย เลยให้แต่ยาคุมอารมณ์. ความเข้าใจผิดแบบนี้ทำให้การรักษาไม่คืบหน้า เพราะยาไม่ช่วยให้อาการหายหมดสักที จนบางคนท้อกับการรักษา. เพื่อไม่ให้เกิดปัญหานี้ เราต้องเข้าใจอาการของโรคตรงกับนิยามที่หมอใช้. เมื่อสื่อสารกับหมอได้อย่างมีประสิทธิภาพ การรักษาก็จะก้าวหน้า เราก็จะมีอาการน้อยลง และสามารถใช้ชีวิตปกติได้มากขึ้นเรื่อยๆ.

วอนใช้คำให้ถูก โรคไบโพลาร์ไม่ใช่ที่เห็นในสื่อและละคร

วันนี้ 30 มีนาคม 2561 เป็น วันไบโพลาร์โลก  วันที่เราชวนให้โลกหันมาทำความรู้จักโรคไบโพลาร์¹ เพื่อกำจัดตราบาปในสังคม บ้านเรามีตราบาปโรคนี้ที่ไม่เหมือนที่อื่น เราใช้ชื่อไบโพลาร์เป็นคำด่านักการเมือง หรือคนที่เรากลียดชนิดไม่มีคำไหนสื่อระดับความเลวได้  เพราะหลักสูตรเราไม่ได้สอนเรื่องโรคจิตเวชกับเด็กๆ พอคนเห็นชื่อไบโพลาร์แปลว่าสองขั้ว ก็คิดเอาเองว่าคนป่วยจะเป็นคน ① สองบุคลิก วันนึงเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย ② สองหน้า โกหกพลิกไปมาหน้าตาเฉย ③ เอาแต่ใจ ขี้วีน คุมตัวเองไม่ได้ ④ เสพติดความรุนแรงแบบฆาตกรโรคจิต ซึ่งทั้งหมดอาจจะเป็นโรคจิตเวชก็ได้ แต่เป็นโรคอื่นที่ไม่ได้ใกล้เคียงกับไบโพลาร์สักนิด โรคไบโพลาร์ ในทางการแพทย์คือ ในทางการแพทย์ โรคไบโพลาร์   เป็น โรคทางสมอง ² ที่ทำให้มี บางเดือนเปลี่ยนไปแบบทุกวันหมดพลัง ท้อแท้ (เหมือนโรคซึมเศร้า) บางสัปดาห์/เดือนเปลี่ยนไปแบบทุกวันพลังล้นไฮเปอร์ มั่นใจเกินร้อย ช่วงที่เหลือ (เวลาประมาณ 50%³) ก็ปกติเหมือนตอนก่อนป่วย ความผิดปกติของสมองผู้ป่วยไบโพลาร์ ก็เหมือนคนเป็นไมเกรนไม่ได้ปวดหัวตลอดเวลา เขาจะปวดเฉพาะเวลาอาการกำเริบ สำหรับไบโพลาร์ช่วง 1 และ 2

ถ้าอยากหาย อย่าอยากหายเร็วๆ ให้คิดแบบนี้แทน

โรคเรานั้นรักษาไปก็หาย แต่ความที่มันทรมาน เราก็มักจะอยากหายเร็วๆ แต่มันไม่ใช่แค่หวัดที่จะหายได้ในไม่กี่วัน แม้อาการบางอย่างเช่นนอนไม่หลับอาจจะดีขึ้นเร็ว แต่อาการดีเพรสกว่าจะดีขึ้นก็เป็นเดือน ถ้าเราอยากหายเร็วๆมันจะทรมานสุดๆ จนสุดท้ายบางคนจะยอมแพ้ไปก่อน ฆ่าตัวตาย หรือไม่ก็เลิกรักษา ทั้งที่อาการก็ดีขึ้นแล้ว และถ้ารักษาต่อไปก็จะหายแน่ๆ แต่การรอคอยนั้นทรมานเกินไป ก็เลยหยุดยาเอง แล้วก็ได้พบกับนรกที่แย่กว่าอาการตอนแรกเสียอีก แล้วก็วนกลับมาเริ่มต้นรักษาใหม่ แต่คราวนี้ยาตัวเดิมอาจไม่ได้ผลเหมือนเก่า การรอคอยนั้นทรมานกว่าอาการของโรค ถ้าเรารอคอยนับวันเมื่อไหร่จะหาย แต่ละนาทีจะยาวนานเหมือนเวลาเดินช้ามาก ความทรมานส่วนนี้จะมากกว่าอาการของโรคทีแรกเสียอีก เหมือนไม่ใช่แค่รอคอยเฉยๆ แต่มีไฟลนหัวใจเราไปด้วย โชคร้ายที่เราจะแยกไม่ออกว่า ความเจ็บปวดส่วนไหนคืออาการของโรค ส่วนไหนมาจากการรอคอย ต่อเมื่อเลิกรอคอยแล้วเราจึงจะเห็นกับตา เมื่อความทรมานหายไป แต่มันยากสุดๆที่ใครจะเชื่อว่าการอยากหายนั้นเป็นโทษ เพราะความอยากหายนั้นเป็นคอมมอนเซนส์มากๆ แล้วมันก็เวิร์กในกรณีทั่วไปด้วย “ต้องอยากได้อันนั้นสิ ถึงจ

กลยุทธ์การคืนสู่สุขภาวะของป้าหนู

Pa Noo's Recovery Strategy โดยป้าหนู รัชนี แมนเมธี ป้าหนูขอแบ่งกลยุทธ์เป็น 4 ช่วงเวลาดังนี้ พ.ศ. 2545–2547 : ช่วงเปลี่ยนผ่าน พ.ศ. 2548–2558 : ช่วงปานสายใยแห่งรัก พ.ศ. 2559–2566 : ช่วงประจักษ์ตัวตน พ.ศ. 2567 - หมดลมหายใจ : ช่วงค้นพบตัวเอง 1. ช่วงเปลี่ยนผ่าน พ.ศ. 2516 ป้าเริ่มสอนหนังสือ พอถึง พ.ศ. 2545 ป้าป่วยเป็นโรคซึมเศร้า กว่าจะได้เข้ารับการรักษา ปี พ.ศ. 2546 ปี 2546 ปลายๆหมอบอกป้าหายป่วย แต่ป้ายังรู้สึกชีวิตมืดมน 1 เม.ย. 2547 ป้าได้เกษียณก่อนกำหนด ( Early Retire ) เป็นวันแรก 2. ช่วงปานสายใยแห่งรัก ป้าได้มีโอกาสเรียนรู้ และเป็นกรรมการสมาคมสายใยครอบครัว ซึ่งช่วงนี้เป็นช่วงที่ป้ามีความสุขมาก เพราะได้ฟื้นพลังชีวิต ป้าได้เห็นคุณค่าในตนเองมาก 3. ช่วงประจักษ์ตัวตน ป้าได้นำประสบการณ์ช่วงที่ 2 และประสบการณ์ที่มีมาตั้งแต่เดิมมาใช้ประโยชน์ในการทำงานเพื่อส่วนรวมได้มากมายมหาศาล 4. ช่วงค้นพบตนเอง ป้าตกผลึกชีวิตตนเองเรียบร้อย เพราะได้ประจักษ์ตัวตนของตัวเอง รู้ว่าตนมีจุดแข็ง - จุดอ่อน, มีโอกาส - ถูกคุกคาม อะไรอย่างไร เห็นคุณค่าและภูมิใจในตนเองว่าสามารถทำประโยชน์ให้มนุษยชาติได้อย่างไรมากที่สุดตาม